กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) นั้นสำคัญไฉน ?

กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) ถือเป็นวัสดุที่สำคัญที่ใช้ในการซ่อมแซม อนุรักษ์ และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ และหอจดหมายเหตุให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น     โดยจะใช้กับหนังสือ หรือเอกสารที่มีค่าหายากทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในต่างประเทศส่วนมากจะใช้กระดาษไร้กรดในการผลิตหนังสือ หรือวารสารวิชาการเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน  

กระดาษที่มีความเป็นกรด จะทำให้กระดาษเกิดการเปลี่ยนสี เป็นสีเหลือง หรือสีน้ำตาล เส้นใยของกระดาษจะขาดความแข็งแรง ทำให้กระดาษเปราะ  ฉีกขาดได้ง่าย และมีอายุการใช้งานสั้น กรดบนกระดาษ   เกิดขึ้นจากสาเหตุ พอสรุปได้ ดังนี้

  1. ขบวนการผลิตที่มีสารลิกนิน หรือสารฟอกสีซึ่งเป็นสารเคมีที่รุนแรง และขบวนการใช้กาว Sizing
  2. มลภาวะจากสภาพแวดล้อม ก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศ
  3. เชื้อรา
  4. วัสดุที่นำมาใช้บนกระดาษ เช่น หมึกพิมพ์ สีพิมพ์ และกาว

การทดสอบค่า pH เพื่อวัดความเป็น กรด-ด่าง ของกระดาษ    มีหลายวิธี   ในที่นี้จะขอกล่าวถึง   2 วิธี ดังนี้

  1. ใช้ปากกา pH (pH Testing Pen) วิธีนี้วัดค่าได้ไม่ละเอียด จะระบุได้เพียงว่า กระดาษนั้นเป็น กรด หรือ ด่าง เท่านั้น ไม่สามมารถระบุได้ว่ากระดาษนั้นมีค่าเป็นกรด หรือ ด่าง เท่าไร โดยมีวิธีการทดสอบ ดังนี้

ขีดเส้นลงบนกระดาษที่ต้องการทดสอบ แล้วอ่านค่าเมื่อแห้ง

  • ถ้าเป็น สีเหลือง (Yellow) แสดงว่า กระดาษ นั้น เป็นกรด (Acid)
  • ถ้าเป็น สีม่วง (Purple) แสดงว่า กระดาษ นั้น เป็น ด่าง (Alkali)

รูปตัวอย่างการทดสอบ โดยใช้ปากกา pH

DSCN3590

  1. ใช้กระดาษ pH วิธีนี้วัดค่าได้ละเอียดกว่าการใช้ปากกาpH กล่าวคือสามารถระบุได้ว่า กระดาษนั้นมีค่า เป็นกรด หรือ ด่าง เท่าไร  โดยมีวิธี  การทดสอบ  ดังนี้

      2.1 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ กระดาษที่ต้องการทดสอบ น้ำกลั่น หลอดแก้ว  Sputula และกระดาษ pH

DSCN3598

    2.2 หยดน้ำกลั่นลงบนกระดาษที่ต้องการทดสอบ

DSCN3599

   2.3 วางกระดาษ pH ลงบนหยดน้ำ จากนั้นใช้ Sputula รีดกระดาษ pH ให้แนบสนิทกับกระดาษที่ต้องการทดสอบ

DSCN3600

  2.4 ยกกระดาษ pH ขึ้น แล้วนำมาอ่านค่า

ค่าในกระดาษ pH มีค่า ตั้งแต่ 0 – 14

  • ถ้าได้ค่า 1 – 6 แสดงว่ากระดาษนั้น เป็น กรด (Acid)
  • ถ้าได้ค่า 7    แสดงว่ากระดาษนั้น เป็น กลาง (Neutral)
  • ถ้าได้ค่า 8 – 14 แสดงว่ากระดาษนั้น เป็น ด่าง (Alkali)

      DSCN3603

    DSCN3602  

              กระดาษไร้กรด  ควรมีค่า pH ระหว่าง 7 – 8.5  

ดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ในต่างประเทศจะใช้กระดาษไร้กรดในการผลิตหนังสือ และวารสารวิชาการเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าหนังสือ หรือวารสารเล่มไหนผลิตโดยใช้กระดาษไร้กรด หรือใช้กระดาษชนิดใดในการผลิต สามารถดูได้ที่หลังหน้าปกใน (Title Page) ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้

1. วารสารชื่อ The American Review of Public Administration

DSCN3544

DSCN3546

2. หนังสือชื่อ High Performance Nonprofit Organizations: Managing Upstream for Greater Impact

DSCN3547

DSCN3548

3. วารสารชื่อ British Journal of Political Science

DSCN3586

DSCN3588

4. หนังสือชื่อ Empirical Research and Writing: A Political Science Student’s Practical Guide

DSCN3557

DSCN3558

5. หนังสือชื่อ Understanding Third World Politics

DSCN3554

DSCN3556

                   อย่างไรก็ตาม มีหนังสือและวารสารอีกจำนวนมากที่ไม่ระบุว่าใช้กระดาษชนิดใดในการผลิต