Tag Archives: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ญี่ปุ่นสมัยโชวะ ประวัติศาสตร์บอกเล่าจากพ่อสู่ลูก (Chichi Ga Ko Ni Kataru Showashi)

Chowa_01
ญีปุ่นสมัยโชวะ

ญี่ปุ่นสมัยโชวะ ประวัติศาสตร์บอกเล่าจากพ่อสู่ลูก (Chichi Ga Ko Ni Kataru Showashi) โดยผู้เขียน  โฮะซะกะ มะซะยะซุ (Hosaka Masayasu) แปลโดย สร้อยสุดา ณ ระนอง, ปราณี จงสุจริตธรรม เป็นเรื่องราวของการถ่ายทอดประวัติความเป็นมาของญี่ปุ่นสมัยโชวะ ให้แก่ลูกหลานและผู้อ่านรับทราบ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

รัชกาลที่ 5 : สยามอุษาอาคเนย์และชมพูทวีป (King Chulalongkorn : Siam-Southeast Asia-Jambudvipa)

รัชกาลที่ 5 : สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป (King Chulalongkorn : Siam-Southeast Asia-Jambudvipa) บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อรอนงค์ ทิพย์พิมล  เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับประเทศเพื่อนบ้านและเจ้าอาณานิคมของแต่ละประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

จิ้มก้องและกำไร : การค้าไทยจีน 2195-2396 (1652-1853 Tribute and Profit : Sino-Siamese Trade, 1652-1853)

tributecover

 

จิ้มก้องและกำไร : การค้าไทยจีน 2195-2396/1652-1853 Tribute and Profit : Sino-Siamese Trade, 1652-1853) ผู้เขียน สารสิน วีระผล (Sarasin Viraphol) ผู้แปล พรรณงาม เง่าธรรมสาร และคณะ ; บรรณาธิการ สารสิน วีระผล และ กัณฐิกา ศรีอุดม เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการค้าในระบบบรรณาการระหว่างไทยกับจีนที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและอยุธยา สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Chinese Society in Thailand : An Analytical History)

booklisthchine_02

สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Chinese Society in Thailand : An Analytical History) เขียนโดย จี.วิลเลียม สกินเนอร์ (G. William Skinner) แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ ส่วนบรรณาธิการ  คือ  ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นการศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลในไทย ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญทางสังคมของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ.2499 สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์

30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง
                                                           30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง

 

30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์ เป็นหนังสือในชุดสัมมนาประจำปี บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสมถวิล ลือชาพัฒนพร เป็นบันทึกการจัดสัมมนาเมื่อปลายปี 2549 หนังสือเล่มนี้ประเด็นหลัก ๆ กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ยังคงยึดหลักตามแนวทางที่ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้มอบไว้ให้ ในการผลิตตำรา คือ การผลิตเพื่อการเผยแพร่ผลงานวิชาการและเพื่อให้มีหนังสือดีๆ ให้แก่เยาวชนได้ใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียนและศึกษาค้นคว้าในระดับอุดมศึกษา มิใช่การผลิตเพื่อหวังผลกำไร

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้เปิดตัวเว็บไซต์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่รวบรวมหนังสือ และตำราที่ผลิตทั้งหมดในรูปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ http://textbooksproject.com/HOME.html ซึ่งในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นี้ ประกอบด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 12 ชุด ได้แก่ ชุดสรุปการสัมมนาประจำปี ชุดเพื่อนบ้านของไทยในอุษาคเนย์ ชุดประวัติศาสตร์ ชุดประวัติการเมืองไทย ชุดสิทธิมนุษยชน ชุดการศึกษา ชุดไทย-จีน ชุดไทย-ญี่ปุ่น ชุดสาละวิน-แม่น้ำโขง ชุดอยุธยา ภาษาต่างประเทศ และชุดเฉลิมพระเกียรติ ซึ่่งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะได้แนะนำเป็นลำดับต่อไป

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี (600 years of Thai-Japanese Relationships)

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี
                ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี (600 Years of the Thai-Japanese Relationships)  เป็นหนังสือในชุดไทย-ญี่ปุ่น ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เขียนโดย อิชิอิ โยเนโอะ และ โยชิกาวะ โทชิฮาระ (Yoneo Ishii, Toshiharu Yoshikawa) แปลโดย พลับพลึง คงชนะ, มารศรี มียาโมโต และ อาทร ฟุ้งธรรมสาร เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ที่ยาวนานถึง 600 ปี  ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

ควันหลงจากกิจกรรม รำลึก 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งจัดโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ณ โถงทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้น U 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา จะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์  ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นผู้ริเริ่มขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้มีการผลิตตำราทางวิชาการภาษาไทยมีคุณภาพ โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ Continue reading ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

การแถลงข่าว 99 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พร้อมฟังปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย”

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานแถลงข่าว 99 ปี ป๋วย  อึ๊งภากรณ์ พร้อมฟังปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย” ในวันจันทร์ที่  9 มีนาคม 2558 เวลา 13.30-16.00 บริเวณโถงทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

กำหนดการ

13.30 น.  ลงทะเบียน

14.00 น.

– กล่าวต้อนรับ โดย ศ.เกียรติคุณ เพ็ชรี สุมิตร ราชบัณฑิต ประธานมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

– กล่าวเปิดงาน โดย ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  ผู้ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2552 กรรมการและเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แผนกิจกรรมโครงการรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (จัดทำหนังสือชุด และเสวนา 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พุธที่ 9 มีนาคม 2559 ณ หอประชุมศรีบูรพา มธ.) โดย ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บรรณาธิการจัดทำหนังสือรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และกรรมการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

– เปิดตัวเว็บไซต์-อีไลบรารี มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คลังหนังสือและเอกสารดิจิตอล เพื่อมอบให้เป็นสาธารณะสมบัติ ให้ประชาชนเข้าถึงฟรี จัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2459-2559) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาตร์ และครบรอบ 50 ปี (2509-2559) มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาตร์และมนุษยศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราฯ (www.textbooksproject.com)

14.40 น.  ปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย” เนื่องในวาระครบรอบ 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2459-2558) โดย ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา

15.40 น.  เปิดนิทรรศการ “คนชื่อป๋วย” (A Man Called Puey) ประวัติ ผลงาน และเกียรติยศ จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ MBE ที่ ศ.ดร.ป๋วย ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่ง สหราชอาณาจักร จากวีรกรรมเสรีไทย สู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก พร้อมจัดแสดงรางวัลรามอน แมกไซไซ หรือโนเบลสาขาสันติภาพแห่งเอเชีย เชิดชูเกียรติคุณความดีสูงสุดในการทำงานเพื่ออุทิศตนทำงานบริการประชาชนในสังคมประชาธิปไตย

ร่วมเปิดนิทรรศการโดย (1) ศ.เกียรติคุณ เพ็ชรี สุมิตร ราชบัณฑิต (2) คุณจอน อึ๊งภากรณ์* (3) ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (4) ดร.ธาริษา วัฒนเกส* (5) นายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน* (6) คุณเตือนใจ ดีเทศน์* (7) คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า

พิธีกรตลอดงาน คุณอดิศักดิ์ ศรีสม
จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
*อยู่ในระหว่างการติดต่อ