Tag Archives: วิจัย

Mahidol R2R e-Journal: วารสารสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน

วันที่ 30 มิถุนายน 2558 บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ขวัญชนก สถาพรพิบูลย์ อิสริ์ยา หมีเงิน กนกวรรณ พานิชเจริญ เจนจิรา อาบสีนาค นัชฐภรณ์ อ่อนแก้ว สุกัญญา คำภาศรี กฤตนันท์ ดุษฎีเมธานนท์  วริศรา วีระสัมพันธ์ และพิมพ์ชนก สิริพงศ์ทักษิณ เข้าร่วมฟังการบรรยาย การนำบทความวิจัย R2R ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ณ ห้องประชุมหลวงดำริอิศรานุวรรต ชั้น 5 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตรลดา อมรวัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล และ บรรณาธิการ วารสาร Mahidol R2R e-Journal ได้บรรยายในหัวข้อ เรื่อง Mahidol R2R e-Journal ทางเลือกใหม่สู่ความก้าวหน้าในสายอาชีพ คุณสแกวรรณ พูลเพิ่ม และ คุณนัตตุลา ชัยเกตุ นักทรัพยากรบุคคลและ ฝ่ายจัดการ วารสาร Mahidol R2R e-Journal บรรยายและสาธิต ระบบการดำเนินงานจัดทำวารสาร Mahidol R2R e-Journal

มาทำความรู้จักกับ R2R

Mahidol R2R e-Journal จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการ บทความวิจัย ที่เกิดจากโจทย์วิจัย (หรือ Routine to Research (R2R) เพื่อเป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย โดยมีเป้าหมายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาประจำนั้นๆ)    ขณะนี้ เพิ่งดำเนินการมาได้ 1 ปี เริ่มเข้าสู่ปีที่ 2 มีโครงการจะผลักดันในการนำเข้า TCI ต่อไป

Mahidol R2R e-Journal
Mahidol R2R e-Journal

Continue reading Mahidol R2R e-Journal: วารสารสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน

e-Research Support

e-Research Support โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมพร พุทธาพิทักษ์ผล อาจารย์ประจำแขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 7 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยพูดถึง e-Research ตั้งแต่ความหมาย และองค์ประกอบ สถานปัจจุบันของการวิจัย ประกอบด้วย การสื่อสารทางวิชาการ กระบวนการวิจัย ห้องสมุด และ e-Research support นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงช่องทางของวิชาชีพ ได้แก่ ทักษะความรู้บรรณารักษ์และนักสารสนเทศที่ต้องเปลี่ยนไปจากเดิม บริการใหม่ที่เข้ามาแทนที่ การจัดการข้อมูลวิจัย ที่มาแทนที่การจัดการสิ่งพิมพ์วิจัย รวมทั้งสรุปประเด็นที่น่าสนใจ คือ ประเด็นที่ 1 ขาดความรู้ ความเข้าใจด้านสถิติเชิงอ้างอิงที่ซับซ้อน การที่มีภูมิหลังด้านการศึกษามนุษยศาสตร์ และไม่คุ้นเคยกับสถิติ ข้อมูลเชิงปริมาณ ประเด็นที่ 2 การวิจัย การติดตามงานวิจัย และการใช้งานวิจัย ประเด็นที่ 3 สมรรถนะเดิม และสมรรถนะใหม่ คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

งานวิจัยในมุมมองของ KM

มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และงานวิจัย  ซึ่งมีความเหมือนและแตกต่าง ของการจัดการความรู้และงานวิจัย  ชื่อว่า “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  ซึ่งผู้เขียน คุณจงจิต วงษ์สุวรรณ, คุณเจนจิรา อาบสีนาค, คุณศุภณัฐ เดชวิถี และคุณพรพิมล ช่างไม้  สรุปประเด็นได้ 7 ข้อ ดังนี้

  1. ขั้นตอนเริ่มต้น
  2.  การปฏิบัติ
  3. ชนิดของความรู้ที่เน้น
  4. ตัวแปร
  5. การยืดหยุน
  6. วิธีคิด
  7. ทิศทางการดำเนินงานความรู้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

จงจิต วงษ์สุวรรณ  เจนจิรา อาบสีนาค ศุภณัฐ เดชวิถี และ พรพิมล ช่างไม้  (2552)  “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)  : 22:27

 

