Encapsulation VS Lamination

Encapsulation คือ การประกบ หรือผนึกเอกสารที่มีลักษณะแบนราบด้วย แผ่นฟิล์มไมลาร์ (Mylar Film)  2 แผ่น แผ่นฟิล์มไมลาร์มีความหนาหลายขนาด ที่นิยมใช้จะหนาประมาณ 75 ไมคอน

Encapsulation เป็นเทคนิคการป้องกันการจับต้องเอกสารต้นฉบับโดยตรง ช่วยให้เอกสารต้นฉบับคงทน และมีอายุการใช้งานยาวนาน     เหมาะสำหรับจัดเก็บแผนที่ แผนผัง แบบแปลน ภาพขนาดใหญ่ และ เอกสารที่มีคุณค่าหายากทางประวัติศาสตร์

ข้อควรระวัง คือ เอกสารที่มีคุณค่าหายากทางประวัติศาสตร์ ที่จะนำมาทำ  Encapsulation ต้องเป็นเอกสารไร้กรด (acid-free) และผ่านการซ่อมแซม หรือขบวนการอนุรักษ์มาเรียบร้อยแล้ว

ข้อดี

  1. ผู้ใช้สามารถถ่ายสำเนาเอกสารจากต้นฉบับได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายเอกสารนั้นออกจากแผ่นฟิล์มไมลาร์
  2. ถ้าแผ่นฟิล์มไมลาร์ชำรุด หรือเสื่อมสภาพ ก็สามารถนำเอกสารต้นฉบับมาทำ Encapsulation ใหม่ได้ โดยเอกสารต้นฉบับนั้นยังคงอยู่ในสภาพดี และไม่ได้รับความเสียหาย

การทำ Encapsulation มีขั้นตอน ดังนี้

  1. ตัดกระดาษรองให้มีขนาดเท่ากับ เอกสารที่จะทำ ถ้าเอกสารนั้นต้องการให้เห็น หรือใช้ทั้งสองด้าน ก็ไม่ต้องตัดกระดาษรองนี้
  2. ตัดแผ่นฟิล์มไมลาร์ให้มีขนาดใหญ่กว่าเอกสาร ประมาณ 2 ซ.ม. จำนวน  2 แผ่น
  3. นำเอกสาร พร้อมกระดาษรองไปประกบ หรือผนึกด้วยแผ่นฟิล์มไมลาร์ แล้วไปเข้าเครื่องเชื่อมที่ เรียกว่า Sonic Machine โดยใช้เครื่องเชื่อมขอบห่างจากตัวเอกสาร ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร พยายามไล่ฟองอากาศออกจากเอกสารและแผ่นฟิล์มไมลาร์โดยใช้แผ่นยางหนา
  4. การเชื่อม อาจเชื่อมปิดทั้ง 4 ด้าน หรือเชื่อมแค่ 3 ด้าน เหลือไว้ 1 ด้านทำเป็นซองใส่เอกสารก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน
  5. ตัดขอบแผ่นฟิล์มไมลาร์ ออกให้เสมอกันทั้ง 4 ด้าน โดยให้เว้นระยะห่างจากรอยเชื่อมอย่างน้อยด้านละ 5 มิลลิเมตร
  6. ทำมุมโค้งทั้ง 4 มุม โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Corner Rounder

รูปเครื่องเชื่อม Sonic Machine สำหรับทำ   Encapsulation พร้อมแผ่นยางสีขาวสำหรับใช้ไล่ฟองอากาศ   ที่  State Library of Queensland, Brisbane, Australia

18

     15

16

         รูปเครื่อง Corner Rounder เครื่องเล็กที่มีป้ายสีแดง)  สำหรับทำมุมโค้ง

17

 รูปตัวอย่างเอกสารที่ทำ Encapsulation ด้วยเครื่อง Sonic Machine เชื่อมติดทั้ง 4 ด้าน

DSCN3580

หากไม่มีเครื่อง Sonic Machine  ก็สามารถทำได้ด้วยมือโดยใช้   กาว 2 หน้า แทน ซึ่งมีหลักการทำเหมือนกัน สำหรับการทำมุมโค้งสามารถใช้เหรียญ 1 บาท แทนเครื่อง Corner Rounder ได้  โดยใช้ดินสอเขียน     มุมโค้งตามรอยเหรียญบาท แล้วใช้กรรไกรตัดตามรอยโค้งนั้น

รูปกาว 2 หน้า และอุปกรณ์ทำมุมโค้ง  สำหรับการทำ Encapsulation ด้วยมือ

DSCN2924

DSCN3581

รูปตัวอย่างเอกสารที่มีค่าหายาก และอนุรักษ์เรียบร้อยแล้ว นำมาทำ Encapsulation  ด้วยกาว 2 หน้า และปิด 3 ด้าน เหลือไว้ 1 ด้าน สำหรับนำเอกสารต้นฉบับออกได้

DSCN3582    DSCN3509

 สำหรับ การทำ Lamination นั้น ไม่เหมาะกับการจัดเก็บเอกสารที่ต้องการให้มีอายุการใช้งานยาวนาน  หรือเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์  เนื่องจาก Lamination เป็นการใช้พลาสติกที่มีคุณภาพต่ำผนึกกับเอกสาร และเคลือบด้วยความร้อน เมื่อพลาสติกทีใช้ชำรุด หรือเสื่อมสภาพ เอกสารต้นฉบับจะได้รับความเสียหาย ไม่สามารถนำกลับมาใช้ หรือทำใหม่ได้อีก

                                รูปตัวอย่างเอกสาร ที่นำมาทำ Lamination

DSCN3536