Tag Archives: กฎหมายลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

จากเว็บไซต์ ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้กล่าวถึง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง จะมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน “Digital Economy” การแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เว็บไซต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตปลอดจากงานละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะกฎหมายฉบับนี้ได้ดึงให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต Continue reading พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ
วันพุธที่
17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมอโนมา
1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพมหานคร

การสัมมนาในวันนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อบรรณารักษ์และผู้อยู่ในแวดวงของห้องสมุดและจดหมายเหตุเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมา มักมีการถกเถียง สงสัย หรือไม่แน่ใจในการให้บริการของห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นการสำเนาสิ่งพิมพ์ที่มีในห้องสมุด การจัดทำดิจิทัลไฟล์ หรือแม้กระทั่งการแปลเอกสารเพื่อการปฏิบัติงานในห้องสมุด

จากการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่าน สิ่งซึ่งมักถูกอ้างอิงถึงเสมอเมื่อกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ คือมาตรา 32 วรรค 1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ที่มา : พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ Continue reading เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”

วันหนังสือโลกและลิขสิทธิ์ (World Book and Copyright Day)

ทุกวันที่ 23 เมษายน ถือว่าเป็นวันหนังสือโลกและลิขสิทธิ์ เนื่องจากในปี ค.ศ. 1616  เป็นวันที่กวีเอกของโลก อย่าง Cervantes, Shakespeare และ Inca Garcilaso de la Vega เสียชีวิตในวันนั้น นอกจากนี้ ยังเป็นทั้งวันเกิดและวันเสียชีวิตของนักเขียนอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น Maurice Druon, Haldor K.Laxness, Vladimir Nabokov, Josep Pla และ Manuel Mejía Vallejo

วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก (World Book and Copyright Day)
วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก (World Book and Copyright Day)

Continue reading วันหนังสือโลกและลิขสิทธิ์ (World Book and Copyright Day)

สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์

แม้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์จะให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด แต่ก็มีบางสิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ให้ความคุ้มครอง ได้แก่ ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ นอกจากนั้นตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ยังกำหนดให้งานต่อไปนี้ไม่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์ คือ Continue reading สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายความลับทางการค้าฉบับใหม่

การเปิดงานสัมมนา
การเปิดงานสัมมนา

 

วิทยากรบรรยายทั้ง 4 ท่าน
วิทยากรบรรยายทั้ง 4 ท่าน

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558 บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมงานสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ “กฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายความลับทางการค้าฉบับใหม่” เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ในการกำหนดความผิดสำหรับการทำซ้ำในโรงภาพยนตร์ และกำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับคนพิการ การคุ้มครองการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง  และร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Continue reading กฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายความลับทางการค้าฉบับใหม่