Tag Archives: สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

จากเว็บไซต์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้กล่าวไว้ว่า ” “วังสระปทุม” นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า เป็นสถานที่สำคัญแห่งพระราชวงศ์และแห่งชาติ ด้วยเป็นพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ ตราบจนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้เป็นที่ประทับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในเวลาต่อมา สมควรที่จะจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ แสดงพระราชกรณียกิจอันเป็นแบบอย่างอันดีงามแห่งการดำรงชีวิตที่อำนวยประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก

เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสระปทุมให้เป็นที่ประทับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงระลึกถึงพระราชปรารภแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงจัดการตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นสนองพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระราชกรณียกิจแห่งสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เพื่อดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว และจัดกิจกรรมต่างๆ สืบสานแนวพระราชดำริสืบมาจนถึงปัจจุบัน”

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่  13 )

รายการอ้างอิง:
มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า.  พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 จาก http://www.queensavang.org/qs/index.php/th/2012-08-29-08-36-54

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเลือกตั้งเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2520 จึงทรงมีพระราชปณิธานที่จะดำเนินงานโครงการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิฯให้ลุล่วงไปตามเป้าหมายโดยเร็ว  เพื่อให้อุทยานฯ สามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนชาวสมุทรสงครามและท้องถิ่นใกล้เคียง และเพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้แพร่ไพศาลยั่งยืนอยู่ตลอดไป และให้เป็นแหล่งวิทยาการ ศูนย์กลางศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่น

memorial-park

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่  12)

รายการอ้างอิง:

มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 จาก http://www.kingrama2found.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=199:2015-01-14-02-31-32&Itemid=612

 

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จากหนังสือ “ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม”  ในบทที่ 18 ตอน ทรงเห็นคุณค่าของห้องสมุด บรรยายถึงพระราชดำริในเรื่องของห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ (มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล : 2558) ว่า นอกจากการสืบทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในรูปของศิลปะแล้ว ยังทรงเห็นว่า การสร้างห้องสมุดตลอดจนการสร้างหรือปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการเผยแพร่อีกด้วย เช่น โปรดให้ทำพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่อยู่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อเป็นการให้โอกาสในการเรียนรู้วัตถุเชิงหลักฐานต่างๆ ในด้านจดหมายเหตุ รูปภาพ และสิ่งของด้วยการปลูกฝัง ถ่ายทอด สืบสาน และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการสืบค้นนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  11 )

รายการอ้างอิง:

มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล. ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล, 2558.

ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี

กรมการศึกษานอกโรงเรียนในฐานะที่รับผิดชอบในการจัดตั้งพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดประชาชน จังหวัด และอำเภอทั่วประเทศ  ได้พยายามออกแบบ และจัดตั้งห้องสมุดตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเห็นความสำคัญของห้องสมุด  โดยจัดโครงการ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ขึ้น ในวโรกาสที่มีพระชนมายุ ครบ 3 รอบ ประจวบกับเป็นปีสากลแห่งการรู้หนังสือ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งในเมืองและชนบท โดยมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในแต่ละพื้นที่ร่วมกันบริจาคทุน เพื่อการก่อสร้างห้องสมุดดังกล่าว ปัจจุบันมีห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีเกือบทุกจังหวัด ติดตามรายชื่อห้องสมุดได้ที่นี่

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  10)

ห้องสมุดพร้อมปัญญา

ในปี พ.ศ. 2546 ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา กรมราชทัณฑ์ได้น้อมนำพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับโอกาสในการศึกษาเรียนรู้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ทุกชุมชนมีแหล่งการเรียนรู้ที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้นั้นได้โดยไม่จำกัด ด้วยการจัดทำโครงการ “ปรับปรุงห้องสมุดเรือนจำ/ทัณฑสถาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยสร้างห้องสมุดในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เพียบพร้อม ให้เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังเข้ามาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานชื่อว่า “ห้องสมุดพร้อมปัญญา” พร้อมความหมายว่า “ถึงพร้อมด้วยปัญญา”

 
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่ 9)

เพลงพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากเว็บไซต์ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวบรวมเพลงพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งเพลงไทยเดิม และเพลงไทยสากล โดยเพลงไทยเดิม เช่น เต่าเห่ เต่ากินผักบุ้ง ไทยดำเนินดอย ขึ้้นพลับพลาและแขกบรเทศ คลื่นกระทบฝั่ง เป็นต้น ส่วนเพลงไทยสากล เช่น ส้มตำ ไม่ลืม รัก นกขมิ้น ติดตามฟังเพลงและเนื้อเพลงได้ที่ ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  8)

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ในปี พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2534  ด้วยพิจารณาเห็นว่าสาขาวิชา มานุษยวิทยาและศาสตร์อื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ฯลฯ ล้วนเป็นที่ทรงสนพระทัยและทรงมีความเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังเคยทรงมี พระราชปรารภว่าประเทศไทยควรจะมี ศูนย์ข้อมูลทางด้านนี้ เพื่อให้บริการแก่นักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ในเว็บไซต์นี้ จึงมีข้อมูลประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ โบราณคดี
ประวัติศาสตร์ศิลปะ ฯลฯ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย งานวิจัยทางชาติพันธุ์ จารึกในประเทศไทย จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา หนังสือเก่าชาวสยาม ภาพยนตร์ชาติพันธุ์ ข่าวมานุษยวิทยา รายชื่อวรรณกรรมท้องถิ่นภาคตะวันตก ของเล่นพื้นบ้าน ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย ICH & Museums Learning Resources และ Culture and Rights in Thailand เป็นต้น

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 7)

ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิริธร

ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิริธร
ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิริธร

เว็บไซต์ของหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร  โดยห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธรจัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนพรรษา ครบ 3 รอบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับเพลงไทยและเพลงสากล ไว้เป็นมรดกสมบัติททางวัฒนธรรมของชาติ เป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการดนตรี

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 6 )

ดอกไม้พระนามสิรินธร

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 5)

ดอกไม้พระนามสิริธร ได้แก่

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 4)

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เริ่มดำเนินการ โดยฝ่ายวิชาการโครงการส่วนพระองค์ฯ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี ๒๕๓๖ สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทุกกิจกรรมของโครงการ พ.ศ ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน ภายในเว็บไซต์นี้ นอกจากกิจกรรมภายใต้โครงการฯ นี้แล้ว ยังประกอบด้วยข้อมูลพรรณไม้
โครงการทดลองปลูกพืชพรรณ (ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การปลูกและการดูแลรักษา การให้ผลผลิตและการเก็บเกี่ยว เป็นต้น)