ทุกๆท่านคงเคยพบกับเหตุการณ์ที่น่าเบื่อ หงุดหงิด รำคาญ แต่มันมีเหตุการณ์ๆหนึ่งที่ทำให้คนบางคนที่เจอแล้วต้องบอกได้เลยว่า หงุดหงิด กระวนกระวาย เดินไปเดินมาเหมือนเสือติดจั่นเหตูการณ์นั้นก็คือ รอ ถึงแม้ว่าบุคคลที่ทำให้เรารอจะสำคัญแค่ไหนถ้าเหตุการณ์ รอ เกิดขึ้นซ้ำซากมันก็ทำให้เรา หงุดหงิด กระวนกระวาย ได้เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นแฟนกันก็ถึงกับเลิกกันไปเลยก็มี การรอถ้าไม่สำคัญหรือมีความผูกพันเนื่องด้วยชีวิตก็คงไม่มีใครอยากจะรอสักเท่าไร เพราะการรอมันเป็นสิ่งที่ทรมาน แต่นี่มันเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตมันถึงได้อดทน รอ รอเพื่อความเป็นอยู่ของชีวิต อย่างเช่นกรณีที่ผมจะเล่าดังต่อไปนี้
All posts by นายเปรมชุธร รอดตรง
“ความเชื่อ”
เชื่อ, เชื่ออะไร? เชื่อทำไม? เชื่อได้อะไร? ช ช้าง สระ เอือ ไม้ เอก “เชื่อ” คำนี้คำเดียว วลีเดียว แต่มันชั่งมีความหมายต่อชีวิตคนมากมายเหลือเกิน มันมีพลังอำนาจที่สว่างและมืดในตัวของมันเอง ซึ่งมักจะทำให้มีทั้งคุณและโทษ แต่ละคนก็มีความเชื่อที่แตกต่างกันไปก็เนื่องจากว่ามีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง ได้เห็น ได้ยิน ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสมาที่แตกต่างกัน แม้แต่บางครั้งเราได้เห็นในสิ่งที่เหมือนกันเราก็ยังเชื่อไม่เหมือนกัน คิดไม่สอดคล้องกันไม่เป็นไปในแนวเดียวกัน เห็นเหมือนกัน ได้ยินเหมือนกัน แต่ความคิดกลับตรงกันข้าม เมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกันการพนันก็เกิดขึ้น ความ “เชื่อ” ตัวเดียว ทุกวันนี้คนเราวันๆมีสิ่งที่เชื่อมากมายเหลือเกิน เริ่มแรกก็เชื่อในสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง นี่ก็เป็นความเชื่อขั้นพื้นฐานติดตามมากับสิ่งที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้กิน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กก็มีไม่ต่างกัน เมื่อเกิดการยึดติดฝังความคิดอยู่กับสิ่งที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้กินก็เกิดความ เชื่อ ฝังอยู่ นี้แหละคือตัว “เชื้อ” ที่เป็นทั้งคุณและโทษ ใหม่ๆสิ่งที่ทำให้เชื่อได้มามักจะให้ คุณ มากกว่าเป็นโทษตัว “คุณ” นี้แหละที่คนเรามักจะพูดอยู่เสมอๆว่า ดี ดี ดี บางครั้งดีแตกมันก็เลย “ขม” Continue reading “ความเชื่อ”
หมอเปรม ปะทะ น้องบุคส์ กลางห้องสมุด มธ.
