Tag Archives: Social media

ผลกระทบจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค

images

คำว่า “ผลกระทบ” สำหรับผู้เขียนนั้น ความหมายคือ โซเชียลอาจเกิดข้อเสียกับคนที่บริโภคโซเชียลเกินขอบเขตมากไป บางครั้งอาจทำให้มีผลกระทบในการปฎิบัติงานโดยไม่รู้ตัว อาจทำให้มีผลกับประสิทธิภาพของงานก็เป็นได้ หรือกระทบกับเรื่องอื่นๆ เรามาดูวิธีการในการบริโภคโซเชียล อย่างมีสติกันคะ (กรณีนี้เราจะพูดถึงคนที่อยู่ในวัยทำงานแล้วนะคะ) Continue reading ผลกระทบจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค

การใช้คอนเทนต์ในแต่ละ GEN

BuzzStream และ Fractl ได้สำรวจคนมากกว่า 1,200 คนจาก 3 generation คือ กลุ่ม Millennials (คนที่เกิดในช่วงปี 1981-1997) Gen X (คนที่เกิดในช่วงปี 1965-1980) และ Baby Boomers (คนที่เกิดช่วงปี 1946-1964) ผลบางส่วนเป็นดังนี้ค่ะ

1. ไม่น่าเชื่อเลยว่า คนยุค Baby Boomers ให้เวลาในการใช้คอนเทนต์ออนไลน์มากกว่า คนกลุ่ม Gen X และ Gen Y ซะอีก ร่วมๆ 25 ชั่วโมง

2. กลุ่ม Gen Y จะใช้คอนเทนต์ผ่าน mobile มากถึง 52 เปอร์เซ็นต์

3. เนื้อหาที่อ่านทุกกลุ่มอ่านมาก คือ บทความจากบล็อก รูปภาพ และคอมเมนต์

4. Platform ที่ใช้ในการแชร์มากที่สุด คือ Facebook และ YouTube

ติดตามผลการสำรวจในหัวข้ออื่น ได้ที่ http://www.socialmediatoday.com/marketing/2015-05-11/generational-content-gap-how-different-generations-consume-content-online

รายการอ้างอิง
Irfan Ahmad. The Generational Content Gap: How Different Generations Consume Content Online [INFOGRAPHIC]. Retrieved 10 June 2015 from http://www.socialmediatoday.com/marketing/2015-05-11/generational-content-gap-how-different-generations-consume-content-online

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 3)

เนื่องจาก มีความสนใจในเรื่องของการใช้ altmetric มากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือขึ้นมาหลายๆ ตัว ในตอนนี้ จะกล่าวถึง เครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่สามารถนำมาใช้ในการทำ altmetric แต่จะขอกล่าวเฉพาะที่เป็นตัวใหม่ๆ และที่มีการพัฒนามาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

1. Plum Analytics (http://www.plumanalytics.com/about.html) เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วย APIs (Application Programming Interfaces) จากหลายแหล่งรวมทั้ง Blog, Twitter และแหล่งข้อมูลที่เป็น open access ทั้งหลาย เช่น PloS, Public Library of Science, data repositories, code source repositories (เช่น GitHub) scholarly social
bookmarking sites เช่น Mendeley, CiteULike และการนำเสนอผ่าน SlideShare เป็นต้น

Plum Analytics
                                                                                  Plum Analytics

Continue reading มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 3)

เด็กกับการใช้โซเชียลมีเดีย

จากเว็บไซต์ Knowthenet มีการศึกษา The Social Age โดยการศึกษาผู้ปกครองจำนวน 2000 คนและเด็กที่มีอายุระหว่าง 8-16 ปี ว่าเด็กๆ ใช้อะไรในออนไลน์ และผู้ปกครองรู้หรือไม่ว่าเด็กๆ เล่นอะไรอยู่บ้าง ผลการศึกษา พบว่า Continue reading เด็กกับการใช้โซเชียลมีเดีย

