เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 บรรณารักษ์จากฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ นางสาวสมหมาย เที่ยงในญาติ และนางสาวอิสริ์ยา หมีเงิน ได้เป็นตัวแทนหอสมุดฯ เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง การลงรายการทางบรรณานุกรมตามมาตรฐาน MARC 21 ให้แก่บรรณารักษ์กลุ่มงานห้องสมุดและกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 20 คน ณ ห้องประชุมกรรมาธิการหมายเลข 217 อาคารรัฐสภา 2 Continue reading แลกเปลี่ยนเรียนรู้ MARC 21
Tag Archives: Koha
คณะบรรณารักษ์จากประเทศกัมพูชา เยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ และอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์
วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 2558 นางสาวจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ รองผู้อำนวยการสายบริการและส่งเสริมการเรียนรู้และบรรณารักษ์ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด ให้การต้อนรับ และพาเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แก่ Ms. Mao Kolap Vice President Cambodian Librarians and Documentalists Association (CLDA) และ Library Director Pannasastra University of Cambodia และคณะ รวมทั้งให้การบรรยายการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha โดย ดร.พงศ์ธวัช ชีพพิมลชัย และนางสาวนีลวัสน์ อินทรักษา จากบริษัทปันสารเอเชีย นอกจากนี้นางสาวกนกวรรณ บัวงามให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในวันเดียวกันด้วย
เปิดตัวบริการ Book Suggestion โฉมใหม่
จะบอกกล่าวว่า เร็วๆ นี้สำนักหอสมุดจะเปิดตัวบริการ Book Suggestion ใหม่ แทนหน้าจอ Book Suggestion เดิม ผู้ที่จะแนะนำได้จะต้อง login เข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ด้วย Library Card Number และ Password ที่ใช้ในการดูข้อมูลหนังสือที่ยืม
ขั้นตอนการแนะนำหนังสือ มี ดังนี้
- เข้าไปที่ URL http://koha.library.tu.ac.th จะปรากฏหน้าจอ ให้กรอกข้อมูลในช่อง Library Card Number และ Password
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Koha!
งานจัดการข้อมูล ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมใช้ระบบฐานข้อมูล Koha โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Cataloging Module ซึ่งต้องมีการใช้ข้อมูลร่วมกันกับงานบริการ ระหว่างที่มีการใช้งานโปรแกรมมักได้รับคำถามบางประการจากผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับข้อสงสัยในบางเรื่อง จึงรวบรวมบางคำถามมาตอบและอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ
Question: ทำไมในระบบ Koha พบว่า หนังสือบางเล่ม มีภาพปกหนังสือ บางเล่มไม่มี?
Answer: เหตุที่หนังสือบางเล่มไม่มีภาพปกหนังสือ เนื่องจากว่าระบบ Koha นั้นได้ตั้งค่าอัตโนมัติให้ดึงข้อมูลรูปภาพปกหนังสือมาจากเว็บไซต์ Amazon.com เป็นหลัก โดยการใช้หมายเลข ISBN link ภาพมาให้ หาก Amazon ไม่มีภาพปกหนังสือเล่มนั้น Koha ก็จะไม่มีภาพปกหนังสือเช่นเดียวกัน สำหรับหนังสือที่ยังไม่มีภาพหน้าปก ในอนาคตอาจมีโครงการสแกนภาพหน้าปกหนังสือเข้าในฐานข้อมูล Koha ค่ะ
Question: ในระบบ Koha ยังมีการพิมพ์สารบัญอยู่หรือไม่?
Answer: ปัจจุบัน ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศใช้วิธีสแกนหน้าสารบัญของหนังสือ จัดเก็บไว้ในระบบ เพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดจากการพิมพ์ นอกจากนี้เหตุที่ต้องสแกนหน้าสารบัญ โดยเฉพาะหนังสือภาษาไทยที่มีสารบัญจำนวนหลายหน้า เมื่อพิมพ์เข้าระบบ Koha พบว่ามีจำนวนอักขระมากเกินกว่าที่ระบบกำหนดไว้ ทำให้เป็นปัญหาต่อการสืบค้นรายการบรรณานุกรมค่ะ
ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ค. 2558
Shelving Location ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
หลังจากที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปลี่ยนระบบฐานข้อมูลมาเป็น Koha โดยเริ่มใช้งานจริงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 มาจนถึงปัจจุบันนั้น ผู้ปฏิบัติงานจะพบว่ามีข้อมูลบางส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากระบบเดิมที่เคยใช้มาอย่าง Horizon อาทิเช่น Shelving Location นอกจากนี้ห้องสมุดบางแห่งมีการเปิด Collection พิเศษ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ ดังนั้นจึงขอรวบรวมและสรุป Shelving Location ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ เพื่อทบทวนการใช้งานอีกครั้ง
Shelving Location คือ ชั้นวางหนังสือแต่ละประเภทในห้องสมุดแต่ละแห่ง โดยปกติแล้ว สามารถแบ่ง Shelving Location ได้อย่างกว้างๆ ดังนี้ Continue reading Shelving Location ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
การลงรายการดรรชนีวารสารใน “KOHA”
ดรรชนีวารสาร เป็นเครื่องมือช่วยค้นบทความในวารสาร ทำให้ได้บทความสะดวกและรวดเร็ว ทันกับความต้องการที่จะใช้และทำให้มีการค้นหาสารนิเทศที่กระจายอยู่ในที่ต่างๆได้อย่างทั่วถึง ไม่ถูกละเลยโดยไม่มีการนำมาใช้
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- ศึกษาและพิจารณาสาระของบทความในวารสารวิชาการ
- อ่านแบบเอาใจความ คัดเลือกบทความที่มีคุณค่าต่อการศึกษาและการค้นคว้าวิจัย
- วิเคราะห์เนื้อหาบทความที่เลือกสรรแล้ว และสรุปประเด็น
- กำหนดหัวเรื่องโดยใช้คู่มือการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย ฐานข้อมูลดรรชนีวารสารและหนังสือพิมพ์ สำนักบรรณสารการพัฒนา 2529 ถึงปัจจุบัน เป็นหลัก
- วิเคราะห์ศัพท์เพื่อสร้าง/กำหนดหัวเรื่องขึ้นใหม่ในกรณีไม่มีหัวเรื่องในคู่มือ เพื่อให้สอดรับกับวิทยาการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในวารสารอยู่เสมอ
