Tag Archives: สื่อสาระดิจิทัล

การใช้คอนเทนต์ในแต่ละ GEN

BuzzStream และ Fractl ได้สำรวจคนมากกว่า 1,200 คนจาก 3 generation คือ กลุ่ม Millennials (คนที่เกิดในช่วงปี 1981-1997) Gen X (คนที่เกิดในช่วงปี 1965-1980) และ Baby Boomers (คนที่เกิดช่วงปี 1946-1964) ผลบางส่วนเป็นดังนี้ค่ะ

1. ไม่น่าเชื่อเลยว่า คนยุค Baby Boomers ให้เวลาในการใช้คอนเทนต์ออนไลน์มากกว่า คนกลุ่ม Gen X และ Gen Y ซะอีก ร่วมๆ 25 ชั่วโมง

2. กลุ่ม Gen Y จะใช้คอนเทนต์ผ่าน mobile มากถึง 52 เปอร์เซ็นต์

3. เนื้อหาที่อ่านทุกกลุ่มอ่านมาก คือ บทความจากบล็อก รูปภาพ และคอมเมนต์

4. Platform ที่ใช้ในการแชร์มากที่สุด คือ Facebook และ YouTube

ติดตามผลการสำรวจในหัวข้ออื่น ได้ที่ http://www.socialmediatoday.com/marketing/2015-05-11/generational-content-gap-how-different-generations-consume-content-online

รายการอ้างอิง
Irfan Ahmad. The Generational Content Gap: How Different Generations Consume Content Online [INFOGRAPHIC]. Retrieved 10 June 2015 from http://www.socialmediatoday.com/marketing/2015-05-11/generational-content-gap-how-different-generations-consume-content-online

ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นพร้อมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ในปี พ.ศ. 2477 ด้วยระยะเวลาการก่อตั้งที่ยาวนาน ทำให้สำนักหอสมุดได้สั่งสมทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าในด้านเนื้อหาและการจัดพิมพ์เป็นจำนวนมาก

ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ ความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศให้คงอยู่ได้ด้วยรูปแบบการจัดเก็บและการนำเสนอที่แตกต่างออกไปโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการ การตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศโดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ การส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักหอสมุดจึงมีมุ่งมั่นที่จะพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักหอสมุดเริ่มต้นพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นด้วยการแปลงรูปทรัพยากรสิ่งพิมพ์เป็นรูปดิจิทัลในปี พ.ศ. 2544 โดยหนังสือหายากเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทแรกที่ได้รับการพิจารณานำมาจัดทำ เนื่องจากเป็นสิ่งพิมพ์ที่ทรงคุณค่าด้านเนื้อหาและด้านการพิมพ์ ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาดหรืออาจไม่มีในห้องสมุดอื่นๆ โดยมุ่งเน้นการทำสำเนาทรัพยากรในรูปดิจิทัลเพื่อให้เนื้อหายังคงอยู่ สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาค้นคว้าได้สืบไป ต่อมาสำนักหอสมุดมีการพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางในการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์เพื่อนำมาแปลงรูปเป็นดิจัล 4 ประเด็นคือ คุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ และเรื่องของลิขสิทธิ์

ปัจจุบันสำนักหอสมุดจัดเก็บดิจิทัลคอลเล็คชั่นในระบบ CONTENTdm ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่สามารถรองรับการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้หลายรูปแบบ ได้แก่ ไฟล์ในรูปแบบ Microsoft office, .pdf, MP4, Image, Video เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบสืบค้นแบบบูรณาการ (Integrated search) ที่สำนักหอสมุดจัดหามาใช้งาน ได้แก่ ระบบ One Search ของบริษัท Ebscohost และระบบ WorldCat Local ของ OCLC ซึ่งช่วยให้ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบ CONTENTdm สามารถสืบค้นผ่านระบบดังกล่าวได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว โดยบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุดโดยตรงได้ที่เว็บไซต์ http://beyond.library.tu.ac.th

Continue reading ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำจดหมายขออนุญาตเผยแพร่ดิจิทัล

คำว่า “ลิขสิทธิ์” เป็นคำที่เราได้ยินได้ฟังกันบ่อย ๆ เราจะคิดทำจะทำอะไรที่ใหม่ ๆ หรือประดิษฐ์อะไรใหม่ขึ้นว่าต้องมีลิขสิทธิ์ การเขียนหนังสือก็มีลิขสิทธิ์ ดังนั้นเมื่อบุคลากร อาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย ได้ส่งตัวเล่มให้งานวางแผนและบริหารงานวิจัย สำนักงานบริหารการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของส่วนงานวางแผนและบริหารงานวิจัยเรียบร้อยแล้ว ได้ส่งตัวเล่มให้สำนักหอสมุดดำเนินการบริการเผยแพร่ สำนักหอสมุดจะนำตัวเล่มที่มีเนื้อหาฉบับเต็มของผลงานใส่ไว้ในเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลทางเครือข่าย Internet  แต่เนื่องจากผลงานวิจัยเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้เขียนดังนั้น สำนักหอสมุดจึงต้องติดต่อขออนุญาตจากผู้เขียนก่อน ตามแบบฟอร์ม เพื่อสะดวกต่อเจ้าของผลงานเจ้าหน้าที่จะพิมพ์ชื่อ นามสกุล หน่วยงานที่สังกัด แล้วพิมพ์ชื่อเรื่อง ตามตัวอย่าง

form-digital

เมื่อได้จดหมายอนุญาตเผยแพร่แล้ว จะส่งใบอนุญาต พร้อมตัวเล่มให้ฝ่ายสงวนรักษาวัสดุสารนิเทศเพื่อดำเนินการแปลงรูปทรัพยากรสารสนเทศเป็นดิจิทัล เมื่อฝ่ายสงวนรักษาฯดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะส่งตัวเล่มกลับคืนฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อติดบาร์โค้ต ประทับตราและวิเคราะห์เลขหมู่เพื่อให้บริการในรูปเล่มต่อไป