NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus

หัวข้อเรื่อง NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus  บรรยายในการประชุม OCLC ครั้งที่ 6  วันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel        สาธารณรัฐเกาหลี กล่าวถึงพัฒนาการกำหนดหัวเรื่อง อรรถาภิธานศัพท์ภาษาเมารี บรรยายโดย Raewyn Paewai, Auckland Libraries and  Anne Reweti, Wellington City Libraries ประเทศนิวซีแลนด์

          CIMG2270

วิทยากรได้เริ่มต้นด้วยการร้องเพลงภาษาเมารี แล้วถึงเล่าเรื่องชนเผ่าเมารี ว่าป็นชาวพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์  ตั้งรกรากอยู่แถบแปซิฟิก โดยอพยพมาประมาณปี ค.ศ.1200 – 1400 มีการสืบทอดเรื่องเล่าจากปากต่อปาก  ข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางเพลง การตั้งชื่อสถานที่ และการท่องจำ จนกระทั่งมิชชันนารีเข้ามาในปลายปี ค.ศ. 1800  จึงเป็นผู้นำกระบวนการพิมพ์และสร้างภาษาเขียนให้

Koru เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างสรร โดยมีพื้นฐานจากรูปร่างของใบเฟิร์น ที่แสดงให้เห็นแนวคิดของการเคลื่อนไหวแบบไม่สิ้นสุด ชีวิตมีทั้งการเปลี่ยนแปลงและการอยู่กับที่เหมือนเดิม

1

โครงการกำหนดหัวเรื่อง อรรถาภิธานศัพท์ภาษาเมารีนี้มีความร่วมมือจาก 3 หน่วยงาน คือ

  1. Te Rōpū Whakahau ทำหน้าที่เป็นหน่วยรวบรวม (Collect)
  2. LIANZA ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงาน (Connect)
  3. National Library of New Zealand ทำหน้าที่เป็นหน่วยให้สามารถเข้าถึง และให้บริการ (Co-create)

2

บุคคลสำคัญที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จมี 5 ท่านซึ่งเสียชีวิตแล้ว คือ

  1. Miria Simpson
  2. Meri Mygind
  3. Robin Hakopa
  4. Hirini Melbourne
  5. Rangiriia Hedley

3

ความเป็นมา

4
สืบเนื่องจาก Kathie Irwin and Willis นักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ได้เขียนเอกสาร เรื่อง Māori People and the library, 1993  โดยเขียนถึงปัญหาในการไม่สามารถค้นข้อมูลเกี่ยวกับชาวเมารีได้ทั้งๆที่มีข้อมูลอยู่ในห้องสมุด

ทำให้ Chris Szekely บรรณารักษ์ ห้องสมุด Alexander Turnbull สนใจศึกษาบทบาทของห้องสมุดโดยเขียน The Te Ara Tika reports of 1993, and 1997 – Māori and libraries และ a bicultural report, 1994 , Ka mahi tonu, on biculturalism in NZ librarianship.

ในปี ค.ศ. 1988 ได้มีการจัดประชุมเรื่อง Māori Subject Headings ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Waikato  ซึ่งมีส่วนผลักดันในการพัฒนา Māori Subject Headings และในปี ค.ศ.2005 ได้มีการกำหนดเขตข้อมูลใน MARC Standards Office of L.C.

13

16

17

ต่อมาในปี ค.ศ.2004 Sally Simpson ได้เขียนหนังสือเรื่อง Te Ara Tika : Guiding words ซึ่งช่วยในการสืบค้นข้อมูลเมารี

ในปี ค.ศ.2005 จึงได้มีการตั้งคณะทำงานศึกษา Māori Subjects Heading และมีการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชาวเมารีในการเข้าถึงข้อมูลเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลปี ค.ศ. 2013 ประชากรนิวซีแลนด์ เป็นชาวเมารี  จำนวน 598,605 คน ซึ่งเพิ่มขึ้น 5.9%จากปี ค.ศ.2006 โดยประชากรนิวซีแลนด์ 7 คน จะเป็นชาวเมารี 1 คน  อายุของชาวเมารีเฉลี่ย    24 ปี ในขณะที่ 36,000 คน จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า รวมทั้งนักเรียนชาวเมารี   จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จาก Māori Subjects Heading

18

นอกจากนี้ได้มีการเขียนหนังสือ ชื่อ Te Rautaki Reo Māori Māori Language Strategy 2014  โดยการตั้งเป้าไว้ว่าในปี ค.ศ. 2028 จะมีการใช้ภาษาเมารีกันอย่างแพร่หลายด้วย

20

รายการอ้างอิง

Paewai, R., & Reweti, A.  (2014). NGA ŪPOKO       TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus.  (Slide).