Category Archives: อาเซียน

The 3rd ASEAN Citation Index (ACI) Meeting for Steering Committee

ผู้แทนจาก สกอ. และหัวหน้าศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารไทยพร้อมด้วยตัวแทนจาก 9 ประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
ผู้แทนจาก สกอ. และหัวหน้าศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารไทยพร้อมด้วยตัวแทนจาก 9 ประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558  ที่ผ่านมา  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ได้จัดการประชุม “The 3rd  ASEAN Citation Index (ACI) Meeting for Steering Committee”  ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีท แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยได้เชิญผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย เพื่อรายงานถึงความก้าวหน้าการจัดทำฐานข้อมูลการอ้างอิงวารสารในกลุ่มประเทศอาเซียน Continue reading The 3rd ASEAN Citation Index (ACI) Meeting for Steering Committee

อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

20150521_09460820150521_094807

การสัมมนา TU-ASEAN Forum ครั้งที่ 10 เรื่อง   “อาเซียน  ไทย และ มหาอำนาจ  ในยุคแห่งการปฏิรูป” วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเชิดเกียรติ  อัตถากร รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ มากล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย อาเซียน และมหาอำนาจ ใน 3 ประเด็น ได้แก่

  1. ความท้าทายในภูมิภาค ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความซับซ้อน เศรษฐกิจกำลังเติบโตไปข้างหน้า ขณะที่ความขัดแย้งในภูมิภาคก็เพิ่มมากขึ้น มีการเผชิญหน้าระหว่างประเทศกันมากขึ้น เกิดการผงาดขึ้นของจีน (The Rise of China) จีนจัดตั้ง Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) มีประเทศที่เข้าร่วมถึง 51 ประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งของ International Monetary Fund (IMF) และ World Bank ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวเรือใหญ่ และ Asian Development Bank (ADB) ที่มีญี่ปุ่นเป็นหัวโจก    ขณะที่ญี่ปุ่นเองก็ปรับยุทธศาสตร์เพิ่มงบประมาณทางทหารเพื่อป้องกันประเทศ ทางสหรัฐอเมริกาก็แสดงบทบาทด้านความมั่นคงและทางทหารมากขึ้นในภูมิภาค
  2. ความท้าทายของอาเซียนในปัจจุบัน การรวมตัวของอาเซียนได้รับการยอมรับและมีจุดแข็งที่สามารถเข้ากับมหาอำนาจได้ อาเซียนเป็นประชาคมที่ยึดหลัก “ฉันทามติ”  มีบรรทัดฐานร่วมกัน และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน” เป็นประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคสงบสุข และแข็งแกร่ง ตลอดจนมีพลวัตและมองไปยังโลกภายนอก นอกจากนี้อาเซียนยังเป็นกลไกความร่วมมือของภูมิภาค รักษาความเป็นกลางในการดำเนินความสัมพันธ์ต่างๆ กับต่างประเทศที่เป็นคู่เจรจา สำหรับบทบาทของอาเซียนกับมหาอำนาจ หลังปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะเน้นย้ำเรื่องความมั่นคง การใช้หลักธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยชน
  3. ไทยจะดำเนินทิศทางอย่างไรในกรอบอาเซียนและกรอบมหาอำนาจ ไทยมีจุดแข็งในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการขยายการลงทุนของอาเซียน ขณะที่อาเซียนมีการเชื่อมโยงกับมหาอำนาจภายนอก มีการจัดทำการค้าเสรีกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ฯลฯ โดยสรุป ในการขับเคลื่อนประเทศไทยในศตวรรษที่ 21  ต้องคำนึงถึงบรรทัดฐานและค่านิยมในความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต้องรักษาสมดุลของประเทศสมาชิกและมหาอำนาจ ตลอดจนผลประโยชน์โดยรวม เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืน

Continue reading อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

อาเซียน : ควร / ไม่ควร

แม้วันนี้ “รู้เขา รู้เรา” จะไม่ต้องรบเพื่อชนะร้อยครั้ง แต่กลับเป็นการ “รู้เขา รู้เรา” เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม อะไร “ควร” “ไม่ควร” ยังเป็นสิ่งที่ต้องระวัง บางเรื่องเราก็ไม่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่กลับสำคัญ ผู้เขียนได้เก็บเรื่องราวจากประสบการณ์ และการได้พูดคุยกับผู้รู้ มาบอกเล่าในแง่มุมที่น่าสนใจ และจำเป็นสำหรับการเข้าสู่ประขาคมอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ที่เราอาจไม่เคยทราบมาก่อน เช่น การเดินทางไปพม่าต้องขอวีซ่าก่อน  หรือ มาเลเซียไม่อนุญาตให้นำรถที่ติดฟิล์มเข้มมากๆ เข้าประเทศ เป็นต้น

as

 

