Tag Archives: การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

หนังสือต้องห้าม : Banned Books

 

IMG_0141        หลังจากเหตุการณ์ฉุกละหุกหรือเหตุการณ์วิกฤตในปีพ.ศ.2523 จบลงแล้ว แทบจะลืมเรื่องหนังสือต้องห้ามไปเลย

ในปีพ.ศ. 2540 อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริได้มาขอให้รวบรวมหนังสือต้องห้ามจากราชกิจจานุเบกษา  หนังสือเล่มนี้เรียกได้ว่าเป็นหนังสือเล่มเดียวในโลกก็ว่าได้ (ปัจจุบันเก็บอยู่ที่มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์) ชื่อหนังสือเรียกว่า”รายชื่อหนังสือต้องห้าม”

Continue reading หนังสือต้องห้าม : Banned Books

หนังสือต้องห้าม : ประวัติศาสตร์เล็กๆ ของสำนักหอสมุด

IMG_0327

หนังสือต้องห้ามหมายถึง เอกสารและสิ่งตีพิมพ์ทุกชนิด ซึ่งเสนอข่าวสารบทความ และข้อเขียนแสดงความคิดเห็นอันส่อในทางก่อให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในชาติหรือชี้นำให้ผู้อ่านให้เกิดความนิยมเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ อันจะเป็นการทำลายความมั่นคงของชาติไม่ว่าในวิถีทางใด ให้เก็บริบและทำลายให้หมดสิ้น (คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่3)

Continue reading หนังสือต้องห้าม : ประวัติศาสตร์เล็กๆ ของสำนักหอสมุด

การบันทึกรายการใน Sanayan

Sanayan คือ โปรแกรมโอเพนซอร์ส ที่สามารถจัดเก็บทั้งเอกสารดิจิทัลและลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดได้

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำโปรแกรมนี้ มาใช้เพื่อลดการสั่งซื้อหนังสือซ้ำกันของห้องสมุดสาขา ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ

สำหรับหนังสือใหม่ที่หอสมุดปรีดีฯจัดหามาจะนำรายชื่อหนังสือเหล่านี้ไปบันทึกข้อมูลในโปรแกรม Sanayan ซึ่งต้องตรวจสอบหนังสือในโปรแกรม Sanayan ก่อนว่าไม่มีหนังสือเล่มนี้เพื่อหนังสือจะได้ไม่ซ้ำกับห้องสมุดสาขาอื่นๆ ถ้าหนังสือซ้ำในโปรแกรม Sanayan จะไม่นำหนังสือบันทึกลงในฐานข้อมูล (นอกจากกรณีที่หนังสือไม่เพียงพอให้บริการกับอาจารย์และนักศึกษาจึงจะสั่งซื้อเพิ่ม) ถ้าหนังสือที่ตรวจสอบใน โปรแกรม Sanayan ไม่พบว่ามีในฐานข้อมูล ให้บันทึกลงในฐาน  ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ Continue reading การบันทึกรายการใน Sanayan

เลขหมู่ระบบใหม่ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรับกระบวนการทำงานในการกำหนดเลขหมู่หนังสือเพื่อให้สามารถทำตัวเล่ม ออกให้บริการโดยเร็ว และเพื่อสะดวกในการเข้าถึงหนังสือ รวมทั้งเพื่อง่ายต่อผู้ปฏิบัติงานในการจัดเรียงหนังสือบนชั้น โดยจำแนกหมวดหมู่ตามสาขาวิชาของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ทั้งสาขาวิชาหลัก และสาขาวิชาย่อย 61 สาขาวิชา เลขหมู่ระบบใหม่จะประกอบด้วย อักษรย่อสาขาวิชา อักษรหมวดในสาขาวิชา ปีพิมพ์ และหมายเลขระเบียนของทรัพยากรสารสนเทศ (คือ หมายเลขระเบียนบรรณานุกรมหรือ Bib No.)

ตัวอย่าง

EDU  หมายถึง  สาขาวิชาหลัก

LA      หมายถึง  สาขาวิชาย่อ History of Education

2014  หมายถึง  ปีพิมพ์

699999  หมายถึง  Bib.No.

รายละเอียดการกำหนดเลขหมู่ใหม่