Tag Archives: การกำหนดหัวเรื่อง

หัวเรื่องทางการแพทย์

หัวเรื่องทางการแพทย์

หัวเรื่องทางการเเพทย์ หรือ Medical Subject Headings (MeSH) เป็นคู่มือที่ใช้ในการกำหนดหัวเรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การแพทย์
และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จัดทำขึ้นโดย หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (The National Library of Medicine)

Continue reading หัวเรื่องทางการแพทย์

การใช้หัวเรื่องย่อยในหัวเรื่องทางการแพทย์

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางการแพทย์เข้าห้องสมุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทางฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศจึงกำหนดหัวเรื่องเฉพาะสำหรับทรัพยากรฯทางการแพทย์ เพื่อให้หัวเรื่องที่ครอบคลุมและตรงกับเนื้อหาของทรัพยากรมากที่สุด โดยใช้หัวเรื่องของLC (Library of Congress) และNLM (National Library of Medicine)  ถ้าเนื้อหาส่วนใหญ่ของทรัพยากรเป็นทางด้านสังคมศาสตร์จะให้หัวเรื่อง LC แต่ถ้าเนื้อหาเป็นทางแพทยศาสตร์จะให้หัวเรื่อง NLM
สำหรับหัวเรื่องทางการแพทย์NLM ที่หอสมุดใช้อยู่ในปัจจุบัน มีกฎการให้หัวเรื่องย่อยกลุ่มบุคคลและชื่อภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการให้หัวเรื่องทางการแพทย์แก่บรรณารักษ์ ดังต่อไปนี้

Continue reading การใช้หัวเรื่องย่อยในหัวเรื่องทางการแพทย์

การพิมพ์หัวเรื่องใหม่ภาษาไทยเข้าฐานข้อมูลหัวเรื่อง (Headin)

ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย (Headin) เป็นฐานข้อมูลหัวเรื่องสำหรับทรัพยากรสารนิเทศภาษาไทย ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโดยฝ่ายวิเคราะห์วัสดุสารนิเทศ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรม WINISIS  หรือ CDS/ISIS จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของฝ่ายฯ และการบริการของสำนักหอสมุด ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งสามารถสืบค้นฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยได้ทางอินเตอร์เน็ตจาก   http://203.131.219.181/heading/index.html  การให้เลขหมู่หนังสือแต่ละเล่มของบรรณารักษ์ ซึ่งต้องสัมพันธ์กับหัวเรื่องภาษาไทย บางเล่มก็มีหัวเรื่องที่สร้างแล้ว สามารถเช็คดูในฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยได้ แต่ถ้าบางเล่มยังไม่มีหัวเรื่องใหม่ก็ต้องกำหนดหัวเรื่องใหม่ก่อนเพื่อสร้างเก็บไว้ใช้ในฐานข้อมูลหัวเรื่อง โดยบรรณารักษ์จะกำหนดหัวเรื่องใหม่แล้วนำไปเรียงที่กล่องรอพิมพ์หัวเรื่อง จากนั้นในแต่ละเดือนเจ้าหน้าที่จะนำบัตรหัวเรื่องใหม่ไปบันทึกในฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้ Continue reading การพิมพ์หัวเรื่องใหม่ภาษาไทยเข้าฐานข้อมูลหัวเรื่อง (Headin)

FAST กับยุคใหม่ของ Cataloger (ตอนที่ 1)

FAST ย่อมาจาก Faceted Application of Subject Terminology เห็นจากชื่อ น่าจะพอเดาได้ว่า น่าจะเกี่ยวกับ หัวเรื่อง คำศัพท์ แน่ๆ OCLC กำลังพัฒนา FAST ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เป็นหัวเรื่อง เพื่อให้ใช้กับสารสนเทศบนเว็บ โดยอยู่บนพื้นฐานของ หัวเรื่องหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LSCH) แต่ทำเพื่อให้ใช้ได้ง่ายกว่า