Altmetric 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014

Altmetric LLP เปิดเผย 100 บทความวิชาการที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2014 ที่มีการแชร์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งจาก 10 อันดับแรกที่ได้รับการ share มากที่สุดเป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่

  1. Experimental evidence of massive-scale emotional contagion through social networks
  2. Variation in Melanism and Female Preference in Proximate but Ecologically Distinct Environments
  3. Artificial sweeteners induce glucose intolerance by altering the gut microbiota
  4. Stimulus-triggered fate conversion of somatic cells into pluripotency
  5. Dogs are sensitive to small variations of the Earth’s magnetic field
  6. Christmas 2013: Research: The survival time of chocolates on hospital wards: covert observational study
  7. Epidemiological modeling of online social network dynamics
  8. Searching the Internet for evidence of time travelers
  9. Conscious Brain-to-Brain Communication in Humans Using Non-Invasive Technologies
  10. Were James Bond’s drinks shaken because of alcohol-induced tremor?รายชื่อทั้งหมดสามารถติดตามได้ที่  Altmetric.com

    20141212-100-Altemetrics

โดยในภาพรวมพบว่า

  • งานวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมสูงสุดถึงร้อยละ 40 บทความยอดฮิต ได้แก่ the effect of artificial sweeteners on glucose intolerance to the origins of the Ebola virus
  • สาขาชีววิทยา เป็นอันดับรองลงมา คิดเป็นร้อยละ 20 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาสเต็มเซลล์ของมนุษย์ และอื่นๆ ที่เน้นในเรื่องจีโนมจากบรรพบุรุษ ของมนุษย์และสัตว์
  • สาขาฟิสิกส์ เป็นอันดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 9 ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับหลุมดำที่มีชื่อเสียง ของ Stephen Hawking

รายการอ้างอิง:

Altmetric ‘Top 100’ Highlights Topical Academic Research from 2014. Retrieved December, 12 2014 from http://www.altmetric.com/pressreleases/top-100-2014.php#

วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2557

วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศรายชื่อผู้รับโล่เชิดชูเกียรติผู้สร้างชื่อเสียงทางด้านการวิจัย  ในงาน “วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2557”  วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 17.00-20.30  น. ณ ห้องชมวัง หอประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพฯ

  • รางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2557
    ผู้ได้รับการกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนขั้นสูง
    –  ศาสตราจารย์ ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์
    –  ศาสตราจารย์ ดร. ประสิทธิ์ เอกบุตร คณะนิติศาสตร์
    ผู้ได้รับการแต่งตั้งในดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
    – ศาสตราจารย์ ดร. พฤทธา ณ นคร สถาบันเทคโนโลยีสิรินร
    – ศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีสิรินธร
  • รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2556
    – ศาสตราจารย์ ดร. สมนึก ตั้งเติมสิริกุล สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
  • ผู้ที่มีผลงานจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร
    – รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณพร อิฐรัตน์ คณะแพทยศาสตร์
    – รองศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา สมพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    – รองศาสตราจารย์ ดร. จารุณี โลกสุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    – รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาศรี เทพรักษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมโภช พจนพิมล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มณฑลี ศาสนนันทน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ Continue reading วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2557

The Communication Studies Value and Utilization in WorldCat

“The communication studies value and utilization in WorldCat bibliographic database” อีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจจากการประชุมเครือข่ายห้องสมุด OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference บรรยายโดย Assoc. Prof. Ming Xing HE จาก Beijing Foreign Studies University, สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการนำเอา WorldCat มาประยุกต์ใช้ในเป็นเครื่องมือเพื่อการศึกษาวิจัยการแพร่กระจายของสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนในระดับนานาชาติ Continue reading The Communication Studies Value and Utilization in WorldCat

2 ค่ายยักษ์ใหญ่ ระหว่าง Web of Science และ Scopus

Ruth A. Ragel ได้เขียนถึง 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ฐานข้อมูล อย่าง Web of Science ซึ่งเป็นของบริษัท Thomson Reuters และ Scopus ซึ่งเป็นของสำนักพิมพ์ Elsevier  ทางด้าน Web of Science ซึ่งครองความน่าเชื่อถือด้วยค่า impact factor ของบทความมายาวนาน การตรวจสอบค่า impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports (JCR) ขณะที่ Scopus ก็ออกวิธีการคำนวณค่า SJR (SCImago Journal Rank)  ในบทความนี้ Ragel นำเสนอหลายๆ มุมมอง เลยอยากแนะนำให้อ่านดูค่ะ http://librarylearningspace.com/ruths-rankings-4-big-two-thomson-reuters-scopus/

