All posts by นางเรณู นิลดี

การทำจดหมายขออนุญาตเผยแพร่ดิจิทัล

คำว่า “ลิขสิทธิ์” เป็นคำที่เราได้ยินได้ฟังกันบ่อย ๆ เราจะคิดทำจะทำอะไรที่ใหม่ ๆ หรือประดิษฐ์อะไรใหม่ขึ้นว่าต้องมีลิขสิทธิ์ การเขียนหนังสือก็มีลิขสิทธิ์ ดังนั้นเมื่อบุคลากร อาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย ได้ส่งตัวเล่มให้งานวางแผนและบริหารงานวิจัย สำนักงานบริหารการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของส่วนงานวางแผนและบริหารงานวิจัยเรียบร้อยแล้ว ได้ส่งตัวเล่มให้สำนักหอสมุดดำเนินการบริการเผยแพร่ สำนักหอสมุดจะนำตัวเล่มที่มีเนื้อหาฉบับเต็มของผลงานใส่ไว้ในเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลทางเครือข่าย Internet  แต่เนื่องจากผลงานวิจัยเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้เขียนดังนั้น สำนักหอสมุดจึงต้องติดต่อขออนุญาตจากผู้เขียนก่อน ตามแบบฟอร์ม เพื่อสะดวกต่อเจ้าของผลงานเจ้าหน้าที่จะพิมพ์ชื่อ นามสกุล หน่วยงานที่สังกัด แล้วพิมพ์ชื่อเรื่อง ตามตัวอย่าง

form-digital

เมื่อได้จดหมายอนุญาตเผยแพร่แล้ว จะส่งใบอนุญาต พร้อมตัวเล่มให้ฝ่ายสงวนรักษาวัสดุสารนิเทศเพื่อดำเนินการแปลงรูปทรัพยากรสารสนเทศเป็นดิจิทัล เมื่อฝ่ายสงวนรักษาฯดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะส่งตัวเล่มกลับคืนฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อติดบาร์โค้ต ประทับตราและวิเคราะห์เลขหมู่เพื่อให้บริการในรูปเล่มต่อไป

การพิมพ์จดหมายขอบริจาคหนังสือและสิ่งพิมพ์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงมีความจำเป็นต้องหาทรัพยากรเข้าห้องสมุด

ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าสำนักหอสมุดฯ ซึ่งมีทั้งการจัดซื้อ และการขอบริจาค จึงต้องมีการพิมพ์จดหมายขอความอนุเคราะห์เอกสารสิ่งพิมพ์จากหน่วยงานราชการ บริษัท และบุคคลสำคัญต่าง ๆ

เอกสารสิ่งพิมพ์ที่ประสงค์จะขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงาน ได้แก่ เอกสารที่พิมพ์เผยแพร่ในวงจำกัดหรือไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ เช่น รายงานการประชุมสัมมนา รายงานการศึกษา การสำรวจและวิจัย ซึ่งเอกสารดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลทั่วไป

หากท่านได้อ่านบทความนี้และมีความประสงค์จะบริจาคหนังสือและสิ่งพิมพ์ที่เป็นประโยชน์ให้แก่สำนักหอสมุด กรุณาจัดส่งที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จักขอบคุณยิ่ง

การลงทะเบียนวัสดุลักษณะพิเศษประกอบ

ผู้คัดเลือกหนังสือที่มีวัสดุฯประกอบ ต้องระบุไว้บนสลิปที่แนบกับตัวเล่มหนังสือว่ามีวัสดุฯ ประเภทใดประกอบ ดังตัวอย่าง

วัสดุลักษณะพิเศษประกอบ
วัสดุลักษณะพิเศษประกอบ

ผู้ทำหน้าที่ประทับตราห้องสมุดและติดบาร์โค้ดต้องตรวจดูหนังสือทุกเล่มว่ามีวัสดุฯประกอบแนบมาด้วยหรือไม่ เพราะผู้คัดเลือกอาจลืมระบุไว้บนสลิปดังกล่าว จากนั้นจึงนำหนังสือที่เป็นหลักมาประทับตรา  “มีวัสดุลักษณะประกอบ”สำหรับภาษาไทย และ “With accompanying materials” สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ โดยประทับตราที่หน้าปกในตรงมุมล่างด้านซ้ายด้วยหมึกสีแดง สำหรับวัสดุประกอบนั้นจะต้องประทับตราห้องสมุด ประทับวันที่ทำ ติดบาร์โคด และดำเนินการอื่น ๆ ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกันตามประเภท ดังนี้ Continue reading การลงทะเบียนวัสดุลักษณะพิเศษประกอบ

การรับหนังสือเข้าห้องสมุด

หนังสือทุกเล่มที่เข้าห้องสมุดต้องมีการประทับตราสัญญาลักษณ์ห้องสมุด ตราห้องสมุดจะมีด้วยกันสามห้องสมุด คือ ตราสำนักหอสมุด ตราห้องสมุดศูนย์พัทยา ตราห้องสมุดบุญชู ตรีทอง (ลำปาง)   ดังตัวอย่าง

