Tag Archives: ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญีปุ่น

อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

20150521_09460820150521_094807

การสัมมนา TU-ASEAN Forum ครั้งที่ 10 เรื่อง   “อาเซียน  ไทย และ มหาอำนาจ  ในยุคแห่งการปฏิรูป” วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเชิดเกียรติ  อัตถากร รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ มากล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย อาเซียน และมหาอำนาจ ใน 3 ประเด็น ได้แก่

  1. ความท้าทายในภูมิภาค ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความซับซ้อน เศรษฐกิจกำลังเติบโตไปข้างหน้า ขณะที่ความขัดแย้งในภูมิภาคก็เพิ่มมากขึ้น มีการเผชิญหน้าระหว่างประเทศกันมากขึ้น เกิดการผงาดขึ้นของจีน (The Rise of China) จีนจัดตั้ง Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) มีประเทศที่เข้าร่วมถึง 51 ประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งของ International Monetary Fund (IMF) และ World Bank ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวเรือใหญ่ และ Asian Development Bank (ADB) ที่มีญี่ปุ่นเป็นหัวโจก    ขณะที่ญี่ปุ่นเองก็ปรับยุทธศาสตร์เพิ่มงบประมาณทางทหารเพื่อป้องกันประเทศ ทางสหรัฐอเมริกาก็แสดงบทบาทด้านความมั่นคงและทางทหารมากขึ้นในภูมิภาค
  2. ความท้าทายของอาเซียนในปัจจุบัน การรวมตัวของอาเซียนได้รับการยอมรับและมีจุดแข็งที่สามารถเข้ากับมหาอำนาจได้ อาเซียนเป็นประชาคมที่ยึดหลัก “ฉันทามติ”  มีบรรทัดฐานร่วมกัน และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน” เป็นประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคสงบสุข และแข็งแกร่ง ตลอดจนมีพลวัตและมองไปยังโลกภายนอก นอกจากนี้อาเซียนยังเป็นกลไกความร่วมมือของภูมิภาค รักษาความเป็นกลางในการดำเนินความสัมพันธ์ต่างๆ กับต่างประเทศที่เป็นคู่เจรจา สำหรับบทบาทของอาเซียนกับมหาอำนาจ หลังปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะเน้นย้ำเรื่องความมั่นคง การใช้หลักธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยชน
  3. ไทยจะดำเนินทิศทางอย่างไรในกรอบอาเซียนและกรอบมหาอำนาจ ไทยมีจุดแข็งในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการขยายการลงทุนของอาเซียน ขณะที่อาเซียนมีการเชื่อมโยงกับมหาอำนาจภายนอก มีการจัดทำการค้าเสรีกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ฯลฯ โดยสรุป ในการขับเคลื่อนประเทศไทยในศตวรรษที่ 21  ต้องคำนึงถึงบรรทัดฐานและค่านิยมในความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต้องรักษาสมดุลของประเทศสมาชิกและมหาอำนาจ ตลอดจนผลประโยชน์โดยรวม เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืน

Continue reading อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

จิ้มก้องและกำไร : การค้าไทยจีน 2195-2396 (1652-1853 Tribute and Profit : Sino-Siamese Trade, 1652-1853)

tributecover

 

จิ้มก้องและกำไร : การค้าไทยจีน 2195-2396/1652-1853 Tribute and Profit : Sino-Siamese Trade, 1652-1853) ผู้เขียน สารสิน วีระผล (Sarasin Viraphol) ผู้แปล พรรณงาม เง่าธรรมสาร และคณะ ; บรรณาธิการ สารสิน วีระผล และ กัณฐิกา ศรีอุดม เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการค้าในระบบบรรณาการระหว่างไทยกับจีนที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและอยุธยา สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Chinese Society in Thailand : An Analytical History)

booklisthchine_02

สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Chinese Society in Thailand : An Analytical History) เขียนโดย จี.วิลเลียม สกินเนอร์ (G. William Skinner) แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ ส่วนบรรณาธิการ  คือ  ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นการศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลในไทย ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญทางสังคมของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ.2499 สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์

30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง
                                                           30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง

 

30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์ เป็นหนังสือในชุดสัมมนาประจำปี บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสมถวิล ลือชาพัฒนพร เป็นบันทึกการจัดสัมมนาเมื่อปลายปี 2549 หนังสือเล่มนี้ประเด็นหลัก ๆ กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี (600 years of Thai-Japanese Relationships)

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี
                ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี (600 Years of the Thai-Japanese Relationships)  เป็นหนังสือในชุดไทย-ญี่ปุ่น ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เขียนโดย อิชิอิ โยเนโอะ และ โยชิกาวะ โทชิฮาระ (Yoneo Ishii, Toshiharu Yoshikawa) แปลโดย พลับพลึง คงชนะ, มารศรี มียาโมโต และ อาทร ฟุ้งธรรมสาร เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ที่ยาวนานถึง 600 ปี  ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่