การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ จะมีเทคนิควิธีในการสืบค้นเพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาและได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งถ้าผู้ใช้ทราบและทำความคุ้นเคยกับเทคนิคเหล่านั้น จะช่วยให้ประหยัดเวลาในการค้นหามากยิ่งขึ้น
ในแต่ละฐานข้อมูลจะมีวิธีการสืบค้นที่แตกต่างกันออกไปซึ่งผู้ใช้จะต้องทราบเบื้องต้นโดยการอ่านคู่มือของฐานข้อมูลนั้นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การสืบค้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การสืบค้นแบบพื้นฐาน (Basic Search) และการสืบค้นแบบขั้นสูง (Advanced Search) Continue reading Searching databases like a pro!!!
Category Archives: Training the trainers CoP
Keeping up-to-date was never easier!!
ไม่ทราบว่าผู้อ่านเคยสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์และลงทะเบียนเพื่อรับการแจ้งเตือน (Alerts) ข้อมูลผ่านทางอีเมล์กันบ้างไหมคะ ถ้าหากว่าเคยและยังคงใช้วิธีการนี้ในการติดตามข้อมูลงานวิจัยใหม่ๆ ในรูปแบบนี้อยู่ ผู้เขียนอยากจะเชิญชวนทุกท่านลองมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งช่องทางการติดตามข้อมูลข่าวสารที่เรียกว่ากำลังมาแรงในยุคสมัยที่อุปกรณ์สื่อสารแบบเคลื่อนที่ (Mobile devices) ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่ห้าในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว
นั่นก็คือ แอพลิเคชั่นที่ชื่อว่า Research highlights ซึ่งเป็น mobile application ตัวใหม่ล่าสุดจากสำนักพิมพ์ Elsevier ที่จะทำให้นักวิจัยสามารถติดตามงานวิจัยใหม่ล่าสุดที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารกว่า 20,000 ชื่อเรื่องได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผ่าน smart devices
ENGLISH COMMUNICATION FOR LIBRARIANS AND INFORMATION PROFESSIONALS (EC-LIP) (ตอนที่ 6)
วันนี้ (15 กันยายน 2558) เป็นวันสุดท้ายของหลักสูตร โดยสมาชิกของ Digital Literacy และ Training the Trainers แต่ละคนได้จัดทำสไลด์หรือ
นำอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อมานำเสนอในชั้นเรียน มีการแจ้งหัวข้อ พร้อมสาระสังเขป ก่อนที่จะนำเสนอ โดยก่อนที่จะถึงวันนำเสนอจริง วิทยากรได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สมาชิกมีการเตรียมตัวอย่างเต็มที่
Following are the web resources that can help you achieve an effective presentation.
1. Stress Unlike Thai language which is mono syllabic, meaning that all syllables are stressed, English has stress patterns and intonation which you need to follow https://www.youtube.com/watch?v=bX-_YSDM7ic
Assignment 1. After your view the video, go back to the article, the Characteristics of the librarian and information Professionals in the web 2.0 era, identify the words used frequently in your profession. Then learn to stress them properly Continue reading ENGLISH COMMUNICATION FOR LIBRARIANS AND INFORMATION PROFESSIONALS (EC-LIP) (ตอนที่ 6)
Search Talk กับ PICOT
จากกิจกรรม Search Talk เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา สมาชิก Digital Literacy CoP และ Training the Trainers ได้เข้าร่วมกิจกรรมในการสืบค้นจากโจทย์ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นแบบฝึกหัดให้ฝึกฝน โดย อาจารย์ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ ของ Search Talk คือ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสืบค้น คำถามเป็นคำถามซึ่งหน้า ต้องแก้ปัญหาให้ลูกค้าทันทีทันใด เราพยายามรู้อะไร ไม่รู้อะไร เพื่อจะได้เรียนรู้ ว่าเราจะทำอย่างไร
อาจารย์ได้ส่งโจทย์มาให้ก่อนที่จะมาพบกันในชั้นเรียนจริง โจทย์ที่อาจารย์ส่งมาให้ คือ
“มีวิธีการใดบ้างที่จะพัฒนาทักษะการเขียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี?”
