Tag Archives: หนังสืออนุสรณ์งานศพ

หลักคิดของผู้เกษียณ : ภูมิใจกับเรื่องเล็กๆ และรักในงานที่ทำ

pintima
พิณทิมา เลิศสมบูรณ์

“ภูมิใจกับเรื่องเล็ก ๆ  และรักในงานที่ทำ”

คุณพิณทิมา เลิศสมบูรณ์  หรือ “พี่จั่น” เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์  ประจำห้องสมุดศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2526  พี่จั่น เล่าว่า ภูมิใจที่ได้ทำงานเป็นบรรณารักษ์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านการทำงานในหลายตำแหน่งทั้งในระดับปฏิบัติงานและหัวหน้างาน นอกจากนั้น ยังภูมิใจที่ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพในฐานะกรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ อีกด้วย Continue reading หลักคิดของผู้เกษียณ : ภูมิใจกับเรื่องเล็กๆ และรักในงานที่ทำ

ผลงานสำคัญของสำนักหอสมุด มธ. ปี 2558

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานส่งเสริมและสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการให้บริการวิชาการ แก่นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในทุกสาขาวิชาและทุกระดับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นพัฒนาเสรีภาพแห่งการเรียนรู้ เสริมสร้างสังคมอุดมปัญญา โดยมีวิสัยทัศน์ขององค์กรว่า “สำนักหอสมุดเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ”
Continue reading ผลงานสำคัญของสำนักหอสมุด มธ. ปี 2558

การสร้างรายการบรรณานุกรมหนังสืออนุสรณ์งานศพ

หนังสืออนุสรณ์งานศพ เป็นหนังสือซึ่งจัดพิมพ์เพื่อแจกให้แก่ผู้มาร่วมงานศพเพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ โดยนำเสนอข้อมูลประวัติและผลงานของผู้วายชนม์ ทั้งยังมีคำไว้อาลัยจากบุคคลต่างๆ ซึ่งสะท้อนถึงตัวตนผู้ตายรวมไว้ด้วย นอกจากนี้อาจมีการนำวรรณกรรม วรรณคดี บทความ ความรู้ในเรื่องต่างๆ และบทสวดมนต์ต่างๆ มาจัดพิมพ์ไว้ด้วย หนังสืออนุสรณ์งานศพจึงถือเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ สังคม วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ณ เวลานั้น

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์หนังสืออนุสรณ์งานศพ หรือหนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพของคนไทย จึงได้รวบรวมพร้อมจัดทำฐานข้อมูลเพื่อรองรับการค้นคว้าข้อมูล เพื่อให้หนังสืออนุสรณ์งานศพได้เผยแพร่และถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษามากขึ้น

การสร้างรายการบรรณานุกรมหนังสืออนุสรณ์งานศพ มีขั้นตอนดังนี้

Continue reading การสร้างรายการบรรณานุกรมหนังสืออนุสรณ์งานศพ

หนังสืออนุสรณ์งานศพวัดบวรนิเวศวิหาร

ห้องสมุดวัดบวรนิเวศวิหาร จัดตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497  โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ริเริ่ม และใช้ห้องโถงชั้นล่างของตำหนักล่างเป็นห้องสมุด ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2511  ได้ย้ายจากตำหนักล่างไปตั้งที่ชั้นล่างของตึก ภ.ป.ร. พร้อมทั้งปรับปรุงตู้หนังสือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ใหม่ ครั้งถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 นับเป็นวันครบรอบ 100 ปี วันประสูติแห่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์  ทางวัดและศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันจัดงานบำเพ็ญกุศลและจัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระองค์ท่าน ระหว่างวันที่ 21-27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และได้เปิดห้องสมุดหนังสืออนุสรณ์งานศพ โดยผู้ริเริ่มการจัดตั้งห้องสมุดหนังสืออนุสรณ์งานศพขึ้น คือ คุณนเรศ นโรปกรณ์  Continue reading หนังสืออนุสรณ์งานศพวัดบวรนิเวศวิหาร

