Tag Archives: ผลงานทางวิชาการ

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 3)

เนื่องจาก มีความสนใจในเรื่องของการใช้ altmetric มากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือขึ้นมาหลายๆ ตัว ในตอนนี้ จะกล่าวถึง เครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่สามารถนำมาใช้ในการทำ altmetric แต่จะขอกล่าวเฉพาะที่เป็นตัวใหม่ๆ และที่มีการพัฒนามาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

1. Plum Analytics (http://www.plumanalytics.com/about.html) เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วย APIs (Application Programming Interfaces) จากหลายแหล่งรวมทั้ง Blog, Twitter และแหล่งข้อมูลที่เป็น open access ทั้งหลาย เช่น PloS, Public Library of Science, data repositories, code source repositories (เช่น GitHub) scholarly social
bookmarking sites เช่น Mendeley, CiteULike และการนำเสนอผ่าน SlideShare เป็นต้น

Plum Analytics
                                                                                  Plum Analytics

Continue reading มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 3)

Altmetric 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014

Altmetric LLP เปิดเผย 100 บทความวิชาการที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2014 ที่มีการแชร์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งจาก 10 อันดับแรกที่ได้รับการ share มากที่สุดเป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่

  1. Experimental evidence of massive-scale emotional contagion through social networks
  2. Variation in Melanism and Female Preference in Proximate but Ecologically Distinct Environments
  3. Artificial sweeteners induce glucose intolerance by altering the gut microbiota
  4. Stimulus-triggered fate conversion of somatic cells into pluripotency
  5. Dogs are sensitive to small variations of the Earth’s magnetic field
  6. Christmas 2013: Research: The survival time of chocolates on hospital wards: covert observational study
  7. Epidemiological modeling of online social network dynamics
  8. Searching the Internet for evidence of time travelers
  9. Conscious Brain-to-Brain Communication in Humans Using Non-Invasive Technologies
  10. Were James Bond’s drinks shaken because of alcohol-induced tremor?รายชื่อทั้งหมดสามารถติดตามได้ที่  Altmetric.com

    20141212-100-Altemetrics

โดยในภาพรวมพบว่า

  • งานวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมสูงสุดถึงร้อยละ 40 บทความยอดฮิต ได้แก่ the effect of artificial sweeteners on glucose intolerance to the origins of the Ebola virus
  • สาขาชีววิทยา เป็นอันดับรองลงมา คิดเป็นร้อยละ 20 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาสเต็มเซลล์ของมนุษย์ และอื่นๆ ที่เน้นในเรื่องจีโนมจากบรรพบุรุษ ของมนุษย์และสัตว์
  • สาขาฟิสิกส์ เป็นอันดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 9 ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับหลุมดำที่มีชื่อเสียง ของ Stephen Hawking

รายการอ้างอิง:

Altmetric ‘Top 100’ Highlights Topical Academic Research from 2014. Retrieved December, 12 2014 from http://www.altmetric.com/pressreleases/top-100-2014.php#

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 2)

ในบทความตอนที่ 1 ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้สนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

ดังนั้น บรรณารักษ์จึงต้อง:

  1. การศึกษาวรรณกรรม บรรณารักษ์ควรทำความรู้จักกับ altmetrics ด้วย วรรณกรรมต่างๆ  เช่น- SPARC report เช่น Article-level metrics primer ซึ่งเป็น การวัดในระดับบทความ (article-level metrics)
    – Altmetrics: Rethinking the Way We Measure
    – Introduction Altmetrics: What, Why and Where?
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง How libraries can empower scholars (and scholarly communication) through altemetrics โดย Heather Piwowar
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง Altmetrics are here: are you ready to help your faculty? โดย Stacy Konkiel
    17 More Essential Altmetrics Resources (the Library Version)
    –  Altmetrics in the wild: Using social media to explore scholarly impact
    Can Tweets Predict Citations? Metrics of Social Impact Based on Twitter and Correlation with Traditional Metrics of Scientific Impact
    Prevalence and use of Twitter among scholars
    Clickstream Data Yields High-Resolution Maps of Science
    Altmetrics Collection (PLOS Collections)
    – เข้าไป join กับ Altmetrics Mendeley groupฯลฯรายการอ้างอิง:

    Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 fromhttp://crln.acrl.org/content/74/6/292.long

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 1)

เนื่องจากไม่มีใครที่จะอ่านได้หมดทุกสิ่งอย่าง จึงทำให้เรายอมรับหรือมีความเชื่อมั่นกับการกรองผลงานทางวิชาการ ด้วยค่าการวัดคุณภาพ เช่น Impact factor, h-index, ค่า Citation ฯลฯ แต่ด้วยการเติบโตของเครื่องมือใหม่ๆ ทางออนไลน์ ทำให้มีตัวกรองใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการกรองหรือการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เป็นทางเลือก (Alternative metrics) หรือ Altmetrics เพราะ Altmetrics เป็นการวัดจำนวนที่ได้รับจากผู้อ่านด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จำนวนการดูบทความ, จำนวนดาวน์โหลด, การ Tweet, การ post ขึ้น blog, การกด Likes, การกด Shares, การ Discussed, การ Cited เป็นต้น Altmetrics น่าจะเป็นตัววัดความนิยมของผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เสริมกับการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัยแบบเดิม

Altmetrics เป็นการวัดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงข้อมูลปราฎในวันเดียวหรือสัปดาห์ แทนที่จะเป็นปีกว่าจะมีการอ้างอิงถึงผลงาน อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บรรณารักษ์ และสำนักพิมพ์ จึงเริ่มที่จะคุยกันถึงการใช้ประโยชน์ altmetrics และใช้อย่างไรกับการประเมินการมีส่วนร่วมทางวิชาการของนักวิจัย ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกหรือช่วยสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งนักวิจัย (นักศึกษา และคณาจารย์) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย

บรรณารักษ์เป็นผู้ที่ต้องสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

รายการอ้างอิง:

Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 from http://crln.acrl.org/content/74/6/292.long

Priem J., Taraborelli D., Groth P., Neylon C., “Alt-metrics: A manifesto,”  Retrieved 14112014 from http://altmetrics.org/manifesto/

Library Application ในวันธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน (Academic Expo for the People)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมงานวันธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน ในการเสนอ Library Application แอพเพื่อการใช้ห้องสมุดบนโทรศัพท์มือถือของสำนักหอสมุด  และจัดนำชมศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตลอดทั้ง 2 วัน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงานวันธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน  ในวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2557 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อแสดงนวัตกรรมและความก้าวหน้าด้านวิชาการและงานวิจัยเพื่อพัฒนาศาสตร์ทุกด้าน มุ่งตอบโจทย์เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน ชุมชน และสังคม มีการจัดแสดงผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้แนวคิดการนำความรู้ไปบริการสังคม (Service Learning) พร้อมกับได้ทราบถึงหลักสูตรการเรียนการสอน ความโดนเด่นในด้านต่างๆ ทั้งด้านบริการสังคม ด้านนวัตกรรมและด้านนานาชาติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มุ่งผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม

ธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน
ธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน

จุดแสดงผลงานมี 4 ดังนี้ Continue reading Library Application ในวันธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน (Academic Expo for the People)

2 ค่ายยักษ์ใหญ่ ระหว่าง Web of Science และ Scopus

Ruth A. Ragel ได้เขียนถึง 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ฐานข้อมูล อย่าง Web of Science ซึ่งเป็นของบริษัท Thomson Reuters และ Scopus ซึ่งเป็นของสำนักพิมพ์ Elsevier  ทางด้าน Web of Science ซึ่งครองความน่าเชื่อถือด้วยค่า impact factor ของบทความมายาวนาน การตรวจสอบค่า impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports (JCR) ขณะที่ Scopus ก็ออกวิธีการคำนวณค่า SJR (SCImago Journal Rank)  ในบทความนี้ Ragel นำเสนอหลายๆ มุมมอง เลยอยากแนะนำให้อ่านดูค่ะ http://librarylearningspace.com/ruths-rankings-4-big-two-thomson-reuters-scopus/