คิดเยอะๆ ก่อนโพสต์

ศรีดา ตันทะอธิพานิช ผู้จัดการมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ออกมาเผยด้วยความเป็นห่วงว่า “ผู้หญิงอาจคิดว่ารูปที่โพสต์ไม่โป๊เพราะแต่งตามแฟชั่น แต่ทุกสังคมมีคนที่ไม่หวังดีอยู่ ซึ่งเมื่อเขาเห็นว่า รูปนี้สวย บุคลิกนี้ใช้ได้ ก็นำมาตัดต่อเป็นรูปโป๊เปลือยแล้วนำไปโพสต์ในเว็บขายตัว หรือบางคนไม่ได้ตัดต่อ แต่นำมาใช้ทั้งรูป ตั้งเฟซบุ๊กปลอม ใส่สัดส่วน ราคาขายตัว ระบุละเอียดถึงขั้นว่า ค้างคืน หรือชั่วคราว” ติดตามอ่านได้ที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424147684

รูปภาพสรุปเหตุการณ์ที่น่าประทับใจในปี 2014 บนเฟซบุ๊ก (Facebook 2014 year in review)

หลายคนอาจจะเห็นเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กแบ่งปันรูปภาพสรุปเหตุการณ์ที่น่าประทับใจในปี 2014 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ “ปีนี้ของ (ชื่อเพื่อน)” พร้อมกับข้อความที่ว่า “ปีที่ผ่านมายอดเยี่ยมมาก! ขอบคุณที่เป็นส่วนหนึ่งของเวลาดีๆ นี้” (It’s been a great year! Thanks for being a part of it.)

Facebook Year in Review 2014 นี้จะนำเสนอเป็นรูปภาพของเหตุการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง ของเดือนต่างๆ ในปี 2014 และเราสามารถปรับแต่งและแบ่งปันหน้านี้บนไทมไลน์ได้ง่ายๆ

23-12-2557 11-58-50เว็บไซต์ Zcooby ได้แนะนำวิธีการทำ Facebook 2014 Year in Review ซึ่งเป็นการสรุปเหตุการณ์ที่น่าประทับใจของคุณบนเฟซบุ้คในปี 2557 ดังนี้

1. ให้เราทำการเข้าสู่ระบบของ Facebook ก่อน (บนมือถือหรือคอมพิวเตอร์ก็ได้) จากนั้นให้ไปที่ลิงก์ https://www.facebook.com/yearinreview

2. เมื่อคลิกที่ลิงก์ ระบบจะพามายังหน้าการสร้างและปรับแต่ง 2014 Year in Review ของเรา โดยเราสามารถเปลี่ยนธีม, หัวข้อ, คำอธิบาย หรือรูปภาพที่เราต้องการให้แสดงได้ หรือหากเราพอใจรูปภาพที่ระบบสร้างขึ้นมา เราก็สามารถคลิ้กที่ปุ่มแชร์ (Share) เพื่อให้หน้านี้ไปแสดงบนหน้า feed ของเราได้ในคลิกเดียว

อย่าลืมมาสร้างสรุปเหตุการณ์ที่ประทับใจของคุณก่อนสิ้นปีนี้นะค่ะ

การประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วยสื่อออนไลน์

การประชุมวิชาการ เรื่อง คิดเพื่อสร้างสรรค์การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด (CREATIVITY in Library PR) โดย ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา
วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุมสำนักบรรณสารการพัฒนา ชั้น 6 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ปัจจุบันนี้โลกเต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เทคโนโลยี่การสื่อสารการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดโลกทั้งใบเชื่อมถึงกันได้อย่างเสรี บทบาทของห้องสมุดต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ให้ทันกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเพราะห้องสมุดเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรมากมายและหลากหลายรูปแบบ อาทิ สิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ รูปแบบเว็บเบส และ Application บนอุปกรณ์โมบาย ทำให้การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและบริการของห้องสมุดต้องปรับเปลี่ยนไป เพราะผู้ที่มาใช้บริการของห้องสมุดไม่ได้เป็นกลุ่มเดิมอีกต่อไป แต่ทุกคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องล้วนแต่มีโอกาสเป็นผู้ใช้บริการได้ทั้งสิ้น