เป้าหมายของการสืบค้น ก็คือให้ได้ set ของผลงานที่มีความสมดุลย์ระหว่าง precision กับ recall มากที่สุด กล่าวคือ ได้ผลงานที่ตรงกับความต้องการและมีจำนวนไม่มากและน้อยเกินไป อาจารย์ให้แต่ละทำแบบฝึกหัดกันมาก่อน โดยต้องบันทึกข้อมูลระหว่างการสืบค้น ได้แก่ Continue reading Search Talk กับ PICOT
English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 5)
ครั้งหน้าจะเป็นครั้งสุดท้ายของการเรียน ทุกคนมีการบ้านในการนำเสนอคนละ 1 เรื่อง โดยการคิดหัวข้อ และใช้ความรู้ เทคนิคต่างๆ ที่วิทยากรให้มา ตอนนี้ ผู้เรียนได้คิดและส่งหัวข้อที่จะนำเสนอไปยังวิทยากรแล้ว เหลือช่วงเวลาของการเตรียมตัวในการนำเสนอ เช่นเคย วิทยากรได้ส่งเอกสารที่เป็นประโยชน์เพื่อ Self Study ดังนี้
Following are the web resources that can help you achieve an effective presentation Continue reading English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 5)
English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 4)
สำหรับการเรียนในครั้งที่ 2 นี้ วิทยากรได้แนะนำวิธีการนำเสนอในแต่ละส่วน กล่าวคือ
เนื้อหาหลักของการนำเสนอ (The main part of the presentation)
เป็นส่วนที่ผู้พูดต้องการบอกอะไรกับผู้ฟัง ในส่วนนี้ ต้องมีการจัดระบบความคิดในการนำเสนอ โดยเนื้อหาอาจจะมาจากเพื่อนๆ เพื่อนร่วมงาน หรือ การค้นหา เสาะหาความคิดใหม่ๆ จากบทความหลายๆ แหล่ง และใช้ graphic organizers หรือ mind map เข้ามาช่วย การใช้ graphic organizers มาใช้นั้น สามารถศึกษาได้จาก
http://education.wm.edu/centers/ttac/documents/articles/graphic_organizers.pdf
เมื่อได้ความคิดหรือข้อมูลแล้ว ต้องมีการเชื่อมโยงความคิดหรือข้อมูลเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อจะได้ทำให้การนำเสนอนั้นง่ายต่อการติดตาม อาจจะทำเป็น 2 แบบ กล่าวคือ Continue reading English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 4)
English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 3)
ตอนที่ 2 จบท้ายไว้ว่า ผู้เรียนได้รับแบบฝึกหัดให้เตรียมเนื้อหาเพื่อสำหรับการนำเสนอในชั้นเรียนโดยใช้บทความจากเรื่อง Becoming “Librarian 2.0”: The Skills, Knowledge, and Attributes Required by Library and Information Science Professionals in a Web 2.0 World (and Beyond)
ก่อนจะถึงวันเรียน วิทยากร ได้ส่ง Self study มาให้ผู้เรียนเช่นเคย ดังนี้
Self Study Two: Organizing the Body of Your Presentation
After completing the reading and discussion about the characteristics of librarians and information personnel (LIP) from Self Study One, you have made your choices about the content or the key message that you want to deliver in your presentation.
For instance, if your group chose 3 key characteristics: User focus, technology and learning, you would enter those in the body of your presentation. Continue reading English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 3)
English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 2)
เมื่อตอนที่ 1 ได้เล่าถึง Self study ของหลักสูตร ENGLISH COMMUNICATION FOR LIBRARIANS AND INFORMATION PROFESSIONALS (EC-LIP) เป็นการเตรียมผู้เรียนก่อนเข้าชั้นเรียน เมื่อวันเรียนมาถึง ได้มีการพูดแนะนำสมาชิกแต่ละคนเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ชื่อ และตำแหน่งหน้าที่ที่ปฏิบัติ หลังจากนั้น วิทยากรมีกิจกรรมอีกมากมาย ดังนี้
กิจกรรมที่ 1
What are the responsibilities of the librarian? Write down in note forms in the notepad provided the jobs of the librarian
จากนั้น ให้แต่ละคนไปหาสมาชิกคนอื่นๆ เพื่อให้พูดถึงงานของบรรณารักษ์ ในห้องสมุด ได้ฝึกพูดกันสนุกทั้งชั้นเรียน ต่างคนต่างต้องหาสมาชิกให้ได้อย่างน้อย 3 คน ในเวลาที่ไม่มากนัก ได้ฝึกพูด ได้รู้จักงานของคนอื่นมากขึ้น
กิจกรรมที่ 2 วิทยากรได้นำแบบฝึกหัดการสื่อสารระหว่างบรรณารักษ์และผู้ใช้มาปฏิบัติ กรณีที่ผู้ใช้หรือ customer พูดหรือสื่อสารเพื่อต้องการให้บรรณารักษ์บริการหรือช่วยเหลือ บรรณารักษ์หรือ Librarian ควรจะต้องตอบอย่างไร Continue reading English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 2)
English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 1)
จากการเรียนวิชา English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) จำนวน 12 ชั่วโมงนั้น เพื่อให้สมาชิกทั้ง Digital Literacy CoP และ Training the Trainers CoP ได้เรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในวิชาชีพของตนเอง โดยวิทยากร คือ รองศาสตราจารย์ สุชาดา นิมมานต์นิตย์ ได้ออกแบบหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่มีความเฉพาะสำหรับบรรณารักษ์ อาจารย์ได้จัดเตรียมเนื้อหา เพื่อให้ผู้เข้าเรียนศึกษาและฝึกฝนด้วยตนเองก่อนเข้าชั้นเรียน มีทฤษฎี มีการฝึกฝน และหัดพูดในชั้นเรียน และสุดท้ายรวมเอาทฤษฎีทุกอย่างที่เรียนและที่มอบหมาย มานำเสนอในชั้นเรียน
แบบฝึกหัดแรกที่วิทยากรได้มอบหมายให้ ก็คือ การอ่าน (เป็น Self-study ก่อนถึงวันเรียนจริง)
Read the follow except from the article below and identify skills you have and skills you need to develop. Complete the following table with the ideas you have from the reading.
Partridge, H. and Lee, J. and Munro, C.(2010). Becoming “Librarian 2.0”: The Skills, Knowledge, and Attributes Required by Library and Information Science Professionals in a Web 2.0 World (and Beyond)
Retrieved from https://www.ideals.illinois.edu/bitstream/handle/2142/18735/59.1-2.partridge.pdf Continue reading English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 1)
Customer journey
คำๆ นี้ ได้มาจากการฟัง อ. ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ เล่าประสบการณ์การเป็นนักวิจัย การทำงานร่วมกับนักวิจัย ของอาจารย์ ในโอกาสที่ Digital Literacy CoP และ Training the Trainers CoP ของสำนักหอสมุด มธ. เชิญอาจารย์มาเล่าประสบการณ์ของอาจารย์ ด้วยเหตุที่มองเห็นว่า บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ จะทำอย่างไรที่จะนำความสามารถของเราให้เป็น research supporter ได้
อาจารย์ทรงพันธ์ ในฐานะที่เป็นนักวิจัย เป็นอาจารย์สอนบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าประสบการณ์การเป็น informationist ที่ Vanderbilt University Medical Center, Nashville, Tennessee ตำแหน่ง Knowledge Management Leadership and Research Fellow อาจารย์ได้รวบรวมประเด็นต่างๆ ได้แก่ แนวคิดของการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความต้องการของนักวิจัย โอกาสในการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของคนที่จะทำงานร่วมกับนักวิจัย การพัฒนาตนเองให้สามารถทำงานร่วมกับนักวิจัยได้ ไว้ในการพูดแบบเล่าเรื่องด้วยความสนุก เรียกได้ว่า ฟังเพลินกันเลยทีเดียว ในเวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง หมดเวลาโดยไม่รู้ตัว
การจะเป็น Informationist หรือ Embedded librarian ได้ยินอะไร ต้องตั้งคำถามไว้ก่อน เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ในเมื่อ Vanderbilt University Medical Center เป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ มีนักศึกษาประมาณ 5,000 คน พนักงาน ประมาณ 20,000 คน หน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ โรงพยาบาล เรียนเกี่ยวกับ สุขภาพทุกอย่าง เพราะฉะนั้น philosophy ของ Vanderbilt คือ อย่ารอให้คิดทุกอย่างสมบูรณ์ ชัดเจน ถามมา ทำได้จริง งานได้ 50% ก็จะผลักออกมาก่อน ดังนั้น องค์กรจะดีได้ ต้องมีข้อมูลที่ดี Vanderbilt ต้องตอบโจทย์ให้กับผู้บริหาร คนไข้ ญาติคนไข้ หมอ นักศึกษา โรงพยาบาล แต่กลุ่มใหญ่สุด คือ นักวิจัย ดังนั้น information และ Knowledge เป็นสิ่งสำคัญ หมอจึงต้องการได้ข้อมูลแบบที่เป็น Evidence Based Medicine เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ การที่หมอไม่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ จะทำอย่างไร ต้องพยายามนำข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดไปเข้ากับระบบที่หมอจะสามารถค้นและใช้ข้อมูลได้ทันที ซึ่งจะตัดสินใจผิดไม่ได้เลย เพราะคนที่ตัดสินใจไม่มีเวลามาหาข้อมูล Continue reading Customer journey