Search Talk กับ PICOT

จากกิจกรรม Search Talk เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา สมาชิก Digital Literacy CoP และ Training the Trainers ได้เข้าร่วมกิจกรรมในการสืบค้นจากโจทย์ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นแบบฝึกหัดให้ฝึกฝน โดย อาจารย์ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ ของ Search Talk คือ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสืบค้น คำถามเป็นคำถามซึ่งหน้า ต้องแก้ปัญหาให้ลูกค้าทันทีทันใด  เราพยายามรู้อะไร ไม่รู้อะไร เพื่อจะได้เรียนรู้ ว่าเราจะทำอย่างไร

อาจารย์ได้ส่งโจทย์มาให้ก่อนที่จะมาพบกันในชั้นเรียนจริง โจทย์ที่อาจารย์ส่งมาให้ คือ

“มีวิธีการใดบ้างที่จะพัฒนาทักษะการเขียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี?”

เป้าหมายของการสืบค้น ก็คือให้ได้ set ของผลงานที่มีความสมดุลย์ระหว่าง precision กับ recall มากที่สุด กล่าวคือ ได้ผลงานที่ตรงกับความต้องการและมีจำนวนไม่มากและน้อยเกินไป อาจารย์ให้แต่ละทำแบบฝึกหัดกันมาก่อน โดยต้องบันทึกข้อมูลระหว่างการสืบค้น ได้แก่

  1. ฐานข้อมูลที่สืบค้น
  2. คำค้นรวมถึงการใช้ฟังก์ชั่นการค้นอื่น ๆ เช่น บูลีน หรือ Truncation ต่าง ๆ (Search strings)
  3. ผลการค้น
  4. Feature การค้นอื่น ๆ ที่ใช้

เมื่อถึงวันที่ 15 กันยายน สมาชิกทุกคนต่างทำการบ้านตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย โดยที่อาจารย์ได้เสนอแนววิเคราะห์ โดยการใช้ Picot guideline ในการวิเคราะห์คำถาม

P = Population/Condition ข้อเสียของคนกลุ่มนี้ คืออะไร นักศึกษาป.ตรี ที่มีปัญหาด้านการเขียน  Undergrade ที่มีปัญหาด้านการเขียน
I = Intervention  จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การสอน การแจก handout การให้งาน การทำงานกลุ่ม  (เขาต้องการทำอะไร)
C = Comparison การเปรียบเทียบ  เป็นสิ่งสำคัญมากในการวิจัย การจะรู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ ต้องมาจากความเปรียบเทียบ
O = Outcome ผลสัมฤทธิ์ อะไรจะดีหรือไม่ดี ดูจากเกณฑ์ (อาจารย์ เพื่อน ร่วมกันคิด) การได้ร้บรางวัล เกรด คำชมเชย คำบ่น ต้องการเอาเฉพาะที่เป็นคำอธิบาย
T = Time มีระยะเวลาจำกัดหรือไม่ เอางานวิจัยกี่ปี

หรืออาจจะมี Space = เป็นงานวิจัยทางด้านไหน เป็น College, University รวมทั้ง Geographic ด้วย

โดยให้วิเคราะห์โจทย์ว่า จะแทนค่าออกมาเป็นแต่ละตัวได้อย่างไร พร้อมนำเสนอ Template PICOT เพื่อเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์โจทย์ และคำค้นที่จะเริ่มต้นสืบค้น

จากนั้น ให้แต่ละกลุ่มสืบค้น และมานำเสนอคำที่ใช้ในการสืบค้น ฐานข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้ โดยนำข้อมูลของการกำหนดคำค้นมาใส่ใน Worksheet เดียวกัน เหมือนเป็นการทำงานร่วมกัน และในส่วนนี้สามารถที่จะใช้เป็นแหล่งอ้างอิง หากลยุทธ์ในการสืบค้นจากโจทย์ต่างๆ ที่ได้ โดยนำกลยุทธ์เดิมในการสืบค้นมาปรับปรุงใหม่ หรืออาจจะมีการเพิ่มเติมและนำไปบันทึกเพิ่มเติมไว้ รวมทั้ง สามารถนำมาเผยแพร่ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในการศึกษาคำค้นจากที่เคยมีการค้นไว้อยู่แล้วได้อีกด้วย

เมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนอกลยุทธ์และอาจารย์ได้ซักถามเพิ่มเติมแล้ว ข้อสังเกตก็คือ แต่ละกลุ่มจะใช้วิธีการสืบค้นไม่เหมือนกัน เช่น หลายๆ กลุ่มเริ่มด้วยการค้นจากฐานข้อมูลที่มีระบบ Single search ครอบอยู่ แต่ในส่วนนี้จะต้องให้ทราบว่า หัวเรื่องของแต่ละฐานข้อมูลที่ถูกครอบอยู่นั้น ปรากฏอยู่ในเขตข้อมูลที่เป็น subject headings หรือ descriptors หรือ Thesaurus เป็นต้น ซึ่งเป็นความรู้ที่ต้องศึกษาให้ลึกซึ้ง และบางกลุ่มยังเลือกฐานเฉพาะที่คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับโจทย์ที่ได้รับมา และใช้ตัว subject headings เป็นช่องทางการค้นเป็นหลัก นอกจากนี้ อาจารย์ยังชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้หัวเรื่อง function บางอย่างที่สมาชิกในกลุ่มไม่ทราบมาก่อน และเทคนิคต่างๆ อีกมากมาย ทำให้สะท้อนให้เห็นว่า บรรณารักษ์ที่มีหน้าที่บริการตอบคำถาม ควรจะต้องศึกษา function ต่างๆ ที่ฐานข้อมูลมีไว้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างคุ้มค่า

กิจกรรม Search Talk จึงเป็นกิจกรรมที่บรรณารักษ์บริการตอบคำถามหรือ research supporter ควรจะทำกันอย่างสม่ำเสมอ