Continue reading การประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วยสื่อออนไลน์

ถ้าดังก็ต้องดังซะให้เข็ด

จากหัวข้อสัมมนา “ดังซะให้เข็ด Digital Stand out” การสร้างแบรนด์โลกออนไลน์ดังข้ามคืน  ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2557 ณ ฮอลล์ 5 เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะฮอลล์ โดยมี 5 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอดในธุรกิจและโลกออนไลน์ ทำให้เข้าใจว่า ความดัง มีประโยชน์  และถ้าจะดัง ก็ต้องดังซะให้เข็ดเพราะเมื่อเราดังแล้วจะมีคนหลายล้านคนได้ยิน

banner

Continue reading ถ้าดังก็ต้องดังซะให้เข็ด

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 2)

ในบทความตอนที่ 1 ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้สนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

ดังนั้น บรรณารักษ์จึงต้อง:

  1. การศึกษาวรรณกรรม บรรณารักษ์ควรทำความรู้จักกับ altmetrics ด้วย วรรณกรรมต่างๆ  เช่น- SPARC report เช่น Article-level metrics primer ซึ่งเป็น การวัดในระดับบทความ (article-level metrics)
    – Altmetrics: Rethinking the Way We Measure
    – Introduction Altmetrics: What, Why and Where?
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง How libraries can empower scholars (and scholarly communication) through altemetrics โดย Heather Piwowar
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง Altmetrics are here: are you ready to help your faculty? โดย Stacy Konkiel
    17 More Essential Altmetrics Resources (the Library Version)
    –  Altmetrics in the wild: Using social media to explore scholarly impact
    Can Tweets Predict Citations? Metrics of Social Impact Based on Twitter and Correlation with Traditional Metrics of Scientific Impact
    Prevalence and use of Twitter among scholars
    Clickstream Data Yields High-Resolution Maps of Science
    Altmetrics Collection (PLOS Collections)
    – เข้าไป join กับ Altmetrics Mendeley groupฯลฯรายการอ้างอิง:

    Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 fromhttp://crln.acrl.org/content/74/6/292.long

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 1)

เนื่องจากไม่มีใครที่จะอ่านได้หมดทุกสิ่งอย่าง จึงทำให้เรายอมรับหรือมีความเชื่อมั่นกับการกรองผลงานทางวิชาการ ด้วยค่าการวัดคุณภาพ เช่น Impact factor, h-index, ค่า Citation ฯลฯ แต่ด้วยการเติบโตของเครื่องมือใหม่ๆ ทางออนไลน์ ทำให้มีตัวกรองใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการกรองหรือการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เป็นทางเลือก (Alternative metrics) หรือ Altmetrics เพราะ Altmetrics เป็นการวัดจำนวนที่ได้รับจากผู้อ่านด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จำนวนการดูบทความ, จำนวนดาวน์โหลด, การ Tweet, การ post ขึ้น blog, การกด Likes, การกด Shares, การ Discussed, การ Cited เป็นต้น Altmetrics น่าจะเป็นตัววัดความนิยมของผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เสริมกับการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัยแบบเดิม

Altmetrics เป็นการวัดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงข้อมูลปราฎในวันเดียวหรือสัปดาห์ แทนที่จะเป็นปีกว่าจะมีการอ้างอิงถึงผลงาน อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บรรณารักษ์ และสำนักพิมพ์ จึงเริ่มที่จะคุยกันถึงการใช้ประโยชน์ altmetrics และใช้อย่างไรกับการประเมินการมีส่วนร่วมทางวิชาการของนักวิจัย ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกหรือช่วยสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งนักวิจัย (นักศึกษา และคณาจารย์) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย

บรรณารักษ์เป็นผู้ที่ต้องสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

รายการอ้างอิง:

Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 from http://crln.acrl.org/content/74/6/292.long

Priem J., Taraborelli D., Groth P., Neylon C., “Alt-metrics: A manifesto,”  Retrieved 14112014 from http://altmetrics.org/manifesto/