Tag Archives: การทำสมาธิ

จุดประกายความคิดสร้างสรรค์

จุดประกายความคิดสร้างสรรค์  โดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล  ได้เล่าถึง 6 เทคนิคในการพัฒนาหรือจุดประกายความคิดสร้างสรรค์  ได้แก่

  1. การฟัง การพูด และการดู
    ตัวเราต้องไม่ทำเป็น “น้ำชาล้นถ้วย” ถ้าไม่ยอมเปิดรับความคิดใหม่ ก็ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ ดังนั้น การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คือ การออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น การเข้าร่วมฟังบรรยาย และพูดในงานสัมมนาต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ หรือดูย้อนหลังจากบรรยาย สัมมนาที่มีการบันทึกเป็นวิดีโอ ได้

    การชมภาพยนตร์ที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์หรือสร้างแรงบันดาลใจ เช่น Dead Poets Society, October Sky, Lorenzo’s Oil, Patch Adams และ Bean เวลาชมภาพยนตร์ลองมีมุมมองใหม่ว่า มีฉากไหนที่เราได้ข้อคิดที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือการทำงานได้ ไม่ได้ชมเพื่อความบันเทิงแต่เพียงอย่างเดียว

  2. การเขียนและจดบันทึก
    ความคิดสร้างสรรค์ของเราเกิดได้ตลอดเวลา ได้ทุกที่ ทุกเวลา ใน 3B คือ Bath (ห้องน้ำ) Bed (ห้องนอน) และ Bus (การเดินทาง) จึงต้องรีบจดไอเดียที่เกิดขึ้น

  3. การออกกำลังกายและการทำสมาธิ
    การออกกำลังกาย เช่น การเดินจงกรม โยคะ ไท้เก็ก ชี่กง สามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ดีๆ ได้ เพราะเป็นการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ มีใจจดจ่อเป็นสมาธิ การทำสมาธิทำให้จิตใจสงบ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีสติปัญญา

  4. ใช้พลังจิตใจใต้สำนึกให้เป็นประโยชน์
    ถ้าเราพยายามแก้ปัญหา เราอาจจะคิดหาทางแก้ปัญหาไม่ออก แต่พอเมื่อเราผ่อนคลายหรือทำอย่างอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น จิตใต้สำนึกของเรากำลังทำงานอยู่ ดังนั้น เมื่อจิตใต้สำนึกแก้ปัญหาให้เราได้แล้ว จะมีอาการที่เรียกว่า ปิ้งแว้บ ขึ้นมา

  5. ฝึกฝนกิจกรรมที่ใช้มือ
    การใช้มือได้อย่างคล่องแคล่วมีส่วนสัมพันธ์กับการพัฒนาสมอง จึงควรหากิจกรรมหรือสันทนาการที่ต้องใช้มืออย่างคล่องแคล่ว เช่น การเล่นรูบิค การถักนิตติ้ง การจัดดอกไม้ การวาดรูป การแกะสลัก เป็นต้น

  6. การสร้างความเชื่อมั่น
    ขอให้มีความเชื่อมั่นตัวเองเสมอว่า เรามีความคิดสร้างสรรค์ชั้นเยี่ยม แม้ว่าเราจะขาดแคลนต้นทุนภายนอกก็ตาม แต่ถ้าเรามีความเชื่อมั่นในความสามารถและศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่แล้ว ก็นับว่ามีต้นทุนภายใน จะมีหนทางเสมอในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม และวิดีทัศน์การบรรยายได้ค่ะ

รายการอ้างอิง
ธงชัย โรจน์กังสดาล.  จุดประกายความคิดสร้างสรรค์. การประชุมการสำนักงานวิทยทรัพยากร ประจำปี 2558 ก้าวไปด้วยกัน (Library 2015 : Together We Go) วันที่ 28 พฤษภาคม 2558. สืบค้นจาก http://www.car.chula.ac.th/con2015/brain/files/resources/10-innovation.pdf

ง่ายๆ ทำสมาธิโดยไม่ยุ่งยาก

ตามความเข้าใจคนส่วนใหญ่คิดกันว่า ถ้าจะนั่งสมาธิต้องสวมชุดสีขาว นั่งขัดสมาธิขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย  และหลับตา ที่วัดหรือที่สำนักสงฆ์ต่าง ๆ ความจริงแล้ว ไม่ต้องทำอย่างที่กล่าวก็ สามารถทำสมาธิได้ ด้วยการทำอานาปานสติคือ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก สามารถทำใด้  แม้นั่งที่โต๊ะทำงานก็สามารถทำได้ ด้วยการกำหนดรับรู้ลมหายใจเข้าลึกๆ ให้เต็มปอดแล้วค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกช้าๆ โดยกำหนดจิตให้ตามลมหายใจเข้า-ออกตาม  จะหลับตาหรือไม่ต้องหลับตาก็ได้ ฝึกปฏิบัติได้บ่อยๆ วันละหลายๆ ครั้ง จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีสติสมาธิดีขึ้น ทุกเพศทุกวัยปฏิบัติได้จะดีต่อตนเองและสังคม

20150227_140259ู้เขียน ขณะนั่งสมาธิอยู่ที่โต๊ะทำงาน

ผู้เขียนนั่งสมาธิ อยู่ที่โต๊ะเสมอๆ เพียงหายใจเข้าลึก ๆ – หายใจออกช้า ๆ

ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ

1. ส่งผลให้สมองโล่งปลอดโปร่ง เพราะการได้สูดอ๊อกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย

2. ทำให้จิตใจผ่องใส สงบไม่ฟุ้งซ้าน ช่วยคลายเคลียด

3. ผู้ฝึกสมาธิบ่อยๆ จะมีความจำดี มีการพิจารณาเรื่องต่างๆ รอบคอบ        นักเรียนนักศึกษาจะจดจำบทเรียนได้ดี

4. รู้จักระงับและควบคุมอารมณ์ให้เหมาะสมกับกาละเทศะได้มากขึ้น คือ ไม่แสดงความตื่นเต้นดีใจ เสียใจ หรือโกรธโมโหง่าย

5.มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงออกในสิ่งที่คิด

6. ทำให้จิดใจอ่อนโยนขึ้น เกิดความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

7.การฝึกสมาธินอกจากจะมีประโยชน์ด้านจิตใจแล้ว ยังได้ประโยชน์ด้านสุขภาพด้วย