หัวเรื่องทางการแพทย์

หัวเรื่องทางการแพทย์

หัวเรื่องทางการเเพทย์ หรือ Medical Subject Headings (MeSH) เป็นคู่มือที่ใช้ในการกำหนดหัวเรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การแพทย์
และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จัดทำขึ้นโดย หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (The National Library of Medicine)

หัวเรื่องทางการเเพทย์มีการจัดเรียงหัวเรื่องในลักษณะโครงสร้างลำดับชั้น (MeSH Trees Structure) ซึ่งโครงสร้างลำดับชั้นจะแบ่งออกเป็น 16 ลำดับชั้นใหญ่ โดยกำหนดตัวอักษรใช้แทนความหมายของแต่ละลำดับชั้น
ดังต่อไปนี้

1

ภายในลำดับชั้นใหญ่จะมีการแบ่งลำดับชั้นย่อยเพื่อแสดงให้เห็นถึง
ความเกี่ยวข้องของเนื้อหาในแต่ละลำดับชั้น โดยการจัดเรียงหัวเรื่อง
ตามโครงสร้างลำดับชั้นจะจัดเรียงจากหัวเรื่องลำดับชั้นที่มีเนื้อหาทั่วไป
ไปจนถึงเนื้อหาที่มีความเฉพาะเจาะจง

ตัวอย่าง

2

Respiratory system เป็นหัวเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบหายใจ มีหัวเรื่องที่เกี่ยวข้องซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจงลงไป เช่น Lung (ปอด) Nose (จมูก) Trachea (หลอดลม) เป็นต้น

หัวเรื่องทางการแพทย์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1. หัวเรื่องใหญ่ Descriptors  (Main Headings)

เป็นหัวเรื่องที่สามารถกำหนดใช้ได้โดยลำพัง และอาจมีหัวเรื่องย่อยต่อ
เพื่อระบุขอบเขตของเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงได้ ภายใต้หัวเรื่องแต่ละหัวเรื่องจะมีรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ Tree Number(s) คำแนะนำ/คำอธิบายการใช้หัวเรื่อง (Annotation) ขอบเขตของหัวเรื่อง (Scope Note) หัวเรื่องที่สัมพันธ์กัน รายการโยงหัวเรื่องที่ไม่ใช้ และอื่น ๆ เพื่อช่วยให้สามารถกำหนดใช้หัวเรื่องใหญ่ได้อย่างถูกต้องตรงกับเนื้อหาของชิ้นงาน นอกจากนี้หัวเรื่องใหญ่บางหัวเรื่องสามารถแบ่งย่อยด้วยสถานที่ทางภูมิศาสตร์ได้ โดยหัวเรื่องที่อนุญาตให้แบ่งย่อยตามสถานที่ภูมิศาสตร์จะปรากฎคำสั่ง specify geog หรือ specify geog if pertinent

หัวเรื่องใหญ่แบ่งได้ 3 ประเภท

1.1  หัวเรื่องตามเนื้อหา (Subject/Topic)

          ตัวอย่าง: Body Weight, Kidney, Blood Glucose, Lung

1.2 หัวเรื่องที่เป็นประเภทหรือรูปแบบสิ่งพิมพ์ (Publication Types)

          ตัวอย่าง: Atlases, Handbooks, Statistics

1.3 หัวเรื่องที่เป็นสถานที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Locations) และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ (Historical Locations)

          ตัวอย่าง: Atlantic Islands, North America, England, Prussia

2. หัวเรื่องย่อย Qualifiers (Subheadings) 

เป็นหัวเรื่องที่ใช้ร่วมกับหัวเรื่องใหญ่ เพื่อทำให้ขอบเขตของหัวเรื่องใหญ่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

ช่วงก่อนปี ค.ศ. 1999 หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน ได้แบ่ง
หัวเรื่องย่อยออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

2.1 หัวเรื่องย่อยเฉพาะด้าน / หัวเรื่องย่อยตามเนื้อหา (Topical Subheadings)

หัวเรื่องย่อยประเภทนี้ใช้ได้ตามกลุ่ม Category ที่อนุญาตให้ใช้ได้เท่านั้น ซึ่งสามารถดู Category ดังกล่าวได้จาก History Note ของหัวเรื่องย่อยเฉพาะด้านแต่ละหัวเรื่อง และดูเพิ่มเติมได้ที่:

MeSH Qualifiers by Allowable Category  https://wayback.archive-it.org/org-350/20160122160953/https://www.nlm.nih.gov/mesh/topcat.html

MeSH Qualifiers with Scope Notes  https://www.nlm.nih.gov/mesh/topsubscope.html

2.2 หัวเรื่องย่อยแสดงวิธีเขียน หรือลักษณะของทรัพยากรสารสานเทศ (Form Subheadings)

หัวเรื่องย่อยแสดงวิธีเขียน เช่น Handbooks, Atlases, Case Reports, Guidebooks   เป็นต้น และในปี ค.ศ. 1991 หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกันได้เปลี่ยนชื่อ Form Subheadings เป็น Publication Types

สามารถดูหัวเรื่องย่อย Publication types เพิ่มเติมได้ที่:

List of Publication Types used by Cataloging and History of Medicine Division (HMD) http://www.nlm.nih.gov/tsd/cataloging/catpubtypes.html

