Tag Archives: e-Book

การจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ebook

ปัจจุบันมีความนิยมในการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ ebook เพิ่มมากขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลการจำหน่ายหนังสือของ Amazon ในปี 2017 พบว่า สัดส่วนการเติบโตของ ebook นั้นเพิ่มสูงกว่าสิ่งพิมพ์ในรูปแบบเดิมอย่างชัดเจน

Capture
ที่มา https://qz.com/1240924/are-ebooks-dying-or-thriving-the-answer-is-yes

Continue reading การจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ebook

Agreement คืออะไร ?

ผู้เขียนมีโอกาสได้ทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับ agreement ของฐานข้อมูลออนไลน์ วารสารออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และหนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (e-reference) พบว่ามีหลายประเด็นที่น่าสนใจ จึงอยากนำประสบการณ์มาแชร์กันค่ะ

agreement คือ สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสำนักหอสมุดและสำนักพิมพ์ หรือบริษัทผู้เป็นเจ้าของ content ซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ทำการตกลงกันเกี่ยวกับข้ออนุญาต (permitted use) ข้อห้าม (not permitted use) ผู้มีสิทธิ์ใช้ (authorized users) แหล่งที่ได้รับการอนุญาตในการเข้าถึง (authorized sites) และเครือข่ายที่ปลอดภัย (secure network) เป็นต้น โดยสัญญานี้ต้องมีการลงนามโดยผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายจะเก็บ agreement ที่ลงนามเรียบร้อยแล้ว คนละหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นเอกสารหลักฐานของการจัดหา/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ Continue reading Agreement คืออะไร ?

ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือตำรา (Textbooks) เป็นการแปลงข้อมูลจากตัวเล่มหนังสือเป็นสัญญาณดิจิทัล และเพิ่มศักยภาพการนำเสนอและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยการใช้ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การเปิดหน้าหนังสือ การสืบค้น การคัดเลือกข้อความที่ต้องการ

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือเสียง (Talking Books) จะมีเสียงอ่านเมื่อเปิดหนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้เหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรึอฝึกพูด เน้นคุณลักษณะด้านการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรและเสียง นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่ เป็นต้น

3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือภาพนิ่งหรืออัลบั้มภาพ (Static Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการจัดเก็บ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของภาพนิ่งหรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก เสริมด้วยการนำศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร การสำเนาหรือการถ่ายโอนภาพ การแต่งเติมภาพ การเลือกเฉพาะส่วนของภาพ (cropping) หรือเพิ่มข้อมูลเชื่อมโยงภายใน (Linking information) เช่น เชื่อมข้อมูลอธิบายเพิ่มเติม เชื่อมข้อมูลเสียงประกอบ

4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books)
เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพวีดิทัศน์ (Video Clips) หรือภาพยนตร์สั้น ๆ (Films Clips) ผนวกกับข้อมูลสนเทศที่อยู่ในรูปตัวหนังสือ (Text Information) ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้ ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์สำคัญ เช่น ภาพเหตุการณ์สงครามโลก ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ ของโลกในโอกาสต่าง ๆ ภาพเหตุการณ์ความสำเร็จหรือสูญเสียของโลก Continue reading ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)

แนะนำ Gale Virtual Reference ☺

gale

Gale Virtual Reference  คือ ฐานข้อมูลที่รวบรวมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาต่างๆที่สำนักหอสมุดและห้องสมุดสาขาจัดซื้อแบบถาวร ซึ่งมีหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ Business, Environment, History, Information and Publishing, Law, Medicine, Nation and World, Religion, Science, Social Science และ Technology

ในการเข้าดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ก็มีขั้นตอนที่ง่ายๆ เมื่อเลือกที่ปกหนังสือแล้ว จะปรากฏหน้า Table of Contents ของหนังสือเล่มนั้น ผู้ใช้สามารถเลือกหน้าที่ต้องการอ่านได้ตามความสนใจค่ะ

gale2

 

ภายในเนื้อหาจะมี function ที่หลากหลาย ดังนี้

gale3

 

