All posts by นางสาวจุฑาทิพย์ โอสนานนท์

การกำหนดอายุสมาชิก / การต่ออายุสมาชิกบัตรห้องสมุด มธ.

การกำหนดอายุสมาชิก / การต่ออายุสมาชิก

เนื่องจากเมื่อเปิดภาคการศึกษาทุกเทอม  ห้องสมุดจะพบว่าบัตรนักศึกษาหมดอายุ  อาจเนื่องจากมาจาก ไม่ได้จ่ายค่าบำรุงห้องสมุด เพราะไม่ได้ลงทะเบียนเรียน  ลาพักการศึกษา รักษาสถานภาพ  หรือ ลงทะเบียนเสียค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่ายซึ่งกรณีนี้การต่ออายุจะต่อให้ 1 ภาคการศึกษา

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานยืม-คืนทราบขั้นตอนการต่ออายุบัตรสมาชิก  จึงขอให้ดำเนินการ ดังนี้

Continue reading การกำหนดอายุสมาชิก / การต่ออายุสมาชิกบัตรห้องสมุด มธ.

ผู้บริหารจาก University Malaysia Sabah (UMS) ประเทศมาเลเซียผู้บริหารจาก University Malaysia Sabah (UMS) ประเทศมาเลเซีย รวม 6 คน มาเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ. ท่าพระจันทร์

นพุธที่ 26 ต.ค. 2559 เวลา 11.20-11.500 น. ผู้บริหารจาก University Malaysia Sabah (UMS)  ประเทศมาเลเซีย  รวม 6 คน มาเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดย นางกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า หัวหน้าหอสมุดปรีดีฯ  นางสาวสุมนา วัสสระ และนางสาวจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ให้การต้อนรับ และนำชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์

Continue reading ผู้บริหารจาก University Malaysia Sabah (UMS) ประเทศมาเลเซียผู้บริหารจาก University Malaysia Sabah (UMS) ประเทศมาเลเซีย รวม 6 คน มาเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ. ท่าพระจันทร์

3Cs to learning: The Thammasat University Libraries experience

 

srichan_chancheewa

ตามที่ IATUL มีกำหนดจะจัดการประชุม  36th Annual IATUL Conference เรื่อง “Strategic Partnerships for Access and Discovery” และได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้บริหาร กว่า 40 คน จากห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย และประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการให้บริการสารสนเทศ ในวันที่ 5-9 กรกฎาคม 2558 ณ เมือง Hannover ประเทศเยอรมนี

ในการนี้นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมและจะนำเสนอเรื่อง “3Cs to learning: The Thammasat University Libraries Experience” ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 ซึ่งบทคัดย่อของบทความได้เผยแพร่ที่หน้าเว็บไซต์ http://www.iatulconference2015.org/programme/abstracts-presenters   ดังนี้

One mission of the Thammasat University Libraries is to make information accessible to all. The policy known as 3Cs to Learning supports this goal, focusing on correctness, connectivity, and collaboration. We will discuss the 3Cs concept at Thammasat University in terms of the innovative plagiarism software MyCat, an application for checking duplicates in student dissertations, theses, and reports as well as staff papers. Correctly checking Thai script is a key requirement in this cutting-edge product, since the Thai language has its own characters and has not been as globalized as other major languages.

Continue reading 3Cs to learning: The Thammasat University Libraries experience

คณะบรรณารักษ์จากประเทศกัมพูชา เยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ และอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์

 

1434847104905                  IMG_6807

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 2558 นางสาวจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ รองผู้อำนวยการสายบริการและส่งเสริมการเรียนรู้และบรรณารักษ์ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด ให้การต้อนรับ และพาเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แก่ Ms. Mao Kolap Vice President Cambodian Librarians and Documentalists Association (CLDA) และ Library Director Pannasastra University of Cambodia และคณะ  รวมทั้งให้การบรรยายการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha โดย ดร.พงศ์ธวัช ชีพพิมลชัย และนางสาวนีลวัสน์ อินทรักษา จากบริษัทปันสารเอเชีย  นอกจากนี้นางสาวกนกวรรณ บัวงามให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  และอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในวันเดียวกันด้วย