จริยธรรมการวิจัยในคน

ผู้เขียน (คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน) ได้กล่าวว่า การมีโอกาสเป็นกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนนับเป็นโอกาสดีได้เปิดมุมมอง ได้รับความรู้-เรียนรู้สิ่งใหม่ การเป็นอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนเป็นงานที่หลังจากเกษียณแล้วยังอาสาสมัครปฏิบัติอยู่ อ่าน-พิจารณาโครงงานวิจัยเดือนละประมาณ4 เรื่อง ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เดือนละ 1 ครั้ง (9.00-16.00 น.) ตั้งใจว่าจะเผยแพร่-เชิญชวนให้บุคลากรต่างๆ โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์เข้ารับการอบรมและเข้าร่วมเป็นกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งเป็นทั้งการ “พัฒนาตนเอง” และ “พัฒนา (สังคม) การวิจัย”

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน. จริยธรรมการวิจัยในคน. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 42-47.

InCites & SciVal โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถนะด้านวิจัย

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่ บุคลากรของสำนัก โดยจัดอบรมการใช้ฐานข้อมูล InCites และ SciVal เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2557 โดยวิทยากร คือ Dr. Ning Ning จาก Thomson Reuters (InCites) และ Mr. Alexander Van Servellen จาก Elsevier (SciVal) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการใช้โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถนะด้านการวิจัย

10603237_664575270328372_8309175261718005249_n
บรรยากาศการอบรมฐานข้อมูล SciVal

ฐานข้อมูล InCites และ SciVal นั้น เป็น เครื่องมือประเมินผลงานวิจัย เพื่อการวิเคราะห์ผลการวิจัยและเปรียบเทียบ ผลงานในด้านต่างๆ โดยใช้ข้อมูลการอ้างอิง สถิติที่ครอบคลุมทั่วโลก ข้อมูลจากหลายหลากแง่มุมเพื่อใช้ในการกำหนดทิศทางของสถาบันการวิจัย ครอบคลุมข้อมูลต่างๆ ทั้งในด้านประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างสถานบัน โดยการแสดงผลภาพที่ชัดเจน และมีเครื่องมือรายงานผล ทำให้หน่วยงานสามารถสร้างผลการรายงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น

SciVal
ฐานข้อมูล SciVal

InCites
ฐานข้อมูล InCites

ระบบสารสนเทศฐานข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU Research Database)

วันที่ 6 ตุลาคม 2557 เวลา 10.00-12.00 น. นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ และ นางสาวจุฑาทิพย์ โอสถานนท์ เข้ารับการอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศฐานข้อมููลวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ส่วนการนำเข้าข้อมูลวิจัย) ณ ห้อง 109 อาคารวิทยบริการ สถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและการพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

การอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศฐานข้อมูลวิจัย
                การอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศฐานข้อมูลวิจัย

วิทยากร คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีรชัย อโณทัยไพบูลย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะ เตชะธีราวัฒน์ ได้อธิบายในภาพรวมของระบบสารสนเทศฐานข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU Research
Database) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลนักวิจัย (Researcher) ผลงาน (Publication) TU-RAC Project, Government Budget project, TU
Budget project, สิทธิบัตร (Patents) และ วิทยานิพนธ์ (Thesis) และเนื่องจากระบบดังกล่าวได้เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล TU-RAC และการจัดการข้อมูลสำหรับ QA วิทยากรได้สาธิต การนำผลงานเข้าตามตัวบ่งชี้ สมศ. และให้ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติการนำเข้าข้อมูล

เว็บไซต์ระบบสารสนเทศฐานข้อมูวิจัย
                        เว็บไซต์ระบบสารสนเทศฐานข้อมูวิจัย

ระบบสารสนเทศฐานข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีระบบบริหารโครงการวิจัย เพื่อบริหารจัดการโครงการวิจัย การทำงานวิจัย การเบิกจ่ายในงานวิจัยแต่ละ phase การติดตามโครงการ มีระบบการแจ้งเตือนนักวิจัย การ
แสดงความคืบหน้าของการวิจัย และการปิดโครงการ เมื่องานวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งมีการการแชร์ข้อมูล ทาง FB, Twitter, Google plus และ linkedin