การประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC (ภาคทัศนศึกษาห้องสมุด)

จากการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6 หรือ 6th APRC Membership Conference(2014) หรือ OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทัศนศึกษาห้องสมุดจำนวน 4 แห่งได้แก่

  1. Jeju National University Library
  2. KOREA University Library
  3. The National Library of Korea
  4. Yonsei University Library

ขอสรุปข้อมูลและข้อสังเกตในภาพรวม ดังนี้ค่ะ

ข้อมูลในภาพรวม

Jeju National University Library

การต้อนรับคณะเยี่ยมชมก่อนแยกย้ายไปตามจุดต่างๆ
การต้อนรับคณะเยี่ยมชมก่อนแยกย้ายไปตามจุดต่างๆ

 

เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) และในปี ค.ศ. 1955 ยกระดับเป็น มหาวิทยาลัยจังหวัด (provincial university) โดยรวมห้องสมุดเข้าไปด้วย และในปี ค.ศ. 1986 มีการเปิดห้องสมุดมหาวิทยาลัยขึ้น ด้วยเนื้อที่ 8007.6 ตารางเมตร และมีการขยายต่อเติมรวมทั้งมีห้องสมุดคณะ อย่างต่อเนื่อง เช่น จัดตั้ง Cheju National University Library Information Center ห้องสมุดทางการแพทย์ ห้อง Multi-Media Reference Room ห้องสมุดกฎหมาย ฯลฯ ใช้ระบบห้องสมุด SOLARS (Seoul Library Automation & Research System) เป็นระบบที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในเกาหลีใช้ร่วมกัน

KOREA University Library

Korea University Library
Korea University Library

กว่าจะเป็นห้องสมุดกลาง หรือ Main Library ในปัจจุบัน มีประวัติที่น่าสนใจคือ

  • กันยายน ปี ค.ศ. 1937 ห้องสมุดก่อตั้งเมื่อในโอกาสเฉลิมฉลองครบ 30 ปี การก่อตั้ง Bosung College (ค.ศ. 1905)
  • เมษายน ปี ค.ศ. 1946 ห้องสมุดได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น The Korea University Library
  • เมษายน ค.ศ. 1955 เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น Central Library of the Korea University
  • มกราคม ปี ค.ศ. 1991 Central Library เปลี่ยนชื่อเป็น Main Library
  • กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 มีการติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ใช้ระบบห้องสมุด SOLARS (Seoul Library Automation & Research System)
  • มิถุนายน ปี ค.ศ. 2004 มีการปรับโฉม Main Library
  • พฤษภาคม ปี ค.ศ. 2005 ซึ่งเป็นปีที่ครบ 100 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้ตั้ง CDL (Centennial Digital Library) ขึ้น (ซึ่งเป็นสถานที่ได้เข้าไปดูงาน)
  • ธันวาคม ค.ศ. 2009 KOREA University Library ได้รับการคัดเลือกให้เป็น Foreign Research Information Center-Humanities จาก
    National Research Foundatin of Korea

รวมทั้งมีการเปิดห้องสมุดคณะหรือห้องสมุดสาขาอีกได้แก่ Graduate School Library, Science Library, Medical Library, Health Science
Library, Academic Information Center (Sejong)

ส่วนที่ได้เข้าไปเยี่ยมชม คือ CDL (Centennial Digital Library) ตั้งอยู่ที่ Centennial Memorial Samsung Hall บริการที่ CDL ให้ก็คือ

  1. จัดหาวิธีการสิบค้นที่ทันสมัยที่สุดในการค้นหาสาระดิจิทัลและสารสนเทศดิจิทัล
  2. สนับสนุนการผลิตผลงานทางวิชาการผ่านคอมพิเตอร์
  3. จัดหาการผลิตสื่อมัลติมีเดียและอำนวยความสะดวกในการสาธิตสื่อดิจิทัล
  4. จัดหาแหล่งมัลติมีเดียด้วยบริการทั้งทางเสียงและทางภาพ
  5. จัดหาสถานที่ในการประชุม กิจกรรมสำหรับการสื่อสารทางวิจัย
  6. ประสานงานและสร้างสารสนเทศดิจิทัลสำหรับห้องสมุดดิจิทัล

