The Communication Studies Value and Utilization in WorldCat

“The communication studies value and utilization in WorldCat bibliographic database” อีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจจากการประชุมเครือข่ายห้องสมุด OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference บรรยายโดย Assoc. Prof. Ming Xing HE จาก Beijing Foreign Studies University, สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการนำเอา WorldCat มาประยุกต์ใช้ในเป็นเครื่องมือเพื่อการศึกษาวิจัยการแพร่กระจายของสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนในระดับนานาชาติ

CIMG2122

Assoc. Prof. Ming Xing HE ได้แบ่งหัวข้อออกเป็น 5 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่

1. แนวคิดพื้นฐานในการวิจัย (The basic research method on communication studies)
ผู้บรรยายได้กล่าวถึงขอบเขตทางการวิจัยของเขาว่าศึกษาผ่านสิ่งพิมพ์ภาษาจีน 3 ประเภทด้วยกัน คือ หนังสือพิมพ์ (Newspaper) วารสาร(Periodical) และ วรรณกรรม (Literature) และสิ่งที่สำคัญในการศึกษาครั้งนี้คือผลลัพธ์ที่เกิดจากการเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งตัวชี้วัดคือ “arrival rate” หรือ อัตราการเข้าถึง ซึ่งหมายถึง เชื้อชาติ/สัญชาติ พื้นที่ ประเทศ และวัฒนธรรมการเปิดรับของภูมภาคนั้นๆ รวมถึงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภาษา หนังสือ นิตยสาร และการผลิตซ้ำของสื่อ

2. คุณค่าและการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลบรรณานุกรม WorldCat (The communication studies value in WorldCat bibliographic database)

WorldCat_Logo_V_Color
ผู้บรรยายเริ่มด้วยการประยุกต์ใช้เครื่องมือในงานวิจัยของเขาว่า WorldCat ซึ่งเป็นฐานข้อมูลห้องสมุดที่สามารถแสดงประเทศหรือพื้นที่ที่มีหนังสือ รวมถึงนิตยสาร และสื่อทางวัฒนธรรมอื่นๆที่กระจายตามพื้นที่ต่างๆออกมาได้ตามคำสืบค้น และ WolrdCat ยังได้รวบรวมข้อมูลกว่า 20,000 ห้องสมุดและแสดงผลข้อมูลที่มาจาก 100 ประเทศที่มีทรัพยากรนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร และ E-book ซึ่งมันได้ให้ข้อมูล อัตราการเข้าถึงได้สำหรับการศึกษาการเผยแพร่ข้อมูล
ยกตัวอย่างเช่น การใช้งานของ WorldCat หากเราต้องการข้อมูลภาพรวมของสิ่งพิมพ์จีนที่มีอิทธิพลในต่างประเทศ WorldCat สามารถให้ข้อมูลพื้นฐานการแพร่กระจายในเชิงภูมิศาสตร์ได้ เช่นเดียวกัน เป็นต้นว่าเราต้องการสืบค้นหนังสือของผู้เขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม โม่ เหยียน (Mo Yan) ชื่อ Red Sorghum (ได้รับการแปลในชื่อภาษาไทย ตำนานรักทุ่งสีเพลิง) WorldCat ไม่ได้ให้เพียงแต่ข้อมูลของหนังสือที่ได้รับการแปลในภาษาอื่น อย่าง ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน หรือภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังให้ข้อมูลที่ของจำนวนแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษาที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศและพื้นที่ ซึ่งข้อมูลนี้ได้แสดงให้เราเห็นการขยายทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นผ่านการแพร่กระจายของหนังสือในทางภูมิศาสตร์

3. เริ่มต้นการวิจัย (The started research programs)
Assoc. Prof. Ming Xing HE ได้นำเสนอว่างานวิจัยเริ่มจากการศึกษาการขยายตัวของหนังสือพิมพ์จีน วารสารทางด้านวรรณกรรม และสิ่งพิมพ์วรรณกรรมจีน (Chinese literature Works)

ซึ่งการกระจายตัวในระดับโลกของหนังสือพิมพ์ People’s daily จากข้อมูลในปี 2012 พบว่ามีห้องสมุดกว่า 266 แห่งที่รวบรวมและจัดเก็บหนังสือพิมพ์นี้ทั้งในรูปแบบพิมพ์และออนไลน์ โดยตัวเลขแสดงให้เห็นว่าในสหรัฐมีห้องสมุดที่รวบรวมไว้ 146 แห่ง ญี่ปุ่น 97 แห่ง ออสเตรเลีย 9 แห่ง แคนาดาและสหราชอาณาจักร 6 แห่ง และฮอลแลนด์กับฮ่องกง 1 แห่ง โดยในส่วนข้อมูลห้องสมุดของญี่ปุ่นที่มีการรวบรวม 97 แห่งนั้น ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาจากฐานข้อมูล CiNii ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของฐานข้อมูลห้องสมุดที่สามารถให้เค้าโครงการกระจายตัวของหนังสือพิมพ์อันดับหนึ่งของจีนอย่าง People’s daily ในระดับโลก

