Library services in changing contexts : Report from Taiwan

การประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 6
( OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference) วันที่ 13 ตุลาคม 2557 ช่วงบ่ายเป็นการบรรยายโดยวิทยากรตัวแทนจากประเทศไต้หวัน  Professor Chien-Kang Huang (Department of Engineering Science and Ocean Engineering, National Taiwan University)  ซึ่งมาบรรยายในหัวข้อ “Library services in changing contexts”  หรือการบริการของห้องสมุดในบริบทที่เปลี่ยนไป แต่จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้

Professor Chien-Kang Huang
วิทยากร Professor Chien-Kang Huang

National Taiwan University Library

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน นับได้ว่าเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในไต้หวัน  ทรัพยากรของห้องสมุดมีทั้งหนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ ซึ่งมีประมาณ 2,400,000 รายการ  มีวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง 24,000 รายการ และหนังสือพิมพ์ 98 ชื่อเรื่อง ครอบคลุมสาขาวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ การจัดการ สาธารณสุขศาสตร์ และสังคมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีคอลเลคชั่นหนังสือหายากที่เป็นภาษาจีนและภาษาอื่นๆ กว่า 50,000 รายการ   นโยบายการบริการของห้องสมุดในอนาคตมีความคาดหวังที่จะขยายเวลาเปิดบริการให้นานขึ้น ขยายช่วงเวลาการยืม จัดหาทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ระบบ IOD (Information on demand) และการจัดทำไฟล์ดิจิทัลสำหรับหนังสือคอลเลคชั่นพิเศษ

Library services in changing contexts

การให้บริการของห้องสมุดในบริบทที่เปลี่ยนไป ในที่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ของห้องสมุดให้มีความทันสมัย พัฒนาเนื้อหาให้น่าสนใจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันได้เริ่มพัฒนาจากเว็บไซต์เก่าที่จัดทำเมื่อปี ค.ศ. 2011 ซึ่งปัญหาของเว็บไซต์เก่าคือ การกระจายของบล็อก ข้อมูลที่มากเกินความจำเป็น  ขาดรูปแบบเสมือนจริง และยากต่อการปรับปรุงข้อมูล ดังนั้นทางทีมงานจึงได้มีโครงการพัฒนาเว็บไซต์ออกเป็น 2 ช่วง ด้วยกันคือ

Phase 1 (2012-2013)
เป้าหมาย

  1. จัดหาระบบจัดการข้อมูลใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบายมากขึ้น
  2. มีการออกแบบเว็บไซต์ใหม่ให้ดูง่ายขึ้น (Set Layout)
  3. ใช้ระบบจัดการข้อมูลในเว็บไซต์ (Web Content Management System)
  4. เปลี่ยนประเภทของเว็บจาก webpage ให้เป็น database website
  5. พัฒนาเนื้อหาใน Sub-website โดยยังคงเนื้อหาเดิมไว้
ขั้นตอนในการพัฒนาเว็บไซต์
ขั้นตอนในการพัฒนาเว็บไซต์

ขั้นตอนในการพัฒนาเว็บไซต์ดังรูปภาพด้านบน จะเห็นได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนเมนูให้ดูง่ายขึ้น มีการแบ่งประเภทของเนื้อหาและวิเคราะห์ผู้ใช้โดยใช้โปรแกรมวิคราะห์และรายงานสถิติการเข้าชมเว็บไซต์ เช่น Google analytics และ AWStats  และแบ่งประเภทของเว็บเพจออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. การบริการทั่วไป 2.บริการสำหรับผู้ใช้  3.ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์

Phase 2 (2014)
เป้าหมาย

  1.  การปรับโครงสร้างของเว็บไซต์
  2. สร้างเนื้อหาที่มีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์
NTUSG
NTU Scholar Gateway เป็นบริการของห้องสมุดที่มีการรวบรวมเว็บไซต์เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าและวิจัย มีการจัดหมวดหมู่และแบ่งประเภทตามสาขาวิชา

3.  เพิ่มสถิติข้อมูลในการช่วยตัดสินใจมากขึ้น

หน้าเว็บไซต์ของห้องสมุดจะมี Real-time statistics ผู้ใช้สามารถทราบจำนวนที่นั่งว่าง และทางห้องสมุดสามารถเก็บสถิติผู้เข้าใช้ในแต่ละวัน
หน้าเว็บไซต์ของห้องสมุดจะมี Real-time statistics ผู้ใช้สามารถทราบจำนวนที่นั่งว่างผ่านหน้าเว็บไซต์ และทางห้องสมุดสามารถเก็บสถิติผู้เข้าใช้ในแต่ละวัน ซึ่งข้อมูลจะอัพเดทตลอดเวลา

4.  พัฒนาการออกแบบให้มีจินตภาพมากขึ้น
5.  จับกลุ่มข้อมูลและใช้การเชื่อมโยงไปถึงกัน
6.  เปิดให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลและใช้ Library API (Application Programming Interface) เพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อและเชื่อมต่อข้อมูลให้ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลได้ด้วยตนเอง

อุปสรรคและความท้าทาย
  • ความขัดแย้งระหว่างโมดูลในระบบ Drupal (Drupal คือ Content Management System ระบบหนึ่ง)
  • การออกแบบส่วนประสานงานกับผู้ใช้ (User Interface) สำหรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย
  • ความขัดแย้งระหว่าง JavaScript กับ โอเพนซอร์ส
  • ความเร็วในการเรียกดูหรือเข้าถึงข้อมูล
  • ฐานข้อมูลที่แตกต่างกันจะมีสิทธิ์ในการเข้าใช้แตกต่างกันทำให้ยากต่อการพัฒนาแอพพลิเคชั่น
  • ระบบ Drupal มีการประสานงานระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ที่หลากหลายกว่าระบบอื่นๆ
  • ยากต่อการนำแพลทฟอร์มหลายๆ ระบบมารวมกัน
ความท้าทายในอีก 10 ปีข้างหน้า
  •  การเพิ่มจำนวนการใช้เว็บไซต์
  • การพัฒนาระบบที่หลากหลายเพื่อติดต่อกับร้านค้า/ตัวแทนจำหน่าย
  • ผู้ใช้ที่เดินทางมาใช้บริการห้องสมุดด้วยตนเองเริ่มถึงจุดอิ่มตัว และมองหาช่องทางที่ใช้บริการแบบออนไลน์
  • การเพิ่มจำนวนคอลเลคชั่นพิเศษ
  • การเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สาย
  • การเพิ่มขึ้นของนักศึกษาชาวต่างชาติ
การพัฒนาในอนาคต
Special Collection
Special Collection
  • ใช้รูปภาพเพื่อดึงดูดผู้ใช้มากขึ้น โดยการออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจ และคอลเลคชั่นหนังสือหายาก จัดทำเป็นไฟล์ดิจิทัล
  • ออกแบบส่วนประสานงานกับผู้ใช้สำหรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย
  • ใช้การ Tags เพื่อแบ่งประเภทของข้อมูล
  • Single-window Search Platform – การสืบค้นข้อมูลเพียงคลิกแค่ครั้งเดียวก็ได้ในสิ่งที่ต้องการ
  • สอนขั้นตอนการใช้บริการต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์ทีละขั้นตอน (Step by step)
  • ใช้การสแกน QR Code เพื่อความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล

 

รายการอ้างอิง

National Taiwan University Library. (22 ตุลาคม 2557). สืบค้นจาก http://www.lib.ntu.edu.tw

Huang, Chien-Kang. (2014). Library services in changing contexts. (Slide)