วันวาน…สู่วันนี้ ของปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

20150808-Preedarat
คุณปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ  บรรณารักษ์ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็น 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน และเทคนิคการทำงานต่างๆ รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตอนเรียนมัธยม เริ่มเรียนทางสายวิทยาศาสตร์ ปริญญาตรี ก็สายวิทยาศาสตร์  โอนไปเรียนมหาวิทยาลัยเปิด เพราะต้องดูแลที่บ้าน จบบรรณารักษ์ประมาณปี 2520 ตอนนั้นไปรับจ้างทำงานที่สภาสตรีแห่งชาติฯ ได้ค่าแรงวันละ 50 บาท  ที่นี่เองทำให้ได้รู้จักกลุ่มคนในแวดวงคนดัง ได้เรียนรู้บุคลิกของแต่ละคน เป็นช่องทางให้รู้จักคนมากมาย ทำให้ซึมซับความเป็นผู้ใหญ่มาโดยไม่รู้ตัว   ตอนหลังไปสอบที่ท้บแก้ว (มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์) ทำงานที่ทับแก้ว 1 ปีหรือประมาณนี้ กลับมากรุงเทพฯ มาทำงานเป็น cataloger ภาษาอังกฤษ เพราะเก่งภาษา ทำภาษาอังกฤษมาเรื่อย ห้องสมุด ป๋วยฯ ห้องสมุดรังสิตแห่งแรก และห้องสมุดศูนย์ญี่ปุ่น แม่บ้านยามากูจิเขียนมา ก็มาแกะเป็นตัวภาษาอังกฤษ แล้วมาทำบัตร manual  ตัวเล่มอ่านไม่ออก ทำเสร็จส่งตัวเล่มส่งมาให้ทางโน้นให้บริการ เป็นการเริ่มในการตั้งห้องสมุดใหม่ทางรังสิต Continue reading วันวาน…สู่วันนี้ ของปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

การประมวลผลข้อมูลหนังสืออนุสรณ์งานศพ

มานึกๆ ดู Collection หนังสืองานศพ หรือ หนังสืออนุสรณ์งานศพ นอกเหนือจากใส่ข้อมูลเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงหนังสือแล้ว เช่น ชื่อผู้เสียชีวิต คำสำคัญที่เกี่ยวก้บเนื้อหาที่นำเสนอในหนังสือ ห้องสมุดมักจะลงคำว่า หนังสืออนุสรณ์งานศพ เอาไว้ด้วย เพื่อจะได้เป็นการรวม Collection หนังสือประเภทนี้เอาไว้ ในบางแห่งมีการเพิ่มชื่อเรื่อง โดยการลงว่า อนุสรณ์งานศพ แล้ววงเล็บต่อท้ายด้วยชื่อผู้เสียชีวิต ดังตัวอย่าง อนุสรณ์งานศพ (กลีบ มหิธร, ท่านผู้หญิง) เพื่อที่ว่าเมื่อค้นด้วยชื่อเรื่องว่า อนุสรณ์งานศพ (ด้วยประมาณเอาว่า ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงหนังสืองานศพ หรือหนังสืออนุสรณ์งานศพ น่าจะนึกถึงด้วยคำง่ายๆ และสั้นๆ ว่า อนุสรณ์งานศพ) หนังสืออนุสรณ์งานศพ จะแสดงผลออกมาทั้งหมดพร้อมชื่อผู้เสียชีวิต ดังตัวอย่าง

  • อนุสรณ์งานศพ (ก.ศ.ร. กุหลาบ)
  • อนุสรณ์งานศพ (ก.สุรางคนางค์)
  • อนุสรณ์งานศพ (กนก สามเสน, คุณหญิง)
  • อนุสรณ์งานศพ (กระเษียร ศรุตานนท์, พล.ต.อ.)
  • อนุสรณ์งานศพ (กล่อมจิตต์ พลายเวช)
  • อนุสรณ์งานศพ (โกวิท วรพิพัฒน์)
  • อนุสรณ์งานศพ (ขจร สุขพานิช)
  • อนุสรณ์งานศพ (ไข่มุกด์ ชูโต, คุณ)
  • อนุสรณ์งานศพ (คณิศร์ พุกกะณะสุต)
  • ฯลฯ