2.3 หัวเรื่องย่อยแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Subheadings)

หัวเรื่องย่อยประเภทนี้ แบ่งออกได้ 2 ประเภท

2.3.1 หัวเรื่องย่อยตามเนื้อหาและหัวเรื่องย่อยแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ (Topical Subheadings and Geographic Subheadings)

ใช้ใน กรณีที่หัวเรื่องใหญ่ไม่อนุญาตให้แบ่งย่อยตามสถานที่ทางภูมิศาสตร์ แต่หัวเรื่องใหญ่ดังกล่าวมีการแบ่งย่อยด้วยหัวเรื่องย่อยตามเนื้อหาจำนวน 10 หัวเรื่องดังที่ปรากฎข้างล่างนี้

economics                      history                                        supply & distribution

education                      mortality                                    trends

epidemiology             prevention & control         ethnology            

standards        

จะอนุญาตให้แบ่งย่อยสถานที่ทางภูมิศาสตร์ได้ โดยวางสถานที่ทางภูมิศาสตร์ต่อจากหัวเรื่องย่อยตามเนื้อหา ซึ่งใน Annotation ของหัวเรื่องย่อยตามเนื้อหาดังกล่าว จะมีคำสั่งระบุ CATALOG: may be subdivided geographically

ตัวอย่าง                  

Hepatitis B — Epidermiology — Singapore

Substance abuse — Mortality — New York (State)

2.3.2 หัวเรื่องย่อยแสดงวิธีเขียนและหัวเรื่องย่อยแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ (Form Subheadings and Geographic Subheadings)

ใช้ใน กรณีที่หัวเรื่องหลักไม่อนุญาตให้แบ่งย่อยตามสถานที่ทางภูมิศาสตร์ แต่ถ้ามีการแบ่งย่อยด้วยหัวเรื่องย่อยแสดงวิธีเขียน

directories          legislation          statistics

จะอนุญาตให้แบ่งตามสถานที่ทางภูมิศาสตร์ได้ โดยวางสถานที่ทางภูมิศาสตร์ก่อนหัวเรื่องย่อยแสดงวิธีเขียน

ตัวอย่าง

 America, Sickle cell — United States — Legislation

Dentistry — Canada – Directories

2.4 หัวเรื่องย่อยเฉพาะภาษา (Language Subheadings)

กำหนดใช้กับหัวเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวกับพจนานุกรม ภาษาศาสตร์ วรรณคดี หรือกำหนดใช้ต่อจากหัวเรื่องย่อยแสดงวิธีเขียนของพจนานุกรม วิธีตั้งชื่อ คำพูด หรือวิธีใช้ถ้อยคำเท่านั้น กำหนดใช้ได้เมื่อพบคำสั่ง Catalog:/lang/form”หัวเรื่องย่อยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาอังกฤษจะไม่ใช้

ตัวอย่าง

Dictionaries, Medical — German

Medicine — Phrases — Spanish

Surgery — Dictionaries – French

 

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกันได้ยกเลิกการกำหนดใช้หัวเรื่องย่อยแสดงวิธีเขียนหรือหัวเรื่องย่อยประเภท/รูปแบบสิ่งพิมพ์(Publication Types) หัวเรื่องย่อยแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ และหัวเรื่องย่อยเฉพาะภาษา ในฐานข้อมูล LocatorPlus และเปลี่ยนมากำหนดประเภท/รูปแบบสิ่งพิมพ์ (Publication Types) และสถานที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นหัวเรื่องใหญ่แทน โดยใช้ Tag 655 สำหรับประเภท/
รูปแบบสิ่งพิมพ์ และ Tag 651 สำหรับสถานที่ทางภูมิศาสตร์

 

ตัวอย่าง การกำหนดหัวเรื่องในฐานข้อมูล LocatorPlus ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991

650 _2 |a Tissue Donors |0 https://id.nlm.nih.gov/mesh/D014019
651 _2 |a North Carolina |0 https://id.nlm.nih.gov/mesh/D009657
655 _2 |a Legislation |0 https://id.nlm.nih.gov/mesh/D020485

 

การยกเลิกการกำหนดใช้หัวเรื่องย่อยประเภท/รูปแบบสิ่งพิมพ์ (Publication Types) และหัวเรื่องย่อยแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Subheadings) ดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดอื่นๆ ดังนั้นหากห้องสมุดใดยังคงต้องการใช้หัวเรื่องย่อยทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกันอนุญาตให้ใช้เหมือนเดิมได้

 


รายการอ้างอิง

National Library of Medicine (U.S.). (1993). Medical subject headings :
annotated alphabetic list, 1993
. Bethesda, Md. : National Library
of Medicine.

National Library of Medicine (U.S.). (2019). Cataloging and metadata
management : using Medical Subject Headings (MeSH®) in cataloging.
Retrieved from https://www.nlm.nih.gov/tsd/cataloging/
trainingcourses/mesh/intro_010.html

National Library of Medicine (U.S.). (2019). Medical Subject Headings
2019.
Retrieved from https://meshb.nlm.nih.gov/search

วลุลี โพธิรังสิยากร. (2544). เทคนิคการวิเคราะห์และการลงรายการสิ่งพิมพ์
ระบบแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (
NLM). พิษณุโลก : สำนักหอสมุด
มหาวิทยาลัยนเรศวร.