All posts by นางสาวพูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ

ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือตำรา (Textbooks) เป็นการแปลงข้อมูลจากตัวเล่มหนังสือเป็นสัญญาณดิจิทัล และเพิ่มศักยภาพการนำเสนอและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยการใช้ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การเปิดหน้าหนังสือ การสืบค้น การคัดเลือกข้อความที่ต้องการ

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือเสียง (Talking Books) จะมีเสียงอ่านเมื่อเปิดหนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้เหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรึอฝึกพูด เน้นคุณลักษณะด้านการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรและเสียง นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่ เป็นต้น

3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือภาพนิ่งหรืออัลบั้มภาพ (Static Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการจัดเก็บ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของภาพนิ่งหรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก เสริมด้วยการนำศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร การสำเนาหรือการถ่ายโอนภาพ การแต่งเติมภาพ การเลือกเฉพาะส่วนของภาพ (cropping) หรือเพิ่มข้อมูลเชื่อมโยงภายใน (Linking information) เช่น เชื่อมข้อมูลอธิบายเพิ่มเติม เชื่อมข้อมูลเสียงประกอบ

4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books)
เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพวีดิทัศน์ (Video Clips) หรือภาพยนตร์สั้น ๆ (Films Clips) ผนวกกับข้อมูลสนเทศที่อยู่ในรูปตัวหนังสือ (Text Information) ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้ ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์สำคัญ เช่น ภาพเหตุการณ์สงครามโลก ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ ของโลกในโอกาสต่าง ๆ ภาพเหตุการณ์ความสำเร็จหรือสูญเสียของโลก Continue reading ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)

สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์

แม้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์จะให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด แต่ก็มีบางสิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ให้ความคุ้มครอง ได้แก่ ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ นอกจากนั้นตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ยังกำหนดให้งานต่อไปนี้ไม่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์ คือ Continue reading สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์

โลกจะได้เวลาเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2558

279752-imagepng-437224

จาก โลกหมุนช้าลง องค์กรเวลาโลกเตรียมปรับเวลาเพิ่ม 1 วินาที 30 มิ.ย., แปลและเรียบเรียงโดย ติณระวัฒน์ บัญญัติ, 2558, กรุงเทพฯ: สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. สืบค้นจาก http://news.thaipbs.or.th/content/โลกหมุนช้าลง-องค์กรเวลาโลกเตรียมปรับเวลาเพิ่ม-1-วินาที-30-มิย

 ข่าวดีสำหรับคนไม่มีเวลา เมื่อ International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS)  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ติดตามการหมุนของโลกและให้บริการระบบอ้างอิง รวมทั้งตัดสินใจว่าจะเพิ่มหรือลดเวลาเมื่อใด ได้ประกาศว่าในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 จะมีการเพิ่มเวลา 1 วินาที หรือเรียกว่าอธิกวินาที ในเวลา 23.59.60 น. ซึ่งตรงกับเวลา 06.59.60 น. ของวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ในประเทศไทย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะนักวิทยาศาสตร์พบว่าในปัจจุบันโลกหมุนรอบตัวเองช้าลงเฉลี่ย 1/2,000 วินาทีต่อวัน การเพิ่มเวลาครั้งนี้เพื่อรักษามาตรฐานการประกาศเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาที่โลกใช้หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ

Continue reading โลกจะได้เวลาเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2558

งานหนังสือแห่งชาติ

งานหนังสือระดับชาติที่จัดเป็นประจำในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 งานใหญ่ ดังนี้คือ
1. งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (Thai National Book Fair)
2.  งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ (Book Expo Thailand)

1. งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (Thai National Book Fair)
เป็นงานจำหน่ายหนังสือและสื่อการศึกษา ที่มีบริษัทผู้ผลิตหนังสือ สำนักพิมพ์และร้านหนังสือ ร่วมออกร้านมากที่สุดในประเทศไทย ปกติจะจัดขึ้นราวปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2515 โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติร่วมกันจัดขึ้น ต่อมาภายหลังสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นผู้จัดงานด้วย งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่บริเวณโรงละครแห่งชาติ จากนั้นมีการย้ายสถานที่จัดงานไปหลายแห่ง ได้แก่ สวนลุมพินี โรงเรียนหอวัง ท้องสนามหลวง คุรุสภา และถนนลูกหลวง ข้างกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการกราบทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดงานเป็นประจำทุกปี ในปี 2546 ได้เพิ่มการจัดงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (Bangkok International Book Fair) ไปพร้อมกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติด้วย รวมทั้งได้ย้ายสถานที่จัดไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จนถึงปัจจุบัน

ตัวอย่างโปสเตอร์งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ครั้งที่ 41-43 (ปี 2556-2558)
41   42   43

Continue reading งานหนังสือแห่งชาติ

การจัดแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มจัดแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตั้งแต่ปี 2530 โดยส่วนใหญ่จะจัดเป็นประจำทุก 2 ปี ในวันคล้ายวันเกิดของท่าน คือ วันที่ 9 มีนาคม วัตถุประสงค์ของการจัดมี 3 ประการ คือ
1. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของศาสตราจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
2. เพื่อสดุดีและประกาศเกียรติคุณนักวิชาการที่มีผลงานทางวิชาการอัน
ดีเด่นและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การศึกษาและการค้นคว้าที่มี
ความเป็นเลิศทางวิชาการ

ในการจัดแต่ละครั้ง คณะเศรษฐศาสตร์จะคัดเลือกปาฐกจากนักวิชาการที่มีผลงานดีเด่น หรือบุคคลที่สนใจศึกษาความรู้ด้านสังคมศาสตร์ กอรปทั้งมีเกียรติประวัติอันแสดงถึงคุณธรรมและจิตสำนึกรับใช้และแก้ไขปัญหาสังคม Continue reading การจัดแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์