20150615_171404

คณะบรรณารักษ์ Forum of University Libraries in East Java, Indonesia (FPPTI) เยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์

20150611_125657

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2558 นางสาวจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ รองผู้อำนวยการสายบริการและส่งเสริมการเรียนรู้และบรรณารักษ์ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แก่ Mrs. Munawaroh และคณะบรรณารักษ์ Forum of University Libraries in East Java, Indonesia  (FPPTI)

20150611_122502

20150611_122640

20150611_122458

 

เปิดตัวบริการ Book Suggestion โฉมใหม่

จะบอกกล่าวว่า  เร็วๆ นี้สำนักหอสมุดจะเปิดตัวบริการ Book Suggestion ใหม่ แทนหน้าจอ Book Suggestion เดิม ผู้ที่จะแนะนำได้จะต้อง login เข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ด้วย Library Card Number และ Password ที่ใช้ในการดูข้อมูลหนังสือที่ยืม

ขั้นตอนการแนะนำหนังสือ มี ดังนี้

  1. เข้าไปที่ URL http://koha.library.tu.ac.th จะปรากฏหน้าจอ ให้กรอกข้อมูลในช่อง Library Card Number และ Password

Continue reading เปิดตัวบริการ Book Suggestion โฉมใหม่

ขั้นตอนการตั้งค่าให้แสดงผลภาษาไทยในการ export ข้อมูลบรรณานุกรมเข้าโปรแกรม Zotero

 เนื่องจากได้รับคำถามจากผู้ใช้บริการว่า เมื่อ export ข้อมูลจากหน้าจอสืบค้น Library Catalog ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha  ที่สำนักหอสมุดได้ให้บริการขณะนี้นั้น  พบว่า ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้   วันนี้ผู้เขียนจึงขอมาบอกกล่าวถึงขั้นตอนการแก้ไขกัน  แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงขั้นตอนนั้น ขอให้คำอธิบายเกี่ยวกับ Zotero ก่อน ดังนี้

ZOTERO เป็นโปรแกรมจัดการทางบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า “Reference management” เหมือนกับ Endnote และ Reference Manager พัฒนาโดย Center for History and New Media , George Mason University โดย ได้รับเงินสนับสนุนจาก United States Institute of Museum and Library Services, the Andrew W. Mellon Foundation และ The Alfred P. Sloan Foundation  เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ ใช้งานร่วมกับบราวเซอร์ Firefox และ Flock สำหรับการจัดเก็บรายการบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง และสาระสังเขป รูปภาพ แหล่งที่มาซึ่งอาจเป็นเอกสารชนิดต่างๆ ที่เป็นรายการอ้างอิง เช่น ไฟล์ PDF, รูปภาพ โปรแกรมสามารถสืบค้นมาจากแหล่งต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลห้องสมุด ฯลฯ

สำหรับขั้นตอนการตั้งค่าให้แสดงผลภาษาไทย ในการ export ข้อมูลเข้าโปรแกรม Zotero มีดังนี้

Continue reading ขั้นตอนการตั้งค่าให้แสดงผลภาษาไทยในการ export ข้อมูลบรรณานุกรมเข้าโปรแกรม Zotero

กิจกรรม CoP Training the Trainers ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 9.00-12.00 น. ชุมชนนักปฏิบัติ CoP Training the Trainers ได้จัดกิจกรรมครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมกลุ่มย่อย  (Study Room 7) อาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีกิจกรรมในช่วงแรกเป็นการให้มาพูดนำเสนอ โดยคุณจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ แล้วมีการอัดวีดิทัศน์ เพื่อมาฉายให้ทั้งผู้พูดดู และให้สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติได้ช่วยกันให้ความเห็น ตลอดจนคุณสุภาพร ประธานกลุ่มได้ให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงบทบาทในการเป็นวิทยากรที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเป็นวิทยากรมากๆ

 

