Tag Archives: อาเซียน

สะกดรอยสินไซ

 

32156

สะกดรอยสินไซ

            Continue reading สะกดรอยสินไซ

อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

20150521_09460820150521_094807

การสัมมนา TU-ASEAN Forum ครั้งที่ 10 เรื่อง   “อาเซียน  ไทย และ มหาอำนาจ  ในยุคแห่งการปฏิรูป” วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเชิดเกียรติ  อัตถากร รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ มากล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย อาเซียน และมหาอำนาจ ใน 3 ประเด็น ได้แก่

  1. ความท้าทายในภูมิภาค ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความซับซ้อน เศรษฐกิจกำลังเติบโตไปข้างหน้า ขณะที่ความขัดแย้งในภูมิภาคก็เพิ่มมากขึ้น มีการเผชิญหน้าระหว่างประเทศกันมากขึ้น เกิดการผงาดขึ้นของจีน (The Rise of China) จีนจัดตั้ง Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) มีประเทศที่เข้าร่วมถึง 51 ประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งของ International Monetary Fund (IMF) และ World Bank ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวเรือใหญ่ และ Asian Development Bank (ADB) ที่มีญี่ปุ่นเป็นหัวโจก    ขณะที่ญี่ปุ่นเองก็ปรับยุทธศาสตร์เพิ่มงบประมาณทางทหารเพื่อป้องกันประเทศ ทางสหรัฐอเมริกาก็แสดงบทบาทด้านความมั่นคงและทางทหารมากขึ้นในภูมิภาค
  2. ความท้าทายของอาเซียนในปัจจุบัน การรวมตัวของอาเซียนได้รับการยอมรับและมีจุดแข็งที่สามารถเข้ากับมหาอำนาจได้ อาเซียนเป็นประชาคมที่ยึดหลัก “ฉันทามติ”  มีบรรทัดฐานร่วมกัน และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน” เป็นประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคสงบสุข และแข็งแกร่ง ตลอดจนมีพลวัตและมองไปยังโลกภายนอก นอกจากนี้อาเซียนยังเป็นกลไกความร่วมมือของภูมิภาค รักษาความเป็นกลางในการดำเนินความสัมพันธ์ต่างๆ กับต่างประเทศที่เป็นคู่เจรจา สำหรับบทบาทของอาเซียนกับมหาอำนาจ หลังปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะเน้นย้ำเรื่องความมั่นคง การใช้หลักธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยชน
  3. ไทยจะดำเนินทิศทางอย่างไรในกรอบอาเซียนและกรอบมหาอำนาจ ไทยมีจุดแข็งในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการขยายการลงทุนของอาเซียน ขณะที่อาเซียนมีการเชื่อมโยงกับมหาอำนาจภายนอก มีการจัดทำการค้าเสรีกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ฯลฯ โดยสรุป ในการขับเคลื่อนประเทศไทยในศตวรรษที่ 21  ต้องคำนึงถึงบรรทัดฐานและค่านิยมในความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต้องรักษาสมดุลของประเทศสมาชิกและมหาอำนาจ ตลอดจนผลประโยชน์โดยรวม เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืน

Continue reading อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

หนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับอาชีพ

ปัจจุบันได้มีการประกาศออกมาแล้วว่ามี 8 อาชีพหลักที่สามารถโยกย้ายการทำงานได้อย่างเสรีในประเทศสมาชิก AEC 10 ประเทศ  ซึ่งอาชีพเหล่านี้ ได้แก่ 1.หมอ  2.พยาบาล  3.นักสำรวจ  4.มัคคุเทศก์  5.วิศวกร 6.ทันตแพทย์  7.สถาปนิก 8.นักบัญชี  ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่อาชีพเหล่านี้จะต้องมีการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่ใช้ในการทำงานมากขึ้น ขอแนะนำหนังสือ

CABHZDB4CARP5FXPCA9931SLCAIMCSIVCAUZL62UCALTGC7LCA7AXF0NCAJ14W1NCA2A77YICAMZS79SCAR3077YCAG1728VCAQ0OJHSCA1EFK55CA40PNLECACPUJMWCAQBBHL8CA6W0EUCCATRBYOACA5JGRBQ

1.  หนังสือชื่อ ELT ของ Pearson ที่สามารถรองรับอาชีพต่าง ๆ เหล่านี้          ได้แก่ English for Nursing ใช้ได้กับ อาชีพพยาบาล

