Tag Archives: e-Learning

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อโรงเรียนในชนบท

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท (ทรสช.) เป็นโครงการตามพระราชดำริ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยเฉพาะโรงเรียนในชนบท ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอซีที เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ กิจกรรมในโครงการฯ ครอบคลุม ในด้านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน การสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ เนื้อหา และสื่อ การพัฒนาศักยภาพครู และผู้บริหาร นักเรียน และการประยุกต์ใช้ไอซีทีเพื่อจัดการเรียนรู้: เพื่อให้ครูสามารถประยุกต์ใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้

รายการอ้างอิง:
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ไอซีทีเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก http://www.princess-it.org/project/iteducation/edltv/39-project-hrhit/itforeducation.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  35)

การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่เสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม2558

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาใช้ในการศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง  โดยได้มีการดำเนินการดังนี้

  1. จัดทำระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS) แบบ online เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนในวิชาต่างๆ ใช้ในการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่าย Internet อันจะทำให้อาจารย์และนักศึกษามีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  เช่น การถาม-ตอบ  รับ-ส่งการบ้าน และ download เอกสารประกอบการสอนต่างๆ เป็นต้น  ปัจจุบันมีวิชาที่ใช้งานผ่านระบบ Moodle จำนวน 168 วิชา
  2. จัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 172 วิชา จำแนกเป็น

    2.1 บทเรียนแบบ Video Streaming ซึ่งเป็นการบันทึกภาพการสอนในห้องเรียนพร้อมแทรก รูปภาพ/ PowerPoint   ปัจจุบันมีการจัดทำบทเรียนแบบ Video Streaming จำนวน 58 วิชา  และได้มีการจัดทำ Video สรุปเนื้อหาสำคัญของวิชาต่างๆ ภายใต้โครงการ “ธรรมศาสตร์ตลาดวิชา” จำนวน 9 วิชา  โดยในจำนวนนี้ มีการทำ Video Streaming สำหรับวิชา CS 365 ระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการทำ Video Streaming เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาพิการทางการได้ยินทำให้นักศึกษาพิการสามารถใช้ทบทวนบทเรียนได้

    2.2 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) แบบที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) จำนวน 94 วิชา
    2.3 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่  (me-Learning) เป็นการจัดทำ i-Book และ e-Book เพื่อให้รองรับการใช้งานทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (mobile device) ต่างๆ  เช่น tablet PC หรือ smart phone ซึ่งนักศึกษาสามารถ download i-Book และe-Book ผ่าน application “TU eStore”  ได้ทั้งบน App Store และ Google Play Store ปัจจุบันมีบทเรียนแบบ me-Learning จำนวน 11 วิชา และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำอีก 12 วิชา