Tag Archives: SMART PURSE

วิธีทำบัตรนักศึกษาให้เป็น smart purse

วิธีเติมเงินใส่บัตรนักศึกษาหรือเรียก smart purse เป็นบัตรเติมเงินอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง บัตรกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ชำระค่าสินค้าและ/หรือค่าบริการในกลุ่มประเภทบัตรเติมเงินและสามารถชำระค่าปรับหนังสือและค่าพิมพ์ผล

10984961_501783139961815_1970296330_n

1.ติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย  

สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต   สาขาท่าเตียน

สาขาลำปาง เขลางค์นคร   สาขาพัทยา (ถนนสุขุมวิท )

11005737_502770426529753_879316835_n

Continue reading วิธีทำบัตรนักศึกษาให้เป็น smart purse

Smart purse กับบัตรนักศึกษา มธ.

คนส่วนมากจะรู้จักคำว่า Smart purse กันเป็นอย่างดี มันคือการเก็บเงินสดไว้ในบัตรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้ชำระค่าสินค้าแทนเงินสด เป็นการสะดวก รวดเร็ว และคล่องตัว แต่ถ้าทำบัตรหายเท่ากับเราทำเงินหายด้วย

สำนักหอสมุด มธ. รับชำระค่าปรับหนังสือ และค่าพิมพ์งานในรูปแบบ Smart purse ร่วมกับบัตรนักศึกษา มธ. นักศึกษาสามารถเลือกช่องทางการเติมเงินสดในบัตรได้ 2 ช่องทาง คือที่เคาน์เตอร์บริการของธนาคารกรุงไทย และ ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

20150210_092737

การใช้งานเครื่อง EDC ง่ายนิดเดียวถ้าได้ปฎิบัติจริง

20150209_150104
เครื่อง EDC

เครื่อง EDC คือเครื่องที่ใช้ปรับค่าปรับนักศึกษาโดยใช้บัตร  SMART PURSE โดยที่นักศึกษาต้องไปเติมเงินเข้าบัตรที่ธนาคารกรุงไทยสาขาธรรมศาตร์ ท่าพระจันทร์ และสาขาศูนย์รังสิตก็ได้ก่อนถึงจะนำบัตรมาใช้กับเครื่อง EDC ได้   มีขั้นตอนง่ายๆดังนี้

Continue reading การใช้งานเครื่อง EDC ง่ายนิดเดียวถ้าได้ปฎิบัติจริง

การชำระเงินค่าปรับด้วยบัตรนักศึกษา SMART PURSE

การชำระเงินค่าปรับด้วยบัตรนักศึกษา เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกรุงไทยกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการชำระค่าปรับและเป็นการลดงานของเจ้าหน้าที่ในการเก็บเงินและส่งเงิน  นักศึกษาสามารถเติมเงินในบัตร SMART PURSE ได้ตั้งแต่ 50-3,000 บาทที่เครื่อง ATM ที่ให้บริการ ณ ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์และสาขาศูนย์รังสิต หรือติดต่อเติมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ได้

ขั้นตอนการชำระเงินด้วยบัตร  SMART  PURSE

1. นักศึกษายืนบัตรให้เจ้าหน้าที่่เพื่อทำการ Update ยอดเงินในบัตร

2. ระบุจำนวนเงินค่าปรับพร้อมแตะบัตร

3. เครื่อง EDC ตัดเงินในบัตรพร้อมออกสลิป

4. ทำ Settlement เพื่อสรุปยอดค่าปรับ ณ สิ้นวัน

ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานคิดว่าการชำระเงินค่าปรับด้วยบัตรมี ข้อดี ทำให้สะดวกและลดงานของเจ้าหน้าที่ในการเก็บรวบรวมเงิน  นับใบเสร็จ และส่งเงิน

ข้อเสีย นักศึกษาไม่สะดวกในการเติมเงินทำให้ค้างค่าปรับในชื่อนักศึกษาและมีบางคนไปเติมเงินมาแล้วมา Update  ยอดเงินในบัตรแล้วเงินเข้าบัตรไม่ครบขาดเป็น . สตางค์ก็มีนักศึกษาสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ไม่ทราบสาเหตอาจเป็นระยะแรกนักศึกษายังไม่คุ้นเคยแต่ในฐานะเจ้าหน้าที่คิดว่าดีคะ