“To be a leader in library service and information literacy with the most up-to-date information and technology to create an international network of cooperation between libraries.” หรือ สำนักหอสมุดเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ
จากวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ดังข้อความข้างต้น สำนักหอสมุด มธ. ได้เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล ในโอกาสครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 27 มิถุนายน 2557 เพื่อแสดงถึงความสำเร็จส่วนหนึ่งที่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ โดยในวันนี้ (26 มิ.ย.) เวลา 14.00 น. ได้จัดงานแถลงข่าวและเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล
โดยสำนักหอสมุดผลักดันให้เกิดระบบ 3 ระบบที่สำนักหอสมุด นำมาใช้ได้แก่
- ระบบห้องสมุดแบบบูรณาการโอเพนซอร์ส ที่ชื่อว่า Koha มาใช้ ซึ่งนับว่าเป็นห้องสมุดระดับอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่ศึกษา และเปลี่ยนระบบห้องสมุดบูรณาการเชิงพาณิชย์มาเป็นโอเพนซอร์ส พร้อมเปิดให้บริการ
- ระบบการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของผลงานทางวิชาการ/การคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) ด้วยระบบ MyCat ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ ตั้งแต่การส่งร่างวิทยานิพนธ์ การตรวจสอบซ้ำซ้อนหรือการคัดลอกด้วยโปรแกรม CopyCat
- ระบบการสืบค้นห้องสมุดข้ามประเทศเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด WorldShare ILL ระบบนี้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถสืบค้นหาเอกสารที่ต้องการ และสามารถใช้บริการผ่านสำนักหอสมุด มธ. ในการติดต่อขอยืมเอกสารดังกล่าวได้ อันเป็นการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่าย 70,000 แห่งนับว่าเป็นแห่่งแรกที่เปิดให้บริการในประเทศไทย
เชิญชมวิดีทัศน์ แนะนำ 4 นวัตกรรมไอทีล่าสุด สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานเปิดตัว “ห้องสมุดดิจิทัล”
ภาพพิธิเปิดงานโดยนายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี
และ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด
ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด (นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ) กล่าวว่า การอภิวัฒน์ระบบห้องสมุดนี้ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และขอถือโอกาสครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการเปิดระบบ และจะต้องมีพัฒนาการต่อไปอีก
ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังจะครบ 80 ปี ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นบ่อน้ำบำบัดให้ราษฎร ทำระบบที่ก่อใหเ้กิดประโยชน์ในวงวิชาการ และเพื่อให้ขับเคลื่อนเพิ่มมากขึ้น แกร่งทางวิชาการความรู้ เป็นดินแดนของความก้าวหน้าทางวิชาการ
ภาพบรรยากาศของงาน