มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 1)

เนื่องจากไม่มีใครที่จะอ่านได้หมดทุกสิ่งอย่าง จึงทำให้เรายอมรับหรือมีความเชื่อมั่นกับการกรองผลงานทางวิชาการ ด้วยค่าการวัดคุณภาพ เช่น Impact factor, h-index, ค่า Citation ฯลฯ แต่ด้วยการเติบโตของเครื่องมือใหม่ๆ ทางออนไลน์ ทำให้มีตัวกรองใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการกรองหรือการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เป็นทางเลือก (Alternative metrics) หรือ Altmetrics เพราะ Altmetrics เป็นการวัดจำนวนที่ได้รับจากผู้อ่านด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จำนวนการดูบทความ, จำนวนดาวน์โหลด, การ Tweet, การ post ขึ้น blog, การกด Likes, การกด Shares, การ Discussed, การ Cited เป็นต้น Altmetrics น่าจะเป็นตัววัดความนิยมของผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เสริมกับการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัยแบบเดิม

Altmetrics เป็นการวัดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงข้อมูลปราฎในวันเดียวหรือสัปดาห์ แทนที่จะเป็นปีกว่าจะมีการอ้างอิงถึงผลงาน อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บรรณารักษ์ และสำนักพิมพ์ จึงเริ่มที่จะคุยกันถึงการใช้ประโยชน์ altmetrics และใช้อย่างไรกับการประเมินการมีส่วนร่วมทางวิชาการของนักวิจัย ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกหรือช่วยสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งนักวิจัย (นักศึกษา และคณาจารย์) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย

บรรณารักษ์เป็นผู้ที่ต้องสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

รายการอ้างอิง:

Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 from http://crln.acrl.org/content/74/6/292.long

Priem J., Taraborelli D., Groth P., Neylon C., “Alt-metrics: A manifesto,”  Retrieved 14112014 from http://altmetrics.org/manifesto/