Planning our collective future: Globalization and localization of OCLC-services

Planning our collective future: Globalization and localization of OCLC-services เป็นหัวข้อหนึ่งในการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6 หรือ 6th APRC Membership Conference(2014) หรือ OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference  โดย  Eric van Lubeek (Vice-President & Managing Director, EMEA & APAC)  มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

ความท้าทายที่ห้องสมุดต้องเผชิญ 2 ประเด็น คือ ความเกี่ยวเนื่อง (Relevancy) และความมีประสิทธิผล (Efficiency)

  • ความเกี่ยวเนื่อง (Relevancy) กล่าวคือ ห้องสมุดจะเป็นที่แรกของผู้ใช้ได้อย่างไรในการหาสารสนเทศ ห้องสมุดมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้แน่ใจได้ว่า ห้องสมุดไม่ถูกลืมเมื่อผู้ใช้ต้องการเริ่มค้นหางานวิจัยทางเว็บ
  • ความมีประสิทธิผล (Efficiency) กล่าวคือ ห้องสมุดให้บริการที่ดีกว่า ใหม่กว่า แก่ผู้ใช้ได้อย่างไร เมื่องบประมาณยังเท่าเดิมหรือน้อยกว่าเดิม ห้องสมุดยังเป็นผู้ที่เก่งในสิ่งที่ ห้องสมุดบริการให้กับผู้ใช้ได้อยู่หรือไม่

ความท้าทายทั้ง 2 ประเด็น นี้เอง เป็นโอกาสที่ต้องมีความร่วมมือกันเพื่อรับกับความท้าทายเหล่านี้

OCLC จึงเชื่อว่า สามารถให้การสนับสนุนห้องสมุดในเรื่องท้าทายเหล่านี้ ด้วยแนวทางใหม่ของการให้บริการ ในการเชื่อมโยงห้องสมุดของแต่ละแห่งออกไปสู่โลกภายนอก  เพื่อให้ห้องสมุดแต่ละแห่ง จะได้มุ่งเน้นการให้บริการใหม่อื่นๆ การเชื่อมโยงห้องสมุดออกสู่โลกภายนอก คือ WorldShare ซึ่งมีหลักการอยู่ 3 ประการ ได้แก่

  1. Intelligent workflows
  2. Connected to a global data network
  3. Powered by library cooperation

ในหลักการที่ 3 คือ OCLC-Powered by library cooperation หลักการ คือ พลังแห่งความร่วมมือของห้องสมุด

ปัจจุบัน OCLC มีสมาชิก 16,737 แห่งใน 109 ประเทศ เป็น 17 หน่วยงาน และ 5 ศูนย์ข้อมูล ห้องสมุดที่เป็นสมาชิกสามารถใช้บริการใน WorldShare ไปยังห้องสมุดแห่งอื่น ด้วยความร่วมมือนี้เอง ไม่เพียงแต่ประสบการณ์ที่ได้รับ แต่ยังเป็นการเพิ่มคุณค่าการให้บริการของห้องสมุดแต่ละแห่งอีกด้วย

ด้วยระบบของ  WorldShare   OCLC สามารถสร้างเครือข่ายที่ไม่เป็นเพียงการทำรายการบรรณานุกรม (Cataloguing) และการยืมระหว่างห้องสมุด (ILL) แต่ยังเป็นการจัดหา การจัดการทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ และด้านอื่นๆ ของห้องสมุดอีกด้วย

ในหลักการที่ 2 คือ WorldCat- a global data network โดยการ

  1. สร้างรายการทางบรรณานุกรมโดยสมาชิกและเพื่อสมาชิก
  2. มีความสมบูรณ์และครอบคลุม ด้วยการลงรายการทางบรรณานุกรม ฐานความรู้ การทำดรรชนีกลาง ฯลฯ
  3. สนับสนุนการค้นหาและทำให้สามารถค้นหาได้

ใน WordCat มีจำนวน 2,000,000,000 holdings และ 300,000,000 รายการ (items) และด้วยรายการที่หลากหลายภาษา

จำนวนรายการและความหลากหลายภาษา
จำนวนรายการและความหลากหลายภาษา

การสนับสนุนการสืบค้นและการทำให้สามารถมองเห็นข้อมูลได้ โดย
การทำให้จำนวนรายการจำนวนเหล่านี้ถูกค้นหาได้ ผ่าน web 2.0 และกลับไป OPAC ของห้องสมุดเพียง 3 คลิก

ในหลักการที่ 3 คือ WorldShare-intelligent workflows กล่าวคือ OCLC จัดหา solutions ของการทำงานในทุกกระแสงานของห้องสมุด ตั้งแต่การจัดหา การแลกเปลี่ยนทรัพยากร การยืม การทำ authority การอ้างอิงเสมือน (virtual reference) การวิเคราะห์ และการสืบค้น

ความท้าทาย คือ การเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ความคาดหวังของผู้ใช้ห้องสมุดที่เปลี่ยนไป ความไม่มีประสิทธิภาพและสถานะทางกฎหมายของระบบห้องสมุดอัตโนมัติในปัจจุบัน

OCLC จะช่วยประหยัดเวลาทั้งเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดและผู้ใช้บริการได้ด้วยการ

  • มีระบบที่ไม่อืดอาด และกระแสงานที่อยู่บนพื้นฐานของการจัดการร่วมก้นได้ดี ทำหลายอย่างที่แตกต่างเพื่อประหยัดเวลา และทำหลายอย่างแตกต่างก้น

    ระบบที่ไม่อืดอาดและกระแสงานที่อยู่บนพื้นฐานของการจัดการร่วมก้นได้ดี
    ระบบที่ไม่อืดอาดและกระแสงานที่อยู่บนพื้นฐานของการจัดการร่วมก้นได้ดี
  • หยุดการสร้างและการมีข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
  • ควบคุมการจัดการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์และการเข้าถึงได้
  • ทำให้ค้นหาและเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว

    การสามารถทำให้สืบค้นได้
    การสามารถทำให้สืบค้นได้

ในส่วนของหัวข้อของการประชุม คือ “Collaboration in the Asia Pacific Century” นี้ สำหรับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นอกจากการ migrate ข้อมูลเข้า WorldShare Management Services แล้ว ยังมีซอฟต์แวร์ CBS ที่ช่วยสนับสนุนเพื่อการเชื่อมโยงกับ WorldCat และมีซอต์แวร์ VDX สนับสนุนการยืมระหว่างห้องสมุด

ในส่วนของจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ไต้หว้น และประเทศไทย OCLC ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเมทาดาทาของห้องสมุดแต่ละประเทศ
WorldCat จึงต้องการเพื่อนสมาชิกที่เข้มแข็งในภูมิภาคนี้เพื่อสร้างความ
เชื่อมโยงอย่างแข็งแกร่ง โดยทีมงาน OCLC กำลังเน้นศึกษาเรื่อง authorities และ UNICODE การทำงานกับภาษาที่แตกต่างกัน การเน้น EMEA (คือ ภูมิภาคแถบยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา) แต่มีประโยชน์ได้ทั้งภูมิภาค

ดังนั้น แผนงานในส่วนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก นี้คือ

  1. สร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาคนี้และสร้างสมาชิกใหม่
  2. เน้นประเทศที่มีความมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง
  3. จัดลำดับความสำคัญกับประเทศในภูมิภาคนี้
  4. ทำความเข้าใจความต้องการของห้องสมุด
  5. เคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม

รายการอ้างอิง:

Van Lubeek, Eric .  (2014). Planning our collective future: Globalization and localization of OCLC-services.  (Slide).