Images

Plagiarism ความไม่สุจริตทางวิชาการ

Plagiarism (เพล้ต-เจอ-ริ-ซึ่ม) มีรากศัพท์มาจากคำละติน Plagiarius มีความหมายว่า “ผู้ลักพาตัว”

พจนานุกรม Longman Dictionary of Contemporary English, New Edition 2003 ให้ความหมายว่า

  1. เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดใช้คำพูด ความคิด หรืองานของคนอื่น และเสแสร้งว่าเป็นของตนเอง
  2. ความคิด ข้อความส่วนหนึ่ง หรือเรื่องราวที่คัดลอกมากจากงานของคนอื่นโดยไม่ระบุว่ามาจากที่ใด

ในภาษาไทยเองนั้นราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติคำว่า Plagiarism ไว้ว่า    การโจรกรรมทางวรรณกรรม (สาขาวรรณกรรม) หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (สาขานิติศาสตร์) หมายถึง การนำผลงาน ความคิด หรือคำพูดของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ให้เครดิตหรือ การนำความคิดและงานของผู้อื่นมาเขียน โดยทำให้ดูเหมือนว่ามาจากความคิดของตนเอง

ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณทางวิชาการอย่างร้ายแรง เป็นความไม่สุจริตทางวิชาการ (Academic Dishonesty) จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาชญากรรมทางวิชาการ

Continue reading Plagiarism ความไม่สุจริตทางวิชาการ

ว่าด้วยเรื่องของ DOI – ตัวระบุวัตถุดิจิทัล

ถ้าหากจะให้อธิบายอย่างรวบรัดที่สุดแล้ว DOI นั้นก็คือตัวระบุหนึ่งเช่นเดียวกับเลข ISSN และเลข ISBN ที่เราท่านน่าจะรู้จักกัน คือถูกใช้เพื่อจำแนกวัตถุหนึ่งออกมาจากกลุ่มของวัตถุ หรือก็คือเพื่อจำแนกแยกแยะวัตถุต่างๆออกจากกัน และยังสามารถใช้ DOI ร่วมกับตัวระบุเดิมอย่าง ISBN และ ISSN ได้อีกด้วย

banner-413

ระบบของตัวระบุวัตถุดิจิทัล หรือ (The digital object identifier – DOI®) นั้นเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานในการจำแนกแยกแยะวัตถุต่างๆให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยคำว่า digital object identifier นั้น มีความหมายไปในเชิงที่ว่าเป็น “ตัวระบุดิจิทัลของวัตถุ (digital identifier of an object)” มากกว่าที่จะเป็น “ตัวระบุของวัตถุดิจิทัล (identifier of a digital object)”

ระบบ DOI นั้นถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยกำหนดเลข DOI หนึ่งหมายเลขให้แก่วัตถุหนึ่งรายชื่อโดยถาวร เพื่อใช้เลข DOI นี้ในการเชื่อมโยงจากลิงค์ไปยังข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของวัตถุนั้น ซึ่งรวมไปถึงจุดที่วัตถุชิ้นนั้นอยู่, ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุนั้น หรือแม้กระทั่งว่าวัตถุนั้นยังพบบนอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่

ในขณะที่ข้อมูลของวัตถุเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เลข DOI นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามเลข DOI จะถูกแก้ไขโดยระบบในกรณีที่ต้องกำหนดค่าให้แก่ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ถูกระบุโดยเลข DOI นั้น เช่น URL, อีเมล์, ตัวระบุอื่นๆ และคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูล (metadata)

โดยขอบเขตของระบบ DOI นั้นจะอิงกับฟังก์ชันการทำงานที่กำหนดและบริบทของการใช้งาน ซึ่งก็คือการทำงานกับแอปพลิเคชั่นของเครือข่าย DOI เพื่อการระบุวัตถุอย่างชัดเจน เที่ยงตรง และละเอียด เพื่อคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูล และเพื่อการทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

 

รายการอ้างอิง

International DOI Foundation. (2013, November 13). DOI Handbook Introduction. Retrieved
September 26, 2014, from http://www.doi.org/doi_handbook/1_Introduction.html

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการวางแผนกลยุทธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

การสัมมนาบุคลากรเพื่อการวางแผนกลยุทธ์
การสัมมนาเพื่อการวางแผนกลยุทธ์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงาน สำนักหอสมุด และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติ เรือง การวางแผนกลยุทธ์ ระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน 2557 ที่ โรงแรมริเวอร์ไซด์ สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม เพื่อทบทวนแผนกลยุทธ์ของสำนักฯ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนา และเพื่อนำผลการพิจารณา ข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการดำเนินงาน สำนักหอสมุด ไปจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปีต่อไป

ระดมสมองกัน
ระดมสมองกัน
เริ่มได้แผนฯ
เริ่มได้แผนฯ
เตรียมนำเสนอ
เตรียมนำเสนอ

Overview of Information Literacy Resources Worldwide

International Information Literacy Logo
International Information Literacy Logo

ภาพจาก http://www.ifla.org/files/assets/information-literacy/Logo/new-ils-logo-79.jpg

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) หรือ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)  ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทในการสร้างความตระหนักในการเรียนรู้ การรู้สารสนเทศ (Information Literacy – IL) ได้จัดทำหรือรวบรวมสารสนเทศสำคัญทาง IL ขึ้นจากแหล่งสารสนเทศ IL ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก  ภายใต้ชื่อว่า “Overview of Information Literacy Resources Worldwide” ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการศึกษา การวิจัย และเป็นการสร้างความตระหนักให้เกิดกับคนทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลาย พื้นฐานและเชื้อชาติ ท่านที่สนใจติดตามอ่านได้ที่

http://www.unesco.org/new/fileadmin/MULTIMEDIA/HQ/CI/CI/pdf/news/overview_info_lit_resources.pdf