- ลงรายการทางบรรณานุกรมของบทความที่คัดเลือกแล้วโดยศึกษาแบบแผนการลงรายการจากคู่มือ
ปันสารกับ Koha
ปันสารกับ Koha โดย ดร. พงศ์ธวัช ชีพพิมลชัย ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2557 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประสบการณ์ในการพัฒนา Koha ซึ่งเป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ส โดยมีการพัฒนาโปรแกรมและนำไปใช้ เช่น สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การติดตั้งโปรแกรม และการปรับแต่งระบบอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับทีมงานของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในการใช้โอเพนซอร์ส แทนที่โปรแกรมหรือระบบเชิงพาณิชย์ต้องมีการวางแผนเปลี่ยนผ่านให้ชัดเจน กำหนดนโยบายและระยะเวลาที่แน่นอน สื่อสารและทำความเข้าใจกับบุคลากรให้ดี มีการอบรมและทดลองใช้งานระบบอย่างจริงจัง มีการทำงานคู่ขนานกับการทำงานจริงบนระบบใหม่ และต้องยอมเสียสละในบางเรื่อง คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
Koha โปรแกรมเปิดเผยรหัสสำหรับห้องสมุด
Koha โปรแกรมเปิดเผยรหัสสำหรับห้องสมุด เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558
Koha เป็นซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสสำหรับการจัดการทรัพยากรในห้องสมุด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปในวงการห้องสมุดว่า ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ (Integrated Library Systems : ILS) Koha ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือของกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์และบรรณารักษ์ทั่วโลก ทำให้ Koha กลายเป็นซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันงานต่างๆ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์บนพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของบรรณารักษ์ นอกจากนี้ การพัฒนาระบบด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ทำให้ Koha เป็นซอฟต์แวร์ห้องสมุดที่มีความทันสมัย ใช้งานง่ายและคงทน
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่นำซอฟต์แวร์ Koha มาใช้แทนที่ระบบห้องสมุดเดิมซึ่งเป็นระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศ (Commercial Software) ด้วยความเชื่อมั่นในความครบถ้วนสมบูรณ์ของฟังก์ชันการทำงาน ความได้เปรียบของซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสที่ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาและปรับแต่งระบบเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองตามความต้องการ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของซอฟต์แวร์ และการรวมกลุ่มของผู้ใช้งานระบบเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่สามารถให้ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่
นอกจากการนำไปประยุกต์ใช้งานกับหน่วยงานการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในลักษณะของระบบเดี่ยว หรือ Stand alone แล้ว จุดเด่นของ Koha คือ ความสามารถในการรองรับห้องสมุดสาขาที่ทำงานร่วมกันในลักษณะของเครือข่ายหรือ Consortium ดังเช่น สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งมีห้องสมุดจำนวนทั้งสิ้น 11 สาขา การประยุกต์ใช้ระบบในลักษณะนี้ทำให้ห้องสมุดที่มีมากกว่าหนึ่งสาขาและต้องการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน สามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและสามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ระหว่างห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสมาใช้งานในประเทศไทย นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของลิขสิทธิ์แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ในกลุ่มบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และนักพัฒนาระบบทั้งในระดับประเทศและระดับสากล นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปบอกเล่าและแบ่งปันแก่ห้องสมุดในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืนและยาวนาน
Koha in Thailand
จาก Koha Newsletter 5,7 (July 2014) ลงข่าวสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปลี่ยนการใช้ระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์มาเป็น Koha โดยถือโอกาสการเฉลิมฉลองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบ 80 ปี เปิดตัวการใช้ระบบดังกล่าว เพื่อรองรับการให้บริการใน 4 วิทยาเขต ความสำเร็จในการย้ายระบบไป Koha ดังกล่าวนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การจัดอบรม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ด้านโครงสร้างพื้นฐาน) บริษัท ปันสาร เอเซีย จำกัด (ในการติดตั้งและพัฒนาระบบ) และบริษัท Wiserf Technologies (ในการถ่ายโอนข้อมูล)
บรรณานุกรม:
Pongtawat Chippimolchai. Koha in Thailand! Koha Community Newsletter: July 2014. Retreived 8 July, 2104 from http://koha-community.org/koha-community-newsletter-july-2014/
คู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำคู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ เพื่อเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้งานระบบห้องสมุดดังกล่าว โดยมีรายละเอียดของแต่ละโมดูล ดังนี้
- การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Cataloging Module) ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha (รายละเอียดของคู่มือ)
- การสืบค้นข้อมูล OPAC (รายละเอียดของคู่มือ)
- การให้บริการยืม-คืน (Circulation Module) (รายละเอียดของคู่มือ)