IMG_138860907346655

นอกจากนี้มีกิจกรรมให้ทุกคนได้พูด รวมทั้งมีการให้ออกมาแสดงบทในหลายสถานการณ์ เช่น การพูดชักจูงให้ออกกำลังกาย โดยคุณปทุมทิพย์ และคุณวันเพ็ญ ตุ้มเขียว

20141126_113108       20141126_112953

20141126_112903       20141126_112737

20141126_112720

การเป็นพิธีกรสัมภาษณ์บุคลากรดีเด่น โดยคุณเจนจิรา อาบสีนาค  และคุณพรพิมล  ช่างไม้

Continue reading กิจกรรม CoP Training the Trainers ครั้งที่ 2

NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus

หัวข้อเรื่อง NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus  บรรยายในการประชุม OCLC ครั้งที่ 6  วันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel        สาธารณรัฐเกาหลี กล่าวถึงพัฒนาการกำหนดหัวเรื่อง อรรถาภิธานศัพท์ภาษาเมารี บรรยายโดย Raewyn Paewai, Auckland Libraries and  Anne Reweti, Wellington City Libraries ประเทศนิวซีแลนด์

          CIMG2270

วิทยากรได้เริ่มต้นด้วยการร้องเพลงภาษาเมารี แล้วถึงเล่าเรื่องชนเผ่าเมารี ว่าป็นชาวพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์  ตั้งรกรากอยู่แถบแปซิฟิก โดยอพยพมาประมาณปี ค.ศ.1200 – 1400 มีการสืบทอดเรื่องเล่าจากปากต่อปาก  ข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางเพลง การตั้งชื่อสถานที่ และการท่องจำ จนกระทั่งมิชชันนารีเข้ามาในปลายปี ค.ศ. 1800  จึงเป็นผู้นำกระบวนการพิมพ์และสร้างภาษาเขียนให้

Koru เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างสรร โดยมีพื้นฐานจากรูปร่างของใบเฟิร์น ที่แสดงให้เห็นแนวคิดของการเคลื่อนไหวแบบไม่สิ้นสุด ชีวิตมีทั้งการเปลี่ยนแปลงและการอยู่กับที่เหมือนเดิม

1

Continue reading NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus

พูดอย่างมั่นใจ ต้องใช้ Keyword ไม่ยาก ( Easy guide : speak like professional by keyword technique)

หนังสือเรื่อง พูดอย่างมั่นใจ ต้องใช้ Keyword ไม่ยาก

( Easy guide : speak like professional by keyword technique)

เขียน โดย ทวีวรรณ กมลบุตร

book

เป็นหนังสือที่อ่านสบายๆ ได้แนวทางในการพูด โดยการแนะนำการใช้  keyword ให้สื่อถึงเรื่องที่พูด  เข้าใจ และจดจำง่าย อาทิ เช่น พูดเรื่องเกี่ยวกับการบริการ จะมีส่วนของ Intro, Body และ Conclusion ดังนี้

Intro     ตั้งหัวข้อก่อน เช่น “สร้างรอยยิ้ม เพิ่มเสน่ห์บริการ”
Body    คิดคำ Keyword ก่อน แล้วค่อยขยาย เช่น
ยิ้มแย้ม           == ยิ้มต้อนรับ ทักทาย ยินดีที่ได้พบลูกค้า
ยืดหยุ่น          == ยืดหยุ่นการทำงาน บริการได้ทุกสถานการณ์
ยอดเยี่ยม      == ยอดเยี่ยมด้วยการพูด ดูแล เอาใจใส่ สร้าง                                                                      ความประทับใจทุกจุดสัมผัสบริการ                          Conclusion   การสรุป   เช่น “สร้างความประทับใจ ทุกจุดสัมผัสบริการ”

นอกจากนี้ผู้เขียนยังแนะนำการลดการตื่นเต้น สั่น และอื่นๆอีก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของครั้งแรกในการพูด   รวมทั้งการใช้น้ำเสียง การใช้ภาษาตา การใช้ภาษามือ การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้คำถาม การเตรียมตัวก่อนพูด
การเตรียมพร้อมข้อมูลสำหรับคำถาม ฯลฯ ติดตามอ่านได้จากห้องสมุดนะคะ Call no. LANG&LIT PN 2013 632792