Tag Archives: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

TCI ส่งความรู้สึกดีๆ แด่ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มธ.

หัวหน้าศูนย์ TCI (คนขวา) มอบของที่ระลึกให้แด่ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มธ.
หัวหน้าศูนย์ TCI (คนขวา) มอบของที่ระลึกให้แด่ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มธ.

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)  ได้จัดประชุมเพื่อสรุปภาพรวมการจัดประชุมเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารไทยครั้งที่ 9 และวางแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลวารสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และโปรแกรมค้นหาความซ้ำซ้อนของเนื้อหาสำหรับวารสารและงานวิชาการไทย ณ ห้องประชุมคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ หัวหน้าศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เป็นประธาน  พร้อมด้วยคณะทำงานจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำทีมโดย นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด รวมถึงคณะทำงานจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นำโดย ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์  Continue reading TCI ส่งความรู้สึกดีๆ แด่ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มธ.

Digitization and Plagiarism Prevention

เครือข่ายพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 9
เครือข่ายพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 9

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักหอสมุด และคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ร่วมกันจัดการประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 9 ขึ้น Continue reading Digitization and Plagiarism Prevention

โปรแกรมเปลี่ยนข้อความเป็นเสียงพูด “เจรจา” (jRaja)

เป็นโปรแกรมที่เปลี่ยนข้อความที่เราพิมพ์เป็นเสียงพูด เวอร์ชั่นภาษาไทย พัฒนาขึ้นโดย หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา (Human Language Technology Laboratory, HLT) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ซึ่งมีการพัฒนา จนถึง เวอร์ชั่น 6.0 เปิดให้ทดลองใช้ได้ฟรี  Continue reading โปรแกรมเปลี่ยนข้อความเป็นเสียงพูด “เจรจา” (jRaja)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SCHOOLNET)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SCHOOLNET) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้ โรงเรียนมัธยมศึกษาได้มีโอกาสเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทย

กุมภาพันธ์ 2541 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีซึ่งได้ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร สามารถติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านศูนย์รับการเชื่อมต่อของเครือข่ายกาญจนภิเษก (เลขหมายพระราชทาน 1509) ได้

5 ตุลาคม 2542 ได้ให้ความเห็นชอบต่อโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 โดยจะขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาทั่วประเทศ 5,000 โรงเรียน

2 กันยายน 2546 ส่งมองโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขยายเครือข่ายนี้ให้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงทุกโรงเรียนทั่่วประเทศต่อไป

รายการอ้างอิง

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. ผลการดำเนินงานโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ปี 2538-2545. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก https://www.nectec.or.th/schoolnet/about/project.html

กระทรวงวิทย์ฯ ยุติบทบาทการดำเนินโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย(SchoolNet Thailand). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก https://www.nectec.or.th/schoolnet/farewell/web_scnt_news.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่  39)

ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (MyCat)

ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (MyCat) เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

MyCat (Management System for Copyright, Academic Work and Thesis) คือระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ เป็นระบบที่ช่วยให้กระบวนการจัดการวิทยานิพนธ์เป็นไปอย่างครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การจัดส่งร่างวิทยานิพนธ์ การตรวจสอบลิขสิทธิ์โดยใช้โปรแกรม CopyCat (Copyright, Academic Work and Thesis Checking System)  และการจัดเก็บรูปเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ เมื่อนักศึกษาส่งวิทยานิพนธ์เข้าสู่ระบบ MyCat ระบบจะทำการตรวจสอบลิขสิทธิ์โดยเปรียบเทียบไฟล์วิทยานิพนธ์ที่ส่งกับคลังข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบ ซึ่งเอกสารที่จัดเก็บในคลังข้อมูลดังกล่าวมีหลากหลายประเภท เช่น วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ เอกสารจากอินเทอร์เน็ต หากพบการคัดลอก ระบบจะส่งผลลัพธ์การตรวจ พร้อมทั้งเปอร์เซ็นต์ความคล้ายให้อาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาตรวจสอบและส่งให้นักศึกษาปรับแก้ไข หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการส่งวิทยานิพนธ์แล้ว ระบบจะทำการจัดเก็บรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ไว้ในคลังข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

แสดงภาพรวมการทำงานของระบบ MyCat
แสดงภาพรวมการทำงานของระบบ MyCat

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (MyCat) ซึ่งพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเสียง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)  มาใช้ ทำให้กระบวนการจัดการวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สะดวก รวดเร็ว ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ สามารถติดตามงานของนักศึกษา และเป็นการตรวจสอบการคัดลอกและลอกเลียนผลงานวิชาการ