ตัวเลขน่าสนใจ จากหนังสือ เมื่อได้ใกล้ชิดยุคลบาท

เมื่อได้ใกล้ชิดยุคลบาท  Zou jin Shilintong Gong zhu
เมื่อได้ใกล้ชิดยุคลบาท Zou jin Shilintong Gong zhu

จากหนังสือ  เมื่อได้ใกล้ชิดยุคลบาท พบตัวเลขที่น่าสนใจ จากการอ่าน  เช่น

  • ปี ค.ศ. 2011 เป็นปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระอักษรจีนมาครบ 30 ปี (หน้า 17)
  • ปี ค.ศ. 1979 เป็นปีที่ทางการไทยได้ส่งเรื่องมายังสถานทูตเพื่อขอการสนับสนุนจากฝ่ายจีนให้ส่งพระอาจารย์ชาวจีนไปถวายพระอักษรภาษาจีน (หน้า 17)
  • ปี ค.ศ. 1980 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงสนับสนุนให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระอักษรภาษาจีน กับพระอาจารย์ชาวจีนที่สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยจัดถวาย (หน้า 17)
  • พระอาจารย์แต่ละท่านจะมีวาระการทำหน้าที่ 2 ปี ปัจจุบันรวมได้ 12 ท่าน (หน้า 17)
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้ปากกาลูกลื่นจนหมึกหมดไป 8 ด้าม สมุดบันทึกหมดไป 3 เล่ม (หน้า 19)
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่มเรียนภาษาจีนเมื่อพระชนมายุ 26 ชันษา (หน้า 25)
  • ปี ค.ศ. 1980 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรก (หน้า 26)
  • ปี ค.ศ. 2004 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีนได้ครบทุกมณฑลและทุกมหานคร (หน้า 26)
  • พระราชนิพนธ์ชุดเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน 12 เรื่อง ได้แก่ (หน้า 301)
    – ย่ำแดนมังกร (พ.ศ. 2524) เสด็จฯ เยือนกรุงปักกิ่ง ซีอาน มณฑลยูนนาน
    – มุ่งไกลในรอยทราย (พ.ศ. 2533) เสด็จฯ เยือน กรุงปักกิ่ง ซีอาน หลานโจว มณฑลกานซู่ มณฑลซินเจียง มณฑลกว่างโจว
    – แกะรอยโสม (พ.ศ. 2534) เสด็จฯ เยือน สาธารณรัฐเกาหลี กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
    – ไอรัก คืออะไร (พ.ศ. 2536) เสด็จฯ เยือนกรุงปักกิ่ง เทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีนและมองโกเลีย
    – เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1-5 (พ.ศ. 2537) เล่ม1 เสด็จฯ เยือน กรุงปักกิ่ง เล่ม 2 มณฑลเหลียวหนิง เล่ม 3 มณฑลจี๋หลิน เล่ม4 มณฑลเฮยหลงเจียง เล่ม 5 ภาคผนวก
    – ใต้เมฆที่เมฆใต้ (พ.ศ. 2538) เสด็จฯ มณฑลยูนนาน
    – เย็นสบายชายน้ำ (พ.ศ. 2540) เสด็จฯ เยือน คุนหมิง มณฑลยูนนาน เมืองฉงชิ่ง เมืองอี๋ฉัง มณฑลหูเป่ย กรุงปักกิ่ง มณฑลอานฮุย นครเซี่ยงไฮ้
    – คืนถิ่นจีนใหญ่ (พ.ศ. 2541) เสด็จฯ เยือน ซ่านโถว (ซัวเถา) มณฑลกว่างโจว ฮ่องกง
    – เจียงหนานแสนงาม (พ.ศ. 2543) เสด็จฯ เยือนกรุงปักกิ่ง หนานจิง (นานกิง) มณฑลเจียงซู หยังโจว ซูโจว หังโจว เซ่าซิง คุนหมิง
    – เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก (พ.ศ. 2544) เสด็จฯ เยือนกรุงปักกิ่ง
    – หวงเหออู่อารยธรรม (พ.ศ. 2544) เสด็จฯ เยือนมณฑลส่านซี มณฑลซานตง มณฑลเหอหนาน
    – ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย (พ.ศ. 2548) เสด็จฯ เยือนมณฑลหนิงซย่า มณฑลชิงไห่ เขตปกครองตนเองทิเบต
  • เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนถึง 33 ครั้ง (หน้า 10)
  • 8 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ทรงได้รับการคัดเลือกโดยวิธีลงมติทางอินเตอร์เน็ตจากประชาชนชาวจีน ถวายพระเกียรติให้ทรงเป็น 1 ใน 10 มหามิตรนานาชาติที่ผูกพันกับประชาชนชาวจีน (หน้า 11)
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยงานวิจัยทางวิชาการอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อแรกที่เริ่มทรงภาษาจีน ก็ทรงเริ่มสะสมหนังสือและเอกสารภาษาจีน จนปัจจุบันห้องสมุดส่วนพระองค์ถือเป็นห้องสมุดที่เก็บรวบรวมหนังสือภาษาจีนจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย (หน้า 37)

รายการอ้างอิง:

เผย์เสี่ยวรุ่ย และคนอื่นๆ. 2557. เมื่อได้ใกล้ชิดยุคลบาท. บรรณาธิการแปล โดย ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. นนทบุรี : ชวนอ่าน.