นอกจากนี้ในอาคาร CDL ยังมี Rare Materials Exhibition Hall ห้องฝึกปฏิบัติการสอน พื้นที่ศึกษา ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการอีกด้วย ด้วยความอาคารนี้สร้างในปี ค.ศ. 2005 อันเป็นปีที่ 100 ของการสร้างมหาวิทยาลัยการออกแบบภายใน ตรงส่วนพื้น จึงทำเป็นตัวเลข 1905 มาชนกับปี 2005

ปี1905-2005
ปี  1905-2005

การจัดหมวดหมู่หนังสือและจัดเรียงให้บริการรวมกันทั้งภาษาเกาหลีและภาษาต่างประเทศและไม่มีการให้เลขประจำตัวผู้แต่ง (Cutter Number)

การจัดหมวดหมู่หนังสือ
การจัดหมวดหมู่หนังสือ
สิ่งอำนวยความสะดวก ที่ชาร์ตไฟ
สิ่งอำนวยความสะดวก ที่ชาร์ตไฟ

 

National Library of Korea

National Library of Korea
National Library of Korea

ตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1945 ทำหน้าที่ในฐานะหอสมุดแห่งชาติ ในการรวบรวมหนังสือที่พิมพ์ในประเทศเกาหลี ที่ต้องส่งให้หอสมุดแห่งชาติอย่างน้อย 2 ฉบับ การรักษาทรัพย์สมบัติทางปัญญาและทางวัฒนธรรมของประเทศ การจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ การจัดทำมาตรฐานต่างๆ ตลอดจนมีความร่วมมือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Korean Library Automation System (KOLAS)

การเข้าใช้หอสมุดแห่งชาติ ต้องทำบัตรห้องสมุด โดยการสมัครผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดแห่งชาติ โดยจะเป็นแบบบัตรวันเดียวหรือบัตรระยะยาวก็ได้ เมื่อจะออกจากห้องสมุด เพียงเสียบบัตร (แบบวันเดียว) เข้าเครื่องที่ประตูทางออก ส่วนบัตรระยะยาวแค่แตะบัตรที่ประตูทางออกและเก็บบัตรไว้ใช้ครั้งต่อไป หอสมุดแห่งชาติอนุญาตในการให้ถ่ายเอกสารเพียง 1/3 ของเอกสาร ตามกฎหมายเท่่านั้น เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

มีการให้บริการห้องผลิตสื่อวิดีโอ (Video Studio) แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งมีบริการหน้งสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบปลอดลิขสิทธิ์ และมีบริการสำหรับคนพิการทั้งพิการทางการได้ยิน พิการทางสายตา พิการทางกาย โดย
มีห้องบริการการอ่านทีมีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เหล่านี้

ห้องสมุดดิจิทัลของหอสมุดแห่งชาติเกาหลี
ห้องสมุดดิจิทัลของหอสมุดแห่งชาติเกาหลี

 

Yonsei University Library 

Yonsei University Library
Yonsei University Library

เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเกาหลี ตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1915 ในปี ค.ศ. 2007 สร้างอาคารหลังใหม่ด้วยการสนับสนุนของบริษัทซัมซุง ทำให้มีความโดดเด่นในเรื่อง Ubiquitous Library (สามารถเข้า
ใช้และเข้าถึงข้อมูลได้ทุกแห่ง และทุกเวลา) , Cultural Library (การเป็นแหล่งรวบรวมวัฒนธรรมและเข้าถึงได้จากสื่อรูปแบบต่างๆ) และ Convenient Library (มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน) ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ห้องสมุดจึงมีห้องและสถานที่ในจุดต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่ IC Collaboration Booth, Presentation Room, Seminar Room , Information Commons (พื้นที่ให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ พื้นที่ในการเขียน การตัดแต่ง พื้นที่ในการสืบค้นข้อมูลห้องสมุดดิจิทัล และพื้นที่ในการใช้ Laptop) รวมทั้ง Community Lounges และ Multimedia Center