สวัสดีครับ ผมชื่อหมอเปรม แต่ไม่ใช่เป็นหมอรักษาคนไข้ในโรงพยาบาลทั่วไปนะครับ ผมเป็นหมอประจำห้องสมุด คลีนิกของผมชื่อว่า “ห้องคลังหนังสือกลางน้ำ” ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ข้างๆสหกรณ์ออมทรัพย์เยื้องกับศูนย์การเรียนรู้หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ไปมาหาสะดวกนั่งมอเตอร์ไซด์วินแวะชมได้ในเวลาราชการ (08.00-16.00น.) คลีนิกของเราจะรับซ่อมเฉพาะหนังสือของสมาชิก และ ห้องสมุดสาขาที่สังกัดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น เราไม่ได้รับแบบ EVENT ทั่วไป และท่านที่สนใจเกี่ยวกับการรักษาหนังสือ ซ่อมหนังสือ ที่เราบริการแนะนำหรือปรึกษาได้นะครับ อย่างเช่นวันนี้เราก็ได้แนะนำเกี่ยวกับการทำหนังสือที่เป็นคลื่นเกิดจากการเปียกน้ำของน้อง บุคส์
คลีนิคหนังสือ (๒) เรื่อง สันหลังเหวอะ
ภาพที่เราเห็นนี้ ก็จะทราบได้ทันทีว่ามันเป็นหนังสือสันโค้งเย็บกี่และปกก็หลุดออกจากตัวเล่ม การซ่อมก็ต้องดูภายในเล่มก่อนว่าตัวกระดาษภายในมีการหลุดออกจากกันหรือไม่ ถ้ามีการหลุดออกก็ต้องทำการติดกาวให้กระดาษในตัวเล่มหนังสืออยู่ในลักษณะที่มั่นคง
คลีนิคหนังสือ ( ๑ )
เครื่องหมาย สัญลักษณ์ มีความสำคัญต่อมนุษยชาติมาทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์มาจนถึงยุคปัจจุบัน เริ่มแรกมนุษย์รู้จักการใช้ เครื่องหมาย และ สัญลักษณ์ เป็นสื่อแทนอักษรพยัญชนะ ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับจาก เครื่องหมาย และ สัญล้กษณ์ เป็น ลายลักษณ์ อักขร พยัญชนะ ตามลำดับ
เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาในการใช้สื่อมากขึ้นและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้สื่อ ก็ต้องมีวัสดุเครื่องไม้เครื่องมือในการลงสื่อ เช่น ทำเป็นอักษรลิ่มลงไว้ในดินเผา (วัสดุ คือดิน) ลงไว้ในหนังคน หนังสัตว์ (วัสดุ คือ หนัง) ใบลาน (จารไว้ในใบลาน; ไทยโบราณ) และใบข่อย (กระดาษที่ทำจากเปลือกข่อย) จนกระทั้งตามถ้ำ ตามกำแพง สิ่งเหล่านี้คือวัสดุรองรับสื่อทั้งหลาย จนทุกวันนี้ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วแทบจะตามไม่ทัน ไม่ว่าจะอยู่ในวัสดุที่เป็นกระดาษ ที่ทำมาจากต้นไม้ หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุคส์ หรือแม้กระทั้งมือถือ วัสดุที่ทำการลงบันทึกสื่อที่เป็น สัญลักษณ์ ลายลักษณ์ อักษร เมื่อถูกใช้งานนานๆไปก็จะเกิดการชำรุด เมื่อเกิดการชำรุดก็ต้องมีการรักษาซ่อมแซม การรักษาซ่อมแซมก็จะแตกต่างกันไปตามวัสดุนั้นๆ เช่น การรักษาซ่อมแซม หนังสือ วัสดุที่เป็นหนังสืออัตลักษณ์ของมันก็จะแตกต่างกันไป วิธีการซ่อมก็จะแตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่ควรพึงระวังให้มากที่สุดก็คือ ตัว พยัญชนะอักษร อย่าให้ขาดหาย ถ้าตัว พยัญชนะอักษรขาดหายไปการสื่อสารก็จะไม่มีความหมาย ตัวกระดาษหนังสือก็ไม่เหมือนกัน บางเล่มกระดาษบางๆ บางเล่มกระดาษหนา บางเล่มกระดาษสีเหลือง บางเล่มกระดาษสีน้ำตาล บางเล่มกระดาษสีขาว บางเล่มกระดาษกรอบแค่จับนิดหน่อยก็หักหลุด บางเล่มติดสกอตเทป บางเล่มเย็บด้วยลวด (มีมากในวิทยานิพนธ์) สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการซ่อมมากที่เดียว จะเห็นได้ว่าการชำรุดของหนังสือนั้นมีหลายอาการดังจะเห็นในภาพต่อไปนี้
เมื่อเรารู้แล้วว่าอาการป่วยของหนังสือเป็นยังไง ขั้นตอนต่อไปก็ขึ้นเตียงวางยาสลบผ่าตัดรักษาตามอาการต่อไป (พบกันใหม่ในคลีนิคหนังสือ ๒ )