All posts by นางสาวจรรยา สุขพินิจ

ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บุคลากรส่วนใหญ่จะทราบถึงสิทธิประโยชน์ของตนเอง แต่อาจจะไม่ทราบว่ามีสวัสดิการอะไรบ้างที่จะได้รับจากการปฏิบัติงานในระบบราชการ

สวัสดิการ คือค่าตอบแทนที่บุคลากรได้รับจากทางราชการนอกเหนือจากเงินเดือน เพื่อช่วยให้มีความมั่นคงในชีวิต ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดสวัสดิเป็นแบบตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ดังนี้

สวัสดิการที่เป็นตัวเงิน

  1. สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
    • เงินสมทบค่ารักษายาบาล
    • การตรวจสุขภาพประจำปี
    • จัดกระเช้าเยี่ยมผู้ป่วยซึ่งเป็นคนไข้ในโรงพยาบาล
  2. สวัสดิการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (ช่วยเหลือค่าดอกเบี้ย)
  3. สวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือการศึกษาบุตร
  4. สวัสดิการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพ
    • การประกันชีวิต อุบัติเหตุ
    • การประกันชีวิต อุบัติเหตุ และสุขภาพ ของพนักงานมหาวิทยาลัย และบุคคลในครอบครัว
  5. สวัสดิการช่วยเหลือค่าทำศพ
  6. เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ
  7. เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย)
  8. เงินช่วยเหลือค่าหน่วยกิตในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท
  9. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  10. กองทุนประกันสังคม
  11. เงินช่วยเหลือค่าเครื่องแบบลูกจ้าง
  12. ของที่ระลึกเนื่องในวันเกิด
  13. เงินช่วยเหลือค่าแว่นตา (สำนักหอสมุดเป็นผู้ดำเนินการ)
  14. การรับบำเหน็จบำนาญ ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/web-new/record/htm/super.htm  http://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/web-new/record/htm/gratu.htm

Continue reading ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การลงเวลาปฏิบัติงาน

เดิมการลงเวลาปฏิบัติงาน บุคลากรต้องเซ็นชื่อในการเข้าและออกงาน ซึ่งมีเวลาที่กำหนดว่าหมายถึงการมาสาย โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลมาขีดเส้นน้ำเงิน (มาหลัง 8.16 น.)  และเส้นแดง (มาหลัง 8.31)  ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนการลงเวลาปฏิบัติงานโดยการใช้บัตรประจำตัวบุคลากรในการอ่านบาร์โค้ดเพื่อบันทึกเวลาปฏิบัติงานแทนการเซ็นชื่อ ซึ่งมีการเพิ่มเวลามาสายอีกหนึ่งเส้น คือเส้นเขียว (มาหลัง 8.01)  ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จึงได้มีการปรับเปลี่ยนการลงเวลาปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นการสแกนลายนิ้วมือแทนการใช้บัตร

ข้อดีของการลงเวลาปฏิบัติงานด้วยเครื่องสแกนลายