Tag Archives: พระราชนิพนธ์ชุดเสด็จเยือนต่างประเทศ

รู้จักห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ผ่านหนังสือพระราชนิพนธ์

ที่ฉันชอบมากที่สุดคือ ห้องสมุด ตามประวัติว่าเมื่อ ค.ศ. 1803 มหาวิทยาลัยย้ายไปอยู่ที่ปัจจุบัน … แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นห้องสมุดใน ค.ศ. 1838 โดยรวบรวมหนังสือจากวัดหรือคอนแวนต์ต่างๆ … มีทั้งต้นฉบับหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกๆ … เห็นทั้งหมดแล้วอยากเข้าไปดูอยู่นานๆ เปิดดูเสียให้ทุกเล่มว่ามันเป็นอย่างไร  (จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมันสัญจร)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอิตาลี เพื่อทรงเป็นกรรมการตัดสินวรรณกรรมของ คณะกรรมการหนังสือสำหรับเยาวชนระหว่างประเทศ (International Board on Books for Young People (IBBY)  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนห้องสมุดมหาวิทยาลัยโบโลญญา และทรงบันทึกสิ่งที่พระองค์ทอดพระเนตร ทรงสนพระทัยการอ่านหนังสือเป็นอย่างยิ่ง และจากหนังสือพระราชนิพนธ์ชุดเยือนต่างประเทศ สถานที่เสด็จฯ เป็นประจำ ก็คือ ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ จึงขอติดตามห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ผ่านทางเว็บไซต์ (ตามที่มีปรากฏบนเว็บไซต์) Continue reading รู้จักห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ผ่านหนังสือพระราชนิพนธ์

พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 นั้น ได้เสด็จทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดหลายแห่ง เช่น National Museum of American History, National Air and Space Museum, National Museum of Natural History ในเรื่องของพิพิธภัณฑ์ ทรงบันทึกและมีพระราชดำริเกี่ยวกับการทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ ความว่า

“Ms. Francine Berkowitz, Director of the Smithsonian’s International Center และคนอื่นๆ มาอธิบายให้ฟังว่าการทำพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ไม่ใช่การสร้างโกดังเก็บของเก่า แต่ต้องมีแนวคิดมาก่อน แนวคิดนี้มักมีเรื่องสังคม เรื่องปรัชญา และวางของให้เล่าเรื่องที่เราอยากให้คนดูเข้าใจ Continue reading พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

พวกเรามีหน้าที่เป็นผู้บริการ ซึ่งข้าพเจ้าชอบมากเพราะได้เพื่อนใหม่

เยือนถิ่นอินเดียนแดง
เยือนถิ่นอินเดียนแดง

ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 เริ่มต้นจากวอชิงตัน ดี.ซี. และสิ้นสุดที่ฮาวาย ในวันที่ 14 พฤศจิกายน เสด็จฯ Perkins School for the Blind ทรงบันทึกมีใจความว่า

“ไป Perkins School for the Blind … ข้าพเจ้าสนใจเรื่อง การศึกษาและการทำงานของคนตาบอดมาก เห็นจะเป็นเพราะตั้งแต่เด็กๆ ในช่วงปีใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเชิญคนพิการจากโรงเรียนสอนคนพิการประเภทต่างๆ มารับพระราชทานเลี้ยง ฟังดนตรี พวกเรามีหน้าที่เป็นผู้บริการ ซึ่งข้าพเจ้าชอบมากเพราะได้เพื่อนใหม่ที่เขามีประสบการณ์ไม่เหมือนเรา แต่ก็เรียนหนังสือได้ทั้งๆ ที่เขาลำบากกว่าเรา ในวันนั้นเราก็มีโอกาสช่วยให้เขามีความสุขมากด้วย ต่อมาตอนเรียนที่จุฬาก็มีเพื่อนตาบอดที่เรียนเก่งและน่ารัก และภายหลังได้ไปเยี่ยมโรงเรียนตาบอดอยู่เป็นประจำ สังเกตว่าอุปกรณ์การศึกษาหลายอย่างของคนตาบอด ต้องซื้อที่โรงเรียนเพอร์กินส์แห่งนี้”

รายการอ้างอิง

เยือนถิ่นอินเดียแดง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ธนาคารไทยพาณิชย์, 2537.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 77)

ข้าพเจ้าสนใจเรื่องวิชาการแผนที่ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เบอร์ลินสิ้นกำแพง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2538

เบอร์ลินสิ้นกำแพง
เบอร์ลินสิ้นกำแพง

ในครั้งนั้น ได้เสด็จฯ Kongresszentrum  เพื่อเข้าร่วมประชุมวิชาการแผนที่เยอรมัน ได้ทรงบันทึกไว้พระราชนิพนธ์นี้ว่า

“ข้าพเจ้าสนใจเรื่องวิชาการแผนที่ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้แผนที่เสมอในการเสด็จพระราชดำเนินไปในที่ต่างๆ ในประเทศ ทรงใช้แผนที่ดูเรื่องเส้นทางและการพัฒนาทำโครงการต่างๆ และทรงแก้ไขแผนที่ให้ถูกต้องตามภูมิประเทศจริงที่เปลี่ยนแปลงไป ทรงชี้ให้ข้าพเจ้าเห็นประโยชน์ของการใช้แผนที่ในการเรียนรู้ภูมิประเทศ เพื่อให้รู้จักดินแดนของเราเอง ในโรงเรียนข้าพเจ้าได้ใช้แผนที่ในการเรียนรู้ค้นคว้าเกี่ยวกับต่างประเทศ …”

รายการอ้างอิง

เบอร์ลินสิ้นกำแพง.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ธนาคารไทยพาณิชย์, 2539.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 76)

ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

พระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมัญสัญจร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศอิตาลีระหว่างวันที่ 3-16 เมษายน พ.ศ. 2531 เพื่อทรงร่วมเป็นกรรมการตัดสินหนังสือเด็กของ International Board on Books for Young People (IBBY) ณ เมืองโบโลญญา ด้วยความสนพระทัยในการส่งเสริมการอ่านและห้องสมุดเด็ก พระองค์ได้มีพระราชดำรัสถามคุณเพลลูสกี้ (Ms. Anne Pellewski) ผู้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินฯ ชาวอเมริกัน ให้อธิบายเรื่อง Home library หรือห้องสมุดตามบ้าน ซึ่งคุณเพลลูสกี้ไปจัด workshop ที่ไนจีเรีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระองค์ทรงบันทึก ดังนี้ [1]

“ระบบห้องสมุดแบบนี้ คือ การหัดให้ชาวบ้าน (ส่วนใหญ่เป็นพวกแม่บ้าน) ให้รู้จักเล่านิทาน เขาจัดเป็น workshop ประมาณ 5-7 วัน บรรยากาศไม่ให้เคร่งเครียดนักเป็นการคุยกันเล่น ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร เขามีวิธีการ คือ ชาวบ้านจะรวบรวมหนังสือส่วนตัวหรือหนังสือที่มีผู้บริจาค หรืออาจจะยืมจากห้องสมุด แล้วป่าวประกาศให้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ มาอ่านหนังสือกัน ผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์จะต้องมีเทคนิคในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เล่าเรื่องให้เด็กสนใจอยากฟังและอยากอ่านต่อเอง เขาแนะนำให้ทำหนังสือขึ้นมาเอง โดยการนำเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเขียนบันทึกไว้” Continue reading ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

โคลัมบัสกับหนังสือ

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาในห้องสมุด เช่น การซื้อหนังสือเข้ามาไม่ว่าจะเล่มเดียวหรือหลายเล่มก็ตาม ต้องมีข้อมูลที่จำเป็นของการจัดซื้อหนังสือเล่มนั้นๆ บันทึกเก็บไว้ เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ร้านค้า สำนักพิมพ์ ราคา เบอร์ติดต่อ และข้อมูลอื่นๆ ที่ห้องสมุดเห็นความจำเป็นในการบันทึกไว้

ไม่น่าเชื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่รู้จักกันดี ได้เขียนข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ไว้ในหนังสือทุกเล่มที่เขาซื้อมาด้วยเช่นกัน ขออัญเชิญข้อความจากหนังสือ เรื่อง ทวิภาคสัญจร พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินงานเอกซโปที่เมืองเซวีญา ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยเสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรห้องสมุดโคลัมบัส ดังนี้ [1]

“ห้องสมุดโคลัมบัส (Biblioteca Columbina) มีหนังสือเก่าๆ มาก แต่ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ส่วนที่บุตรชายของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส บริจาคให้ เป็นหนังสือ เอกสาร ต้นฉบับ เกือบ 5,000 เล่ม ที่สำคัญมากต่อวิชาการห้องสมุด คือ เขาจะเขียนไว้ในหนังสือทุกเล่ม ว่าเขาซื้อหนังสือนี้มาจากไหน เมื่อไร ราคาเท่าใด เขียนเบอร์ไว้ด้วย”

รายการอ้างอิง

[1] เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ทวิภาคสัญจร. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยพาณิชย์, 2535.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  43)

ความสำคัญของหนังสืออยู่ที่เนื้อหา

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง ประพาสภาษา ในสมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงบันทึกเมื่อไปเสด็จพระราชดำเนินไปเรียนภาษาเยอรมันที่เมืองเกิตติงเงน ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรห้องสมุด Herzog August ทรงบันทึกถึงลักษณะหนังสือของ Herzog August ไว้ดังนี้

หนังสือของ Herzog August มีลักษณะพิเศษคือ ห่อปกด้วยหนังสีขาวอย่างเรียบๆ เขียนชื่อหนังสือที่ปกด้วยลายมือบนเล่มเหมือนกับเอาแผ่นหนังที่ใช้แล้วมาห่อ ความคิดของท่าน คือ ความสำคัญของหนังสืออยู่ที่เนื้อหา ปกมีไว้เพียงเพื่อรักษาหนังสือให้ดี และให้รู้ว่าเล่มไหน เป็นเล่มไหน ท่านทำแคตาล็อกหนังสือด้วยตนเองด้วย

เยี่ยมชมห้องสมุด Herzog August ได้ที่ http://www.hab.de/en/home.html

รายการอ้างอิง:
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ประพาสภาษา. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2546.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  42)