สำหรับหนังสืออาเซียน : ควร ไม่ควร ห้องสมุดมีให้บริการที่หมวด HIST DS 2013 615826 ค่ะ

รายการอ้างอิง

ทศมล ชนาดิศัย, และ พรเทพ โตชยางกูร. (2556). อาเซียน ควร ไม่ควร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์

เล่าสู่กันฟัง ประวัติความเป็นมากีฬาซีเกมส์

อีกไม่กี่วันก็จะมีมหกรรมกีฬาของภูมิภาคอาเซียนกันอีกครั้งแล้วที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของการแข่งขันกีฬาของพวกเราชาวอาเซียนกันค่ะ

14290622951429062463l

(ขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์มติชน)

 

กีฬาซีเกมส์ (South-East Asian Games ชื่อย่อ : SEA Games) เป็นมหกรรมการแข่งขันกีฬาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งจัดขึ้นทุก 2 ปี เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ กีฬาซีเกมส์ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games Federation; SEAGF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA)

กีฬาซีเกมส์ ได้ริเริ่มก่อตั้งการแข่งขันขึ้นครั้งแรกเมื่อตอนที่มีการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 3 ที่กรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ.2501 (ค.ศ. 1958) โดยผู้แทนจากประเทศไทย พม่า(เมียนมาร์) ลาว และมาเลเซีย ได้แสดงความปรารถนาที่จะจัดให้มีการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่อยู่ในแหลมเอเชียอาคเนย์ด้วยกันเพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ และพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาเพื่อไปแข่งขันในรายการระหว่างประเทศที่ใหญ่กว่า Continue reading เล่าสู่กันฟัง ประวัติความเป็นมากีฬาซีเกมส์

ประชาคมอาเซียนกับการส่งเสริมการอ่าน

ประชาคมอาเซียนกับการส่งเสริมการอ่าน โดย ดร.สุรพิชย์  พรหมสิทธิ์ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยกล่าวถึงประเทศในอาเซียนในภาพรวม เปรียบเทียบแต่ละประเทศในเรื่องของการอ่าน เช่น

  • อินโดนีเซีย มีการส่งเสริมให้คนในประเทศรักการอ่านตั้งแต่เด็กๆ ต้องมีโอกาส การเข้าถึงหนังสือ โดยเฉพาะห้องสมุด ร้านหนังสือ
  • สิงคโปร์ ห้องสมุดมีส่วนเชื่อมโยงประชาชนเข้าร่วมเป็นชุมชน ส่งผลให้ประเทศมีความเข้มแข็ง มีห้องสมุดมาก ใช้ห้องสมุดทุกกลุ่ม ทุกวัย
  • เวียดนาม มีนโยบายในการพัฒนาประเทศเชิงรุก สร้างวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมผ่านกิจกรรมการอ่านของประชาชนเวียดนาม
  • ฟิลิปปินส์ มีวาระ 10 ประการ ในการปฏิรูปการศึกษาของฟิลิปปินส์ เด็กทุกคนจะต้องเป็นนักอ่านตั้งแต่เรียนเกรด 1 มีการจัดโครงสร้างพื้นฐาน ห้องสมุด หนังสือเรียนให้ครบ ส่งเสริมให้เด็กนักเรียน อ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนอย่างน้อย 2 เล่มใน 1 ปี (ภาษาอังกฤษ และภาษาฟิลิปปินส์)
  • มาเลเซีย ยกให้การอ่านและการรู้หนังสือเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนความพยายามและเสริมสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ  มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการอ่าน พัฒนาโครงการวิจัย แผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการอ่านให้กับคนในชุมชน คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน

การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ ได้กล่าวในการประชุมวิชาการ ประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า การจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาคงต้องพร้อมที่จะก้าวไปกับสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด น่าจะต้องเตรียมการอย่างมากในเรื่อง ทรัพยากรสารสนเทศและบริการ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ทรัพยากรและบริการ เป็นการแบ่งปันทรัพยากร

สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ คือ ASEAN University Inter-Library Online (AUNILO) เป็นเครือข่ายย่อย ภายใต้ ASEAN University Network (AUN) นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ ที่้ต้องมีการพัฒนาสมรรถนะในเรื่องทัศนคติ ค่านิยม โดยเฉพาะในเรื่องความสามารถในการปรับตัว และพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งทักษะที่จะสามารถทำงานแบบข้ามวัฒนธรรม เช่น ความสามารถในการปรับพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ความตระหนักเรื่องการสื่อสาร สามารถสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรมและสามารถปรับการแสดงออกได้ตามสถานการณ์ ความสามารถในการค้นหาความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่นๆ และการปฏิบัติตามวัฒนธรรม และสามารถนำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์ การเคารพผู้อื่น มีการเปิดใจกว้าง และพร้อมรับและเข้าใจความเชื่อต่างๆ ในวัฒนธรรมอื่น และความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน

ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่

  1. เรื่องราวของ ASEAN
  2. Why ASEAN Community?
  3. ห้องสมุดยุคใหม่
  4. ห้องสมุดกับประชาคม ASEAN

ในหัวข้อห้องสมุดยุคใหม่ ได้เน้นถึงพลังของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เกิดการปรับบทบาทของพลเมืองทั่วโลก เพื่อสร้างความรู้ ใช้ความรู้ จัดการความรู้ และกระจายความรู้ “ห้องสมุดยุคใหม่” จึงจำเป็นต้องเป็นห้องสมุดที่ไม่มีผนังกั้น สนองความต้องการบริการที่หลากหลายและกว้างขวาง และไม่หยุดนิ่ง อย่างไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

ดังนั้น เมื่อจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บทบาทของห้องสมุดกับการเป็นประชาคมอาเซียนของไทย ก็คือ Continue reading ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน

แอบหวังเล็กๆ จากอาเซียน

แอบหวังว่าผู้นำหรือพรรคการเมืองแต่ละชาติ ในอาเซียนจะมีนโยบายร่วมกัน สนับสนุนให้ประชาชนใช้พลังงานจากธรรมชาติ จากแสงแดด น้ำ หรือลม ให้เป็นจริงเป็นจัง และมากกว่าการใช้ก๊าซหรือถ่านหินซึ่งนับวันจะหมดไป หรือนิวเคลียร์ เป็นต้น เช่น รัฐซื้อโซลาร์เซลล์ราคาต้นทุนมาขายให้กับประชาชนในแต่ละครัวเรือน เพื่อจะได้ใช้พลังงานราคาถูกได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องง้อน้ำมัน ถ่านหินหรือก๊าซอย่างทุกวันนี้ (ซึ่งอยากจะขึ้นก็ขึ้น อยากจะลงก็ลง อันนี้ไม่แน่ใจนักแต่แอบหวังไว้สูง) Continue reading แอบหวังเล็กๆ จากอาเซียน

มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

คนส่วนใหญ่จะรู้จัก เรื่องคุณภาพแห่งชีวิต ปฎิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ( The Quality of Life of a South East Asian : A Chronicle of Hope from Womb to Tomb) และเป็นที่รู้จักกันดี ในเวลาต่อมาว่า “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ได้พิมพ์ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์
ปีที่11: ฉบับที่10 (ตุลาคม2516) ซึ่งในความจริงแล้วงานเขียนนี้เป็นเพียงภาคผนวกของ “ข้อคิดเรื่องการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับ ค.ศ.1980” (Thoughts on South East Asia’s Development for 1980)

บทความนี้ เดิมเขียนเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับการประชุมที่ New York เดือนมิถุนายน 2516 จัดโดย กลุ่มที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEADAG) ของสมาคมเอเชีย (Asia Society) แบ่งเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ความพยายามพัฒนาในอดีตและปัจจุบันเป้าหมายกับการปฏิบัติตอนที่ 2 ความต้องการของปัจเจกชน : อยู่ดีกินดี
ตอนที่ 3 ความรับผิดชอบของรัฐบาล
ตอนที่ 4 ความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนา Continue reading มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน” ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ระหว่างวันที่่ 18-19 ธันวาคม 2557 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและให้การสนับสนุนการศึกษา การวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยายพรมแดนความรู้และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาแก่คนและสังคมไทย ให้เป็นสังคมอุดมปัญญา พร้อมเปิดรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นจากการบูรณาการความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อันเป็นส่วนหนึ่่งในการส่งเสริมประชาคมอาเซียน ผ่านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)

ในงานสัมมนาดังกล่าว ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ และบุคลากรของสำนักหอสมุด คือ คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า  เป็นวิทยากรในการสัมมนา เรื่อง “ศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุด จดหมายเหตุ อาเซียน – อุษาคเนย์”  ในวันที่ 19 ธันวาคม 2557