1. Citation Tools     เครื่องมือสำหรับ export รายการอ้างอิง
2. Email                      ส่งอีเมล์แนะนำหนังสือ
3. Download            สามารถดาวน์โหลดบทความ เป็น PDF หรือ HTMLได้
4. Print                       สั่งพิมพ์
5. Translate Article     แปลบทความเป็นภาษาต่างๆได้มากกว่า 20 ภาษา รวมถึงภาษาต่างๆในอาเซียน
6. Listen                      เมื่อ Highlight ข้อความ จะสามารถอ่านออกเสียงได้
7. Download MP3            สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาเป็น MP3 ได้
8. Download PDF to eReader       สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาเป็นไฟล์ PDF ซึ่งใช้กับอุปกรณ์ eReader อื่นๆได้
9. Highlights and Notes  สามารถ Highlight ข้อความ และเพิ่มเติม Notes ต่างๆได้

สามารถใช้งานได้ที่ http://www.galesites.com/menu/tuth ค่ะ

 

รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

llll สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน วันนี้บรรณารักษ์ตัวจิ๋วมีข่าวมาบอก……..
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาได้มีการประชุม แถลงข่าว “ผลวิจัย การอ่าน คนไทยอ่านอะไร” ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ดำเนินการวิจัยโดย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและธุรกิจ ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) 

โดยผลสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทยภายใต้งานวิจัย “การศึกษาพฤติกรรมการอ่านและซื้อหนังสือของคนไทย” โดยได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายอายุ 15-69 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,432 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ในประเทศไทย

พบว่า พฤติกรรมการอ่านโดยทั่วๆ ไป ของคนไทย ซึ่งรวมไปถึงตำราเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นเช่นเว็บไซต์ ฯลฯ  ส่วนใหญ่ 88% ระบุว่า อ่าน อีก 12% ระบุ ไม่อ่านเลย โดยให้เหตุผลในเรื่องของการไม่มีเวลาอ่าน สายตาไม่ดี และไม่ชอบอ่านหนังสือ

150223102006yRhT

Continue reading รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

แนะนำการอ่าน e-book ของ Ebscohost ผ่าน application Bulefire Reader

สำนักหอสมุดมีบริการ e-book ผ่านทางหน้าเว็บของ EBSCOhost  ซึ่งการที่ผู้ใช้จะโหลด e-book ไปอ่านได้นั้น นอกจากการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้แล้ว ผู้ใช้จะต้องมีเครื่องมือในการอ่านคือ

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ notebook จะต้องติดตั้งโปรแกรม Adobe Digital Editions 1.7.1 หรือสูงกว่า
  2. โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ smart phone, ipad, tablet ที่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Apple และ Android จะต้องติดตั้ง application สำหรับอ่าน e-book ที่ชื่อว่า Bluefire Reader
  3. เครื่องอ่าน Kindle

blog

ในบล็อกนี้ จะแนะนำการโหลดหนังสือผ่านทาง Bluefire Reader

IMGP2725
Continue reading แนะนำการอ่าน e-book ของ Ebscohost ผ่าน application Bulefire Reader

กฎการซื้อหนังสือ 3 ข้อ เพื่อกระชับพื้นที่ (บ้าน)

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ได้ส่ง line มาแชร์ประสบการณ์เรื่องการซื้อหนังสือของอาจารย์ให้ฟัง เลยขออนุญาตอาจารย์เอามาแชร์กันต่อค่ะ

ด้วยความที่อาจารย์เป็นนักอ่านหรือนักอ่านโดยทั่วไป ก็อาจจะประสบปัญหาเดียวกับอาจารย์ คือ มีหนังสือเต็มบ้านจนไม่มีพื้นที่ อาจารย์จึงแจกหนังสือที่ไม่ค่อยได้อ่านหรือไม่เคยอ่านเลย ให้ลูกศิษย์หรือบริจาคให้ห้องสมุดหลายร้อยเล่ม เพื่อกระชับพื้นที่

อาจารย์ได้ตั้งกฎสามข้อในการซื้อหนังสือ ไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว ค่ะ