2.  หนังสือชื่อ English for Oil Industry(ภาษาอังกฤษ สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมัน) ใช้ได้กับ อาชีพนักสำรวจ

3.  หนังสือชื่อ English for International Tourism ใช้ได้กับ อาชีพ         มัคคุเทศก์

  1. หนังสือชื่อTechnical English ใช้ได้กับอาชีพ วิศวกร

5.  หนังสือชื่อ English for Construction ใช้ได้กับอาชีพวิศวกร และ       สถาปนิก

  1. หนังสือชื่อ English for Banking & Finance ใช้ได้กับอาชีพ นักบัญชี

และในอนาคตต่อไปก็จะมีการเพิ่มอาชีพที่สามารถโยกย้ายการทำงานได้ใน AEC นี้มากขึ้น ซึ่งไม่ว่าอาชีพใดก็ตาม ภาษาอังกฤษ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นทั้งสิ้น

เล่าสู่กันฟัง ประวัติความเป็นมากีฬาซีเกมส์

อีกไม่กี่วันก็จะมีมหกรรมกีฬาของภูมิภาคอาเซียนกันอีกครั้งแล้วที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของการแข่งขันกีฬาของพวกเราชาวอาเซียนกันค่ะ

14290622951429062463l

(ขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์มติชน)

 

กีฬาซีเกมส์ (South-East Asian Games ชื่อย่อ : SEA Games) เป็นมหกรรมการแข่งขันกีฬาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งจัดขึ้นทุก 2 ปี เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ กีฬาซีเกมส์ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games Federation; SEAGF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA)

กีฬาซีเกมส์ ได้ริเริ่มก่อตั้งการแข่งขันขึ้นครั้งแรกเมื่อตอนที่มีการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 3 ที่กรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ.2501 (ค.ศ. 1958) โดยผู้แทนจากประเทศไทย พม่า(เมียนมาร์) ลาว และมาเลเซีย ได้แสดงความปรารถนาที่จะจัดให้มีการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่อยู่ในแหลมเอเชียอาคเนย์ด้วยกันเพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ และพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาเพื่อไปแข่งขันในรายการระหว่างประเทศที่ใหญ่กว่า Continue reading เล่าสู่กันฟัง ประวัติความเป็นมากีฬาซีเกมส์

Evolution of University Libraries and the Preparation for Integration in Asian Community by 2015

Evolution of University Libraries and the Preparation for Integration in Asian Community by 2015 โดย Somxay Khamphavong ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงพัฒนาการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศลาว ความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การเป็นสมาชิกของ AUNILO การเป็นสมาชิกของ eIFL เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง ความท้าทายในการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ การบูรณาการเป็นห้องสมุดอาเซียน คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

แอบหวังเล็กๆ จากอาเซียน

แอบหวังว่าผู้นำหรือพรรคการเมืองแต่ละชาติ ในอาเซียนจะมีนโยบายร่วมกัน สนับสนุนให้ประชาชนใช้พลังงานจากธรรมชาติ จากแสงแดด น้ำ หรือลม ให้เป็นจริงเป็นจัง และมากกว่าการใช้ก๊าซหรือถ่านหินซึ่งนับวันจะหมดไป หรือนิวเคลียร์ เป็นต้น เช่น รัฐซื้อโซลาร์เซลล์ราคาต้นทุนมาขายให้กับประชาชนในแต่ละครัวเรือน เพื่อจะได้ใช้พลังงานราคาถูกได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องง้อน้ำมัน ถ่านหินหรือก๊าซอย่างทุกวันนี้ (ซึ่งอยากจะขึ้นก็ขึ้น อยากจะลงก็ลง อันนี้ไม่แน่ใจนักแต่แอบหวังไว้สูง) Continue reading แอบหวังเล็กๆ จากอาเซียน

แนะนำมุม/ห้อง/Collection พิเศษ หอสมุดปรีดี อันทรงคุณค่า น่าค้นหา

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ใช่ว่าจะมีแต่หนังสือดีที่จัดหาไว้เพื่อสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น แต่ยังมีการสะสมหนังสือ หรือมี Collection สารสนเทศของบุคคลสำคัญและ/หรือสาระความรู้ที่มีความโดดเด่นและทรงคุณค่า ทั้งนี้ หอสมุดปรีดีฯ ได้พยายามจัดตกแต่งสถานที่ เพื่อให้มีบรรยากาศของการศึกษาความรู้ รวมทั้งค้นหาความสบายในการเข้านั่งในมุม/ห้องสถานที่นั้นๆด้วย

