Tag Archives: แผนที่

Map Room, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University

การศึกษาดูงาน Map Room, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University (CSEAS)  เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science

Map Room, CSEAS จัดเก็บแผนที่ประมาณ 44,000 แผ่น ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศใกล้เคียง ได้แก่ อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ปากีสถาน จีน เกาหลี ออสเตรเลีย หมู่เกาะแปซิฟิก และญี่ปุ่น ตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้เข้าฐานข้อมูลออนไลน์ แต่จะมีแฟ้มอินเด็กแยกตามภูมิภาค เพื่อหาในตู้แผนที่

IMG_25580616_133321

นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายทางเดียวเทียมอีกประมาณ 3500 ชิ้น ซึ่งจัดทำดิจิตอลด้วยบริการห้องแผนที่ให้ใช้ภายในเท่านั้นและมีบริการถ่ายเอกสารฟรี เพื่อการศึกษาและวิจัย Continue reading Map Room, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University

Encapsulation VS Lamination

Encapsulation คือ การประกบ หรือผนึกเอกสารที่มีลักษณะแบนราบด้วย แผ่นฟิล์มไมลาร์ (Mylar Film)  2 แผ่น แผ่นฟิล์มไมลาร์มีความหนาหลายขนาด ที่นิยมใช้จะหนาประมาณ 75 ไมคอน

Encapsulation เป็นเทคนิคการป้องกันการจับต้องเอกสารต้นฉบับโดยตรง ช่วยให้เอกสารต้นฉบับคงทน และมีอายุการใช้งานยาวนาน     เหมาะสำหรับจัดเก็บแผนที่ แผนผัง แบบแปลน ภาพขนาดใหญ่ และ เอกสารที่มีคุณค่าหายากทางประวัติศาสตร์

ข้อควรระวัง คือ เอกสารที่มีคุณค่าหายากทางประวัติศาสตร์ ที่จะนำมาทำ  Encapsulation ต้องเป็นเอกสารไร้กรด (acid-free) และผ่านการซ่อมแซม หรือขบวนการอนุรักษ์มาเรียบร้อยแล้ว

ข้อดี

  1. ผู้ใช้สามารถถ่ายสำเนาเอกสารจากต้นฉบับได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายเอกสารนั้นออกจากแผ่นฟิล์มไมลาร์
  2. ถ้าแผ่นฟิล์มไมลาร์ชำรุด หรือเสื่อมสภาพ ก็สามารถนำเอกสารต้นฉบับมาทำ Encapsulation ใหม่ได้ โดยเอกสารต้นฉบับนั้นยังคงอยู่ในสภาพดี และไม่ได้รับความเสียหาย

Continue reading Encapsulation VS Lamination

ข้าพเจ้าสนใจเรื่องวิชาการแผนที่ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เบอร์ลินสิ้นกำแพง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2538

เบอร์ลินสิ้นกำแพง
เบอร์ลินสิ้นกำแพง

ในครั้งนั้น ได้เสด็จฯ Kongresszentrum  เพื่อเข้าร่วมประชุมวิชาการแผนที่เยอรมัน ได้ทรงบันทึกไว้พระราชนิพนธ์นี้ว่า

“ข้าพเจ้าสนใจเรื่องวิชาการแผนที่ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้แผนที่เสมอในการเสด็จพระราชดำเนินไปในที่ต่างๆ ในประเทศ ทรงใช้แผนที่ดูเรื่องเส้นทางและการพัฒนาทำโครงการต่างๆ และทรงแก้ไขแผนที่ให้ถูกต้องตามภูมิประเทศจริงที่เปลี่ยนแปลงไป ทรงชี้ให้ข้าพเจ้าเห็นประโยชน์ของการใช้แผนที่ในการเรียนรู้ภูมิประเทศ เพื่อให้รู้จักดินแดนของเราเอง ในโรงเรียนข้าพเจ้าได้ใช้แผนที่ในการเรียนรู้ค้นคว้าเกี่ยวกับต่างประเทศ …”

รายการอ้างอิง

เบอร์ลินสิ้นกำแพง.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ธนาคารไทยพาณิชย์, 2539.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 76)