การนั่งเรียนในห้องสมุดจากการสอนจริงในห้องเรียน
การนั่งเรียนในห้องสมุดจากการสอนจริงในห้องเรียน
บอร์ด e-Newspapers
บอร์ด e-Newspapers
Finding Shelves
Finding Shelves
Memo Board
Memo Board

ข้อสังเกต:

ห้องสมุดที่ไปเยี่ยมชมจะมีระบบการจองที่นั่งหรือจองห้องก่อนมาเข้าใช้ โดยจะมีเครื่องจองหรือ Kiosk เพื่อให้ผู้ใช้บริการจองที่นั่งหรือจองห้อง เวลาในการใช้อาจจะต่างกันมาก บ้างน้อยบ้างแล้วแต่ระเบียบของแต่ละแห่ง เช่น
ของ CDL จะมีสิทธิใช้อย่างมาก 3 ชั่วโมง และ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย ถ้าออกไปจากห้องสมุดเป็นเวลา 1 ชั่่วโมงหรือไม่เข้ามาใช้ภายใน 20 นาทีจะถูกยกเลิกการใช้ไปโดยปริยาย เป็นต้น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในไทย อาจจะนำมาพิจารณากันดูบ้าง เพราะแต่ละแห่งโดยเฉพาะช่วงสอบ จะพบปัญหาการจอง (จองเหมือนกัน เอาสมุดเอาสิ่งของ) มากันที่คนอื่น เจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องมาคอยดูและเอาหนังสือหรือสิ่งของที่นำมาจองออกไป

สาธิตระบบการจองที่นั่ง/ห้อง
สาธิตระบบการจองที่นั่ง/ห้อง

การเปิดกว้างในการให้เข้าใช้บริการต่างๆ อย่างเสรี เป็นการสนับสนุนการแสดงออก และความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา ประชาชน เช่น การมีห้องตัดต่อสื่อมัลติมีเดียให้บริการ การมีห้องผลิตสื่อ ผลิตวิดีโอสำหรับประชาชน ของหอสมุดแห่งชาติเกาหลี โดยไม่ต้องมีคำว่า “กลัวของพัง” จนไม่กล้าให้ใช้

การเปิดกว้างในการให้ลิขสิทธิ์ของสื่อดิจิทัลต่างๆ ทำให้ประชาชนของเกาหลี สามารถอ่านสาระดิจิทัลเหล่านี้ได้อย่างเสรี เป็นการพัฒนาการอ่าน ความคิด และโลกกว้างให้คนในประเทศได้อย่างวิเศษ

การเห็นความสำคัญของคนพิการ ในการเข้าใช้ห้องสมุด มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการเข้าใช้อย่างทัดเทียมเหมือนคนทั่วไป

สิ่งอำเนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
สิ่งอำเนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหร้บคนพิการ
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหร้บคนพิการ

ประตูเข้าออก ออกแบบที่ไม่ต้องมีปีกนก หรือบานปิดเปิด เป็นช่องทางเดินโล่งๆ เพียงแต่แตะบัตรที่เครื่องก็สามารถเดินเข้า-ออก ได้โดยสะดวก ไม่มีเสียงรบกวนของปิดเปิดของประตู

ประตูทางเข้า-ออก
ประตูทางเข้า-ออก

บรรณานุกรม

Jeju Naional University Library. Retrieved 20141018 from https://libeng.jejunu.ac.kr:447/

Korea University Library. Koran University Library Guide. Korea : Korea University Library, n.d.

Korea University Library. Centennial Digital Library: CDL Guide. Retrieved 20141018 from http://cdl.korea.ac.kr/english/cdlintro/cdl.jsp?
fileName=/english/cdlintro/1f&imgName=title_conduct&menuNum=1&subMenu=conduct_1

The National Library of Korea. The National Library of Korea. Retrieved 20141018 from http://www.nl.go.kr/english/index.jsp

Yonsei University Library. Retrieved 20141018 from http://library.yonsei.ac.kr/main/main.do