มุม/ห้อง/Colletion ที่มีในหอสมุดปรีดีฯ ได้แก่

ห้องอนุสรณ์ 100 ปี  ปรีดี พนมยงค์

IMG25580213002

ห้องอนุสรณ์ 100 ปี มีหนังสือเกี่ยวกับอาจารย์ปรีดีซึ่งท่านเป็นผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ ทั้งลายมือของอาจารย์ปรีดีเก็บไว้ในตู้นิทรรศการ  รวมทั้งภาพเขียน ของศิลปิน เทพศิริ สุขโสภา และคณะ ซึ่งเป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดจ้างสร้างห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ ไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อการศึกษา Continue reading แนะนำมุม/ห้อง/Collection พิเศษ หอสมุดปรีดี อันทรงคุณค่า น่าค้นหา

มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

คนส่วนใหญ่จะรู้จัก เรื่องคุณภาพแห่งชีวิต ปฎิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ( The Quality of Life of a South East Asian : A Chronicle of Hope from Womb to Tomb) และเป็นที่รู้จักกันดี ในเวลาต่อมาว่า “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ได้พิมพ์ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์
ปีที่11: ฉบับที่10 (ตุลาคม2516) ซึ่งในความจริงแล้วงานเขียนนี้เป็นเพียงภาคผนวกของ “ข้อคิดเรื่องการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับ ค.ศ.1980” (Thoughts on South East Asia’s Development for 1980)

บทความนี้ เดิมเขียนเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับการประชุมที่ New York เดือนมิถุนายน 2516 จัดโดย กลุ่มที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEADAG) ของสมาคมเอเชีย (Asia Society) แบ่งเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ความพยายามพัฒนาในอดีตและปัจจุบันเป้าหมายกับการปฏิบัติตอนที่ 2 ความต้องการของปัจเจกชน : อยู่ดีกินดี
ตอนที่ 3 ความรับผิดชอบของรัฐบาล
ตอนที่ 4 ความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนา Continue reading มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน” ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ระหว่างวันที่่ 18-19 ธันวาคม 2557 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและให้การสนับสนุนการศึกษา การวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยายพรมแดนความรู้และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาแก่คนและสังคมไทย ให้เป็นสังคมอุดมปัญญา พร้อมเปิดรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นจากการบูรณาการความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อันเป็นส่วนหนึ่่งในการส่งเสริมประชาคมอาเซียน ผ่านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)

ในงานสัมมนาดังกล่าว ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ และบุคลากรของสำนักหอสมุด คือ คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า  เป็นวิทยากรในการสัมมนา เรื่อง “ศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุด จดหมายเหตุ อาเซียน – อุษาคเนย์”  ในวันที่ 19 ธันวาคม 2557

สัดส่วนประชากรของไทยกับเพื่อนบ้าน ปีที่แล้ว ปีหน้า และอีก 21 ปีข้างหน้า

อ่านบทความ เรื่อง Aging Economies ?!? – สัดส่วนประชากรประเทศไทยและเพื่อนบ้าน 19 ปีที่แล้ว ปีหน้า และอนาคตอีก 21 ปี (1995 2015 และ 2035) จากเว็บไซต์ Thailand Investment Forum เปรียบเทียบประชากรของไทยกับเพื่อนบ้าน เมื่อ 19 ปีที่แล้ว ปีหน้า และในอีก 21 ปีข้างหน้า แล้วตกใจ ประเทศไทยจะมีประชากรพอในการสร้างชาติหรือ เพราะในบทความดังกล่าว วิเคราะห์ว่า สัดส่วนประชากรอาวุโสมีปริมาณมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมก้บประชากรวัยเด็กจะมีสัดส่วนลดลง ซึ่งเป็นผลให้จำนวนประชากรโดยรวมมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก การเกิด – การตาย มีค่าติดลบ

ประชากรไทย ปี 1995
                                          ประชากรไทย ปี 1995
ประชากรไทย ปี 2015
                                               ประชากรไทย ปี 2015
ประชากรไทย ปี 2035
                                       ประชากรไทย ปี 2035

ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่  http://thailandinvestmentforum.com/2014/12/03/population/