Continue reading การประมวลผลข้อมูลหนังสืออนุสรณ์งานศพ

ทางสงบ

หนังสือ เรื่องทางสงบ ทั้ง 3 เล่มนี้ เป็นสำนวนของ พระพรหมมุนี (ธมฺมสาร) วัดราชผาติการาม ท่านให้ชื่อว่าทางสงบทุกตอน โดยความหมายว่า พระธรรมนำทางให้ผู้ปฏิบัติดำเนินไปถึงความสงบ  มักได้รับการจัดพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์งานศพอยู่เสมอ ดังตัวอย่างหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ จัดพิมพ์ในปีต่างกัน กล่าวคือ

ทางสงบ 2513
                                                             ทางสงบ 2513

เล่มแรก เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก หลวงสรรค์สมบัติยุทธ (สรรค์ วินิจฉัยกุล) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 8 มิถุนายน 2513 เป็นธรรมเทศนาที่แสดงที่วัดราชผาติการามในวันธรรมสวนะ และวันอุโบสถ ในช่วงปี พ.ศ. 2509-2512 ประกอบด้วย พ้นกิเลสมาร หมดอยากดับร้อน ตั้งใจปฏิบัติธรรม ไหว้ครู หนีสงสาร ไม่เนิ่นช้า อาหารของนิวรน์ โทษของกาม จงละ รัก โลภ โกรธ หลง สันตบท บุคคลเทียบด้วยเมฆฝน 4 บุคคลเทียบด้วยอสรพิษ 4 ธรรมาวุธ อย่าจนใจ ทางพระนิพพาน กำแพง 7 ชั้น สงบได้เพราะไม่กังวล ความประณีต ความเป็นหนึ่ง Continue reading ทางสงบ

หนังสืออนุสรณ์งานศพ (เล่มแรก) ที่มี QR Code

ช่วงนี้ ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังผลักดันโครงการคลังหนังสืออนุสรณ์งานศพของไทย ผู้เขียนไปร่วมไว้อาลัยและได้รับหนังสืออนุสรณ์งานศพ ของคุณหมอ ทวีทอง กออนันตกูล ผู้เขียนได้เคยเป็นทีมงานเล็กๆ ที่ร่วมงานเครือข่ายห้องสมุดของคุณหมอ ที่คุณหมอตั้งใจช่วยให้ห้องสมุดของโรงพยาบาล ซึ่งไม่สามารถมีระบบห้องสมุดอัตโนมัติด้วยตนเอง ด้วยความที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เป็น admin หรือด้วยความที่งบประมาณในการต้องมีระบบห้องสมุดอัตโนมัติหรือเซิร์ฟเวอร์เองนั้น มีค่าใช้จ่ายสูง ในช่วงนั้นจะพบคุณหมอบ่อยๆ เพราะคุณหมอลงมือทำงานด้วยตนเอง ได้เรียนรู้แนวคิด และวิธีการทำงานจากคุณหมอหลายๆ อย่าง รวมทั้งคุณหมอก็เป็นห่วงสุขภาพของพวกเราอยู่เสมอๆ

คุณหมอทวีทอง  กออนันตกูล
คุณหมอทวีทอง กออนันตกูล

อ่านหนังสืองานศพของคุณหมอ สมกับเป็นบทเรียนความรู้จากผู้ล่วงลับ เพราะส่วนแรก เป็นประวัติและผลงาน ส่วนที่สอง เป็นบทความที่น่าสนใจ ประกอบด้วย UCHA ระบบฐานข้อมูลออนไลน์ใช้งานง่ายที่คุณหมอทวีทอง พัฒนาขึ้นเองและเผยแพร่ให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้เขียนใช้อยู่ค่ะ ชอบมาก สนใจติดตามได้ที่ http://ucha-db.com นอกจากนี้ มีบทความทางการแพทย์ได้แก่ หลอดลมพิการ อธิบายหลักการทำงานของหลอดลม ประวัติหน่วยตรวจหลอดลม ณ สถาบันโรคทรวงอก และความผิดปกติทางปอดชนิดใหม่ที่ทีมแพทย์สถาบันโรคทรวงอกเป็นผู้ค้นพบ (PALLADA)