ถ้าผ่านการเรียนบรรณารักษ์มาน่าจะจำได้ว่า มีระบบ Faceted Classification เป็นการจัดหมวดหมู่แบบแยกสังเคราะห์ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ทุกแง่มุม เลยอนุมานจากชื่อก่อนว่า น่าจะเป็นการพัฒนาหัวเรื่องให้มีคำที่มีทุกแง่มุม หรือละเอียดมากขึ้น แต่ใช้ง่ายกว่าเดิม คงต้องติดตามต่อไปว่า FAST มีวิธีการอย่างไร เป็นแบบชื่อระบบ Faceted หรือไม่

OCLC วางแผนไว้ว่า FAST นี้ ช่วยให้ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานวิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรม พูดง่ายๆ ว่า ไม่ใช่บรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรม หรือพูดให้ง่ายๆ อีกว่าไม่ใช่บรรณารักษ์น่ะ หรือไม่มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์การลงรายการ สามารถนำ FAST ไปใช้ได้ในการหาสารสนเทศได้ เพราะถ้าเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรม เหล่าบรรณารักษ์งานนี้จะรู้จักแต่คำศัพท์ควบคุม แล้วใครที่ไหนจะสามารถทำได้ แม้ว่าแนวคิดในการให้หัวเรื่องควรจะเปลี่ยนแล้วก็ตาม แต่บรรณารักษ์กลุ่มงานนี้จะยังไม่เปลี่ยน หรืออีกเหตุผลหนึ่งของการพัฒนา FAST ก็คือหัวเรื่องที่ใช้อยู่เดิม ไม่พอกับสารสนเทศที่โตขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงเรื่องการขาดฟังก์ชั่นในเรื่องของระบบการจัดการเนื้อหา (Content management systems) กับหัวเรื่องของ LCSH มีการพูดถึงกันมากว่า ควรมีการทำงานข้ามระบบสารสนเทศกัน (รวมทั้งระบบที่ไม่ใช่ มาร์ค) นี่ก็น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็น FAST และที่สำคัญ FAST ใช้เป็น Linked data ได้ Continue reading FAST กับยุคใหม่ของ Cataloger (ตอนที่ 1)

NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus

หัวข้อเรื่อง NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus  บรรยายในการประชุม OCLC ครั้งที่ 6  วันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel        สาธารณรัฐเกาหลี กล่าวถึงพัฒนาการกำหนดหัวเรื่อง อรรถาภิธานศัพท์ภาษาเมารี บรรยายโดย Raewyn Paewai, Auckland Libraries and  Anne Reweti, Wellington City Libraries ประเทศนิวซีแลนด์

          CIMG2270

วิทยากรได้เริ่มต้นด้วยการร้องเพลงภาษาเมารี แล้วถึงเล่าเรื่องชนเผ่าเมารี ว่าป็นชาวพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์  ตั้งรกรากอยู่แถบแปซิฟิก โดยอพยพมาประมาณปี ค.ศ.1200 – 1400 มีการสืบทอดเรื่องเล่าจากปากต่อปาก  ข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางเพลง การตั้งชื่อสถานที่ และการท่องจำ จนกระทั่งมิชชันนารีเข้ามาในปลายปี ค.ศ. 1800  จึงเป็นผู้นำกระบวนการพิมพ์และสร้างภาษาเขียนให้

Koru เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างสรร โดยมีพื้นฐานจากรูปร่างของใบเฟิร์น ที่แสดงให้เห็นแนวคิดของการเคลื่อนไหวแบบไม่สิ้นสุด ชีวิตมีทั้งการเปลี่ยนแปลงและการอยู่กับที่เหมือนเดิม

1

Continue reading NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติเรื่องการกำหนดหัวเรื่อง การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทย การกำหนดเลขหมู่ เขตข้อมูลที่ใช้ลงรายการทางบรรณานุกรมแก่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในงานจัดการข้อมูลให้มีความเข้าใจและมีแนวปฏิบัติในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

เนื้อหาของแนวปฏิบัติ