All posts by นางกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า

หนังสือต้องห้าม : Banned Books

 

IMG_0141        หลังจากเหตุการณ์ฉุกละหุกหรือเหตุการณ์วิกฤตในปีพ.ศ.2523 จบลงแล้ว แทบจะลืมเรื่องหนังสือต้องห้ามไปเลย

ในปีพ.ศ. 2540 อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริได้มาขอให้รวบรวมหนังสือต้องห้ามจากราชกิจจานุเบกษา  หนังสือเล่มนี้เรียกได้ว่าเป็นหนังสือเล่มเดียวในโลกก็ว่าได้ (ปัจจุบันเก็บอยู่ที่มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์) ชื่อหนังสือเรียกว่า”รายชื่อหนังสือต้องห้าม”

Continue reading หนังสือต้องห้าม : Banned Books

หนังสือต้องห้าม : ประวัติศาสตร์เล็กๆ ของสำนักหอสมุด

IMG_0327

หนังสือต้องห้ามหมายถึง เอกสารและสิ่งตีพิมพ์ทุกชนิด ซึ่งเสนอข่าวสารบทความ และข้อเขียนแสดงความคิดเห็นอันส่อในทางก่อให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในชาติหรือชี้นำให้ผู้อ่านให้เกิดความนิยมเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ อันจะเป็นการทำลายความมั่นคงของชาติไม่ว่าในวิถีทางใด ให้เก็บริบและทำลายให้หมดสิ้น (คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่3)

Continue reading หนังสือต้องห้าม : ประวัติศาสตร์เล็กๆ ของสำนักหอสมุด

หนังสือที่ชอบอ่าน

5-7-2015 2-26-12 PM

ตามปกติแล้วชีวิตบรรณารักษ์จะมานั่งๆ นอนๆ อ่านหนังสือตามที่คนส่วนใหญ่กล่าวอ้างเห็นท่าจะมีน้อยคน เพราะวันหยุดก็ต้องใช้เวลากับครอบครัว วันทำงานก็ต้องอ่านหนังสือเพื่อคัดเลือกเข้าห้องสมุดมากกว่าที่จะอ่านเพื่อหาความสุข ถ้าต้องการทำวิจัยก็ต้องอ่านเพื่อหาความรู้ไปใช้งาน หนังสือเพื่อทำวิจัยนี้อ่านแล้วมีความรู้สึกเครียดมากกว่าพักผ่อน  หนังสือที่ชอบอ่านจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพและธรรมะ หนังสือเหล่านี้อ่านแล้วสบายใจนำมาปฏิบัติในชีวิตจริงได้ และหนังสือที่อยากจะแนะนำในที่นี้คือ หนังสือเรื่อง “ตัวกู-ของกู” นี้เป็นการรวบรวมธรรมบรรยาย 17 บท ของท่านพุทธทาส รวบรวมมาไว้ด้วยกัน ท่านพุทธทาสจะบรรยายธรรม โดยใช้คำที่เข้าใจง่ายแก่คนทั่วไปนำมาปฏิบัติได้ ใช้คำภาษาบาลีน้อยมาก  ถ้าท่านจะใช้คำบาลีก็จะมีคำบรรยายให้เข้าใจเสมอ

หนังสือเล่มนี้สำนักพิมพ์เพชรประกาย  ผู้รวบรวมและตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2549 เนื่องในวันครบ 100 ปีของท่านพุทธทาส เนื้อเรื่องกล่าวถึงความสำคัญของ “ตัวกู-ของกู” ว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิด ตัวกู-ของกู  การดับตัวกูในรูปแบบต่างๆ หรือการดับทุกข์นั่นเอง  การสร้างความรู้ความเข้าใจให้เท่าทันความทุกข์ทั้งปวง   อ่านจบแล้วก็จิตก็จะไม่ตกไปพักใหญ่ๆ  มีกำลังใจทำงาน มองปัญหาต่างๆให้ได้ชัดเจน

มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

คนส่วนใหญ่จะรู้จัก เรื่องคุณภาพแห่งชีวิต ปฎิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ( The Quality of Life of a South East Asian : A Chronicle of Hope from Womb to Tomb) และเป็นที่รู้จักกันดี ในเวลาต่อมาว่า “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ได้พิมพ์ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์
ปีที่11: ฉบับที่10 (ตุลาคม2516) ซึ่งในความจริงแล้วงานเขียนนี้เป็นเพียงภาคผนวกของ “ข้อคิดเรื่องการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับ ค.ศ.1980” (Thoughts on South East Asia’s Development for 1980)

บทความนี้ เดิมเขียนเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับการประชุมที่ New York เดือนมิถุนายน 2516 จัดโดย กลุ่มที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEADAG) ของสมาคมเอเชีย (Asia Society) แบ่งเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ความพยายามพัฒนาในอดีตและปัจจุบันเป้าหมายกับการปฏิบัติตอนที่ 2 ความต้องการของปัจเจกชน : อยู่ดีกินดี
ตอนที่ 3 ความรับผิดชอบของรัฐบาล
ตอนที่ 4 ความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนา Continue reading มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)