แต่สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นว่าเป็นความก้าวหน้าอีกอย่างหนึ่งที่สอดแทรกอยู่ในหนังสืออนุสรณ์งานศพเล่มนี้ คือ มี QR Code เมื่อใช้สมาร์ทโฟนส่องจะเห็นข้อความดังนี้  (ข้อมูลใน QR code มีข้อมูลตาม link นี้ค่ะ http://kaewgb.com/tawetong/)

ประวัติ ผลงาน และรูป

20150716-tawetong

หนังสืออนุสรณ์งานศพของคุณหมอทวีทอง น่าจะเป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพเล่มแรกทีมี QR Code (เท่าที่ผู้เขียนเคยพบนะคะ) บันทึกผลงาน รูปภาพ กำหนดการต่างๆ อาจจะเป็นความคิดในการทำหนังสืออนุสรณ์งานศพแบบใหม่ต่อไปในอนาคต

ขอระลึกถึงคุณหมอทวึทอง กออนันตกูล ด้วยความเคารพยิ่ง

รายการอ้างอิง
ทวีทอง กออนันตกูล – สิ่งประดิษฐ์ ศูนย์ FOB และ ระบบ UCHA.  กรุงเทพฯ : บวรสารการพิมพ์, 2558.

สื่อสนใจ หนังสืออนุสรณ์งานศพ บทเรียนความรู้จากผู้ล่วงลับ สำนักหอสมุด มธ.

หลังจากที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นคลังหนังสืออนุสรณ์งานศพของไทยนั้น สื่อต่างๆ ให้ความสนใจในการขอสัมภาษณ์และถ่ายทำความสำคัญของหนังสืออนุสรณ์งานศพ อาทิ เช่น GMM   และ TPBS   ด้วย Theme ของการนำเสนอที่แตกต่างกัน คลิกเพื่อดูที่มาของบทเรียนความรู้จากผู้ล่วงลับได้ตาม link ที่แนบค่ะ

ทุกท่านสามารถบริจาคเพื่อร่วมสร้างคลังหนังสืองานศพ กับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ที่ 02-613-3544

ไทยพีบีเอสสนใจเสนอข่าวหนังสืองานศพ

Image

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา ทีมนักข่าวจากไทยพีบีเอส ได้มาเยี่ยมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ เพื่อนำเสนอข่าวเรื่องการรับบริจาคหนังสืออนุสรณ์งานศพ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยประเด็นที่ทางทีมงานไทยพีบีเอสสนใจคือการขั้นตอนการรับบริจาคและการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการก้าวไปสู่การเป็นคลังหนังสืออนุสรณ์งานศพของไทย  ซึ่งในการสัมภาษณ์ทำข่าวบุคคลให้ข่าวหลักของสำนักหอสมุด มีด้วยกัน 2 ท่าน คือ นางกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า หัวหน้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ และนางปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ บรรณารักษ์ สังกัดฝ่ายบริหารจัดทรัพยากรสารสนเทศ  นอกจากนั้น ยังได้ประสานไปยังผู้ที่บริจาคหนังสืออนุสรณ์งานศพให้กับสำนักหอสมุดด้วย บรรยากาศของการทำข่าวและสัมภาษณ์เป็นเหมือนการเล่าเรื่องราวและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติชีวิตบุคคลในความทรงจำและหนังสือที่ต่างมีความสนใจร่วมกัน

ส่วนใครที่สนใจติดตามข่าวหนังสืออนุสรณ์งานศพ ของสถานีไทยพีบีเอส ในวันพุธที่ 15 กรกฎาคม  2558 เวลา 19.55 น.  คลิกได้ที่นี่ ไทยบันเทิง

บทความที่เกี่ยวข้อง
GMM25 สนใจ หนังสืออนุสรณ์งานศพ
สำนักหอสมุด มธ. วางเป้าเป็นคลังหนังสืองานศพของไทย