  1. ถ้ามีเล่มจริงกับ E-book อาจารย์จะซื้อ E-book เท่านั้น โดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษ จะซื้อ Kindle เท่านั้น เพราะ E-book ไม่ใช้พื้นที่ ยกเว้นว่าหนังสือจริงมีสีหรือดีกว่า E-book มาก
  2. อ่านหนังสือเล่มละสองเที่ยว จากนั้นตัดสินว่า จะเก็บเล่มนั้นต่อไปหรือมอบให้คนอื่น ถ้าซื้อเล่มใดมาแล้ว ไม่เคยอ่านเกิน 1 ปีขึ้นไป ต้องมอบให้คนอื่นทันที
  3. ทุกครั้งที่ซื้อหนังสือใหม่มา 1 เล่ม ต้องบริจาคหรือมอบเล่มเก่าให้คนอื่น 1 เล่ม เพื่อให้มีพื้นที่ว่างเสมอ

 

เป็นอย่างไรบ้างค่ะ กฎสามข้อของอาจารย์เข้าท่าทีเดียวค่ะ สำหรับผู้หญิงก็อาจจะนำไปใช้ร่วมกับการซื้อเสื้อผ้าก็ได้นะคะ เพราะมันก็ทำนองเดียวกันค่ะ เต็มตู้

ขอบคุณ อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาลมากค่ะ ที่ช่วยแชร์ประสบการณ์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในการเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

ปัจจุบันการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ (e-book) ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น นอกเหนือจากหนังสืออ่านทั่วไปแล้ว ขณะนี้หนังสือประกอบตำราเรียนและหนังสือวิชาการก็มีความต้องการใช้ในรูปแบบของ e-book มากขึ้นเช่นเดียวกัน ผู้ผลิตหรือสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์หนังสือประเภทนี้ก็ได้เริ่มหันมาผลิต e-book หนังสือวิชาการเพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว
นอกเหนือจากการจัดพิมพ์หนังสือเล่มตามปกติแล้ว สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้เริ่มผลิต e-book ควบคู่กันไปด้วยตามความพร้อมและความสนใจของผู้เรียน โดยเริ่มจัดทำและจำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 เป็นต้นมา สำหรับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ใช้หนังสือของสำนักพิมพ์ฯ ที่สำคัญมี 2 กลุ่มคือ 1) ผู้ใช้ตามสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานทางด้านการให้บริการทางการศึกษาและอบรม 2) ผู้ใช้ทั่วไป (individual) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้ร่วมมือกับบริษัท iGroup จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีศักยภาพและประสบการณ์การขาย e-book ประเภทวิชาการ ทำการผลิตและจำหน่าย e-book ของสำนักพิมพ์ฯ ซึ่งขณะนี้มี e-book จำหน่ายแล้ว 33 ชื่อเรื่อง และกำลังทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนรายละเอียด e-book ของสำนักพิมพ์ฯ มีดังนี้

  1. ช่องทางการจำหน่าย
    จำหน่ายผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท iGroup คือ www.igpublish.com/tupress (ไม่ได้ผ่านทาง Application)
  2. กลุ่มเป้าหมาย
    – กลุ่มลูกค้าตามสถาบันการศึกษา หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เป็นการจำหน่ายแบบขายส่ง (แบบ batch) ซึ่งผู้ใช้สามารถเปิดอ่านออนไลน์ได้ในหอสมุดของสถาบัน หรืออ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่สถาบันหรือหน่วยงานนั้นๆ เปิด IP Address หรือ User/Password ให้เข้าใช้
    – ลำดับต่อไปคือกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (individual) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ซื้อใช้งานได้ 3 อุปกรณ์ (devices)
  3. รูปแบบของ e-book
    – เป็นไฟล์แบบ PDF (ขณะนี้ยังเป็น PDF แบบธรรมดา แต่สำนักพิมพ์ฯ และบริษัท iGroup กำลังจะพัฒนาให้มีการใส่ clip เสียง และเชื่อมโยงข้อมูลภายในที่เรียกส่า hyperlink เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานให้มากขึ้น ภายในกลางปี 2558 นี้)
    – ไฟล์งานได้รับการครอบลิขสิทธิ์ดิจิทัล (DRM) ที่ได้มาตรฐาน
    – ผู้ซื้อสามารถเปิดอ่านบน App Reader บนอุปกรณ์ของตนเอง หรืออ่านผ่าน iViewer ซึ่งเป็นเครื่องมืออ่านของบริษัท iGroup ก็ได้
  4. ราคาของ e-book
    – ราคาขายจะต่ำกว่าหนังสือเล่มประมาณร้อยละ 10-15