นอกจากนี้ยังทำการสำรวจในลักษณะเดียวกันกับวารสารและวรรณกรรมจีน โดยวารสาร ผู้บรรยายได้เลือกวารสารภาษาจีนชื่อ People’s literature มาเป็นคำสืบค้นและผลลัพท์ได้แสดงออกมาว่า 262 ห้องสมุดในแต่ละประเทศทั่วโลกบอกรับวารสารดั่งกล่าว ในขณะที่วรรณกรรมร่วมสมัยจีน Assoc. Prof. Ming Xing HE ได้ยกตัวอย่างของ The Wolf Totem (นวนิยายร่วมสมัย โดย เจียง หรง (Jiang Rong) นักเขียนนวนิยายผู้ประสบความสำเร็จสูงในจีนแผ่นดินใหญ่และทั่วโลก) มานำเสนอในที่ประชุมว่ามีการกระจายตัวสูงสุดของเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่สหรัฐ 869 ห้องสมุด จากห้องสมุด 940 แห่งทั่วโลก

MingXing1

ผลการสำรวจจากงานวิจัยนี้ ทำให้เริ่มมีการนำข้อมูลมาใช้ในการจัดพิมพ์รายงานสิ่งพิมพ์จีนที่มีอิทธิพลในระดับโลกประจำปีอย่างต่อเนื่องและรายงานอย่างสม่ำเสมอในงานหนังสือนานาชาติปักกิ่ง หรือ BEIJING INTERNATIONAL BOOK FAIR: BIBF ซึ่งรายงานได้ประเมินว่ามีสำนักพิมพ์ในจีนแผ่นดินใหญ่ผลิตสิ่งพิมพ์เผยแพร่ไปยังห้องสมุดต่างๆทั่วโลก และได้รับการตอบรับที่ดีรวมถึงการยอมรับในวงการสิ่งพิมพ์และภาคการศึกษา

MingXing2

4. ปัญหาที่พบในงานวิจัย (The existing problems)
ความแม่นยำของข้อมูล
ในการทำรายการข้อมูล (Catalogue)ของหนังสือในแต่ละห้องสมุด จะพบว่าป้าย (Labels)ในแต่ละชุดของหนังสือนั้นๆจะมีข้อมูลที่แตกต่างกัน ทำให้ความแม่นยำของผลลัพธ์งานวิจัยลดลง
ความครอบคลุมของข้อมูลห้องสมุด
ความครอบคลุมของข้อมูลสิ่งพิมพ์จีนในห้องสมุดแต่ละแห่งนั้น จะเห็นได้ว่ามีข้อมูลทั้งในสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และกลุ่มประเทศยุโรป แต่สำหรับห้องสมุดในญี่ปุ่นพบว่า Worldcat ยังไม่สามารถแสดงผลข้อมูลได้ดีนัก ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกใช้ฐานข้อมูลอื่น CiNii (ฐานข้อมูลทางด้านวารสารและหนังสือวิชาการที่พัฒนาขึ้นโดย National Institute of Infometrics ที่จัดเก็บและเผยแพร่รายละเอียดทรัพยากรสารสนเทศจาก 1,200 ห้องสมุดทั่วประเทศญี่ปุ่น) มาช่วยค้นข้อมูลของห้องสมุดในญี่ปุ่นประกอบกัน

5. แผนในอนาคต (The future plan)
สำหรับแผนการในอนาคตนั้น ผู้บรรยายได้พูดถึงการเดินหน้าจัดพิมพ์รายงานสิ่งพิมพ์จีนที่เป็นที่รู้จักในระดับโลกประจำปีอย่างต่อเนื่อง และการใช้ประสิทธิภาพการประมวลผลของ Worldcat ร่วมกับโครงการของรัฐบาลจีน ไม่ว่าจะเป็น แผนเผยแพร่สิ่งพิมพ์จีนสู่ภายนอก โครงการแปลงานวิชาการของจีน และ โครงการแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อการเผยแพร่สิ่งพิมพ์จีนสู่โลกกว้างต่อไป

MingXing3

บรรณานุกรม
Ming Xing HE. (2014). OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference, The communication studies value and utilization in WorldCat bibliographic database. (Slide).