ตราสัญญาลักษณ์ห้องสมุด
ตราสัญญาลักษณ์ห้องสมุด

ห้องสมุดที่ใช้ประทับตราหอสมุดด้วยหมึกสีน้ำเงิน มีดังนี้

  • ห้องสมุดปรีดี พนนยงค์ (ก)  ก หมายถึง ห้องสมุดกลาง
  • ห้องสมุด ศ.ดิเรก ชัยนาม (ร) ร หมายถึง รัฐศาสตร์
  • ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ (น)   น หมายถึง นิติศาสตร์
  • ห้องสมุดป๋วย  อึ้งภากรณ์ (ศ) ศ  หมายถึง เศรษฐศาสตร์
  • ห้องสมุดสังเวียน อินทรวิชัย(พบ)  พบ หมายถึง   พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี (พ) พ หมายถึง กลุ่มแพทย์ธรรมศาสตร์
  • ห้องสมุดคณะวารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (ว) ว หมายถึง  วารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
  • หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ (ปส)  ปส หมายถึง หอสมุดป๋วย รังสิต

Continue reading การรับหนังสือเข้าห้องสมุด

ตลาดน้ำวัดศาลเจ้า

จังหวัดปทุมธานีเป็นเขตปริมณฑลติดต่อกับกรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่หลายแห่ง  จึงขอแนะนำสถานที่ที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง คือ ตลาดน้ำวัดศาลเจ้า

เมื่อก่อนตลาดน้ำวัดศาลเจ้าเป็นเพียงชุมชนคนจีนอาศัยอยู่ริมคลองแม่น้ำอ้อม มีคนจีนปลูกเรือนแพอยู่ริมแม่น้ำปากคลองมีการค้าขายตลาดปากคลอง มีร้านก๋วยเตี๋ยวหมูนายทองสุข เป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำใสใส่หมูสับ กุ้งแห้งตัวเล็ก ๆ สีแดงลอยเต็มชามของรับรองว่าอร่อยมากๆ ร้านกาแฟโบราณ โบราณมาก ๆ ถ้าซื้อกาแฟดำร้อนกลับบ้านจะใส่กระป๋องนมเปิดผาเจาะรูต้องกลางผูกเซือก แต่ตอนนี้ร้านกาแฟนี้ได้เลิกไปแล้วพอมีการชื้อขายเกิดขึ้นมีชาวบ้านมีผัก ผลไม้จากสวนก็จะมาตั้งขายตรงบริเวณลานวัดศาลเจ้า ต่อมาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำขึ้น นายก อบต. บ้านกลาง เจ้าอาวาสวัดศาลเจ้ามีคิดที่จะทำสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึ่งมีการจัดตั้งเป็นตลาดน้ำวัดศาลเจ้า

ตลาดน้ำวัดศาลเจ้าเป็นตลาดเล็ก ๆ ที่มีชาวบ้านและคนในชุมชนมาทำการค้าขายกัน ยังอนุรักษ์ก๋วยเตี๋ยวหมูเจ้าเดิม (ตอนนี้เจ้าของเดิมไม่อยู่แล้ว)ลูก ๆ ทำแทน มีขนมกุ้ยช่าย เจ้ามล ขึ้นชื่อมาก มีใส่เผือก ใส่หน่อไม้ ใส่มันแกว

ห่อหมกตาเรศ มีห่อหมกหัวปลา พุงปลา เนื้อปลา ร้านขนมไทยโบราณ เช่นตะโก้ ถั่วแปบ ขนมใส่ไส้ ฯลฯ

ร้านกล้วยทอด มันทอด เต้าฮู้ทอด เผือกทอด ร้านมันทอดร้านนี้มีน้ำจิ้มด้วย หลักจากจับจ่ายอาหารอิ่มท้องแล้วอย่าลืมทำบุญถวายสังฆทานไหว้พระปิดทองรับศิลรับพรเพื่อให้จิตใจแจ่มใส ทำบุญแล้วก็ไปทำทานซื้อขนมปังอาหารปลาหน้าวัด

ตลาดน้ำวัดศาลเจ้าตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซอยวัดศาลเจ้า ตำบลบ้านกลาง จังหวัดปทุมธานี เปิดขายทุกวันเวลา 9.00- 15.00 น.วันเสาร์-อาทิตย์ คนจะมากหน่อย

เดินทางสะดวก จากแยกแครายวิ่งตามเส้นทาง ถนนติวานนท์ มุ่งหน้าปากเกร็ดปทุมธานี ผ่านแยกศรีสมาน ขับตรงไปทางบางพูน ก่อนถึงคอสะพานข้ามแยกบางพูนจะมองเห็นซุ้มประตูวัดมะขามอยู่ทางซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าวัดขับตรงไป ประมาณ 1 กิโลเมตร ผ่านอนามัยตำบลบ้านกลาง หาที่จอดรถที่ลานอบต. หลังอุโบสถวัดมะขาม (วัดมะขามกับวัดศาลเจ้าอยู่ติดกัน)

ถ้ามาจากวิภาวดี ก็เลี้ยวซ้ายไปทางปทุม ตรงแยกฟิวเจอร์ ขัยตรงไปสุดทางเจอสามแยกโรงพยาบาลสยามเซนคารอสเลี้ยวช้ายกลับรถใต้สะพานบางพูน เจอซุ้มประตูเข้าวัดเลี้ยวซ้ายเข้าวัดเลย