การสร้างรายการบรรณานุกรมหนังสืออนุสรณ์งานศพ

หนังสืออนุสรณ์งานศพ เป็นหนังสือซึ่งจัดพิมพ์เพื่อแจกให้แก่ผู้มาร่วมงานศพเพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ โดยนำเสนอข้อมูลประวัติและผลงานของผู้วายชนม์ ทั้งยังมีคำไว้อาลัยจากบุคคลต่างๆ ซึ่งสะท้อนถึงตัวตนผู้ตายรวมไว้ด้วย นอกจากนี้อาจมีการนำวรรณกรรม วรรณคดี บทความ ความรู้ในเรื่องต่างๆ และบทสวดมนต์ต่างๆ มาจัดพิมพ์ไว้ด้วย หนังสืออนุสรณ์งานศพจึงถือเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ สังคม วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ณ เวลานั้น

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์หนังสืออนุสรณ์งานศพ หรือหนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพของคนไทย จึงได้รวบรวมพร้อมจัดทำฐานข้อมูลเพื่อรองรับการค้นคว้าข้อมูล เพื่อให้หนังสืออนุสรณ์งานศพได้เผยแพร่และถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษามากขึ้น

การสร้างรายการบรรณานุกรมหนังสืออนุสรณ์งานศพ มีขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดโปรแกรม OCLC connexion จากนั้นใส่ username และ password

cre001

2. เลือกเมนู Cataloging — Create — Single record — Books ตามลำดับ

3. เขตข้อมูล 008 เลือกประเภท worksheet เป็น Books และกรอกข้อมูลเหมือนหนังสือทั่วไป

cre002

4. วิธีการลงรายการในแต่ละเขตข้อมูล ให้กรอกข้อมูลทั้งภาษาไทย และเทียบอ่านเป็นอักษรโรมันคู่กันไปในแต่ละเขตข้อมูล (ยกเว้น 3XX และ 5XX ไม่ต้องเทียบเสียงอ่านเป็นอักษรโรมัน)

cre005

5. เขตข้อมูล 040 กรณีเป็นหนังสือภาษาไทยให้ใส่ ǂb tha

6. เขตข้อมูล 090 คือ เลขหมู่หนังสือ (Call no.) ให้ใส่ “CRE” ตามด้วยปีพิมพ์ และเลข

ตัวอย่าง  CRE 1973 648103

7. เขตข้อมูล 100 ลงรายการชื่อผู้แต่ง พร้อมทั้งเพิ่มเขตข้อมูล 100 เทียบเสียงอ่านเป็นอักษรโรมันคู่กันไป

ตัวอย่าง

100 0     พระมหาบัว ญาณสัมปันโน, ǂd 2456-2554.

100 0     Phra Mahā Būa Yānasampannō, ǂd 1913-2011.

8. เขตข้อมูล 245 ลงรายการชื่อเรื่องตามปรากฏในหน้าปกใน พร้อมทั้งส่วนผู้รับผิดชอบ

ตัวอย่าง

245 10   ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ / ǂc เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน.

245 10  Patipathā khō̜ng phrathudongkhakammathān sāi Phraʻāčhān Man Phūrithattathēra / ǂc rīaprīang dōi thān ʻāčhān Phra Mahā Būa Yānasampannō.

9. เขตข้อมูล 250 ลงรายการ ครั้งที่พิมพ์.

ตัวอย่าง

250       พิมพ์ครั้งที่ 1.

250        Phim khrang thī 1.

10. เขตข้อมูล 260 ลงรายการ สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปีพิมพ์.

ตัวอย่าง

260       กรุงเทพฯ : ǂb โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ǂc 2516 [1973]

260       Krung Thēp… : ǂb Rōngphim Chūanphim, ǂc 2516 [1973]

11. เขตข้อมูล 300 ลงรายการ จำนวนหน้า : ภาพประกอบ.

ตัวอย่าง

300       21, 364 หน้า.

cre004

12. เขตข้อมูล 500 ลงรายการส่วนหมายเหตุ โดยใส่ข้อมูลศพ สถานที่ วันที่.

ตัวอย่าง

500        อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายแพทย์ชู ศีตะจิตต์ ป.ช. ณ เมรุ หน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2516.

13. เขตข้อมูล 500 ในกรณีหนังสือมีเนื้อหาเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง ให้ลงรายการในเขตข้อมูล 500 โดยใส่ข้อความ“พร้อมด้วย: …” นำหน้าชื่อเรื่องอื่นๆ หากมีผู้รับผิดชอบ ให้ใส่ข้อมูลด้วย และทำรายการเพิ่มชื่อผู้แต่ง และรายการเพิ่มชื่อเรื่องที่เขตข้อมูล 700 และ เขตข้อมูล 740 ตามลำดับ

14. เขตข้อมูล 600 ลงรายการชื่อศพ พร้อมทั้ง ปีเกิด-ปีตาย และเพิ่มเขตข้อมูล 600 ลงรายการ “นามสกุล (นาม)”

ตัวอย่าง

600 04  ชู ศีตะจิตต์, ǂd 2435-2515.

600 04  Chū Sītačhit, ǂd 1892-1972.

600 34  ศีตะจิตต์ (นาม)

600 34  Sītačhit (Name)

15. เขตข้อมูล 650 ลงรายการหัวเรื่องตามเนื้อหา ให้ลงรายการหัวเรื่องในภาษาอังกฤษเทียบเคียงคู่กันไปในแต่ละหัวเรื่องด้วย

ตัวอย่าง

650   4   วิปัสสนา.

650   4   Vipasyana (Buddhism)

16. เมื่อกรอกข้อมูลครบทุกเขตข้อมูลแล้ว ให้บันทึกรายการบรรณานุกรม โดยกดปุ่ม “F8” บนแป้นพิมพ์ รายการที่บันทึกใน OCLC เรียบร้อยแล้วจะปรากฏเลขระเบียน OCLC และหากต้องการแก้ไขข้อมูลในรายการบรรณานุกรม ให้เลือกเมนูคำสั่ง Action — Lock Master Record และแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง จากนั้นบันทึกข้อมูลอีกครั้งโดยเลือกเมนูคำสั่ง Action — Replace and Update Holding

cre006

17. หนังสืออนุสรณ์งานศพจัดให้อยู่ใน Collection หนังสือหายาก (Rare book) ห้ามยืม จัดเก็บไว้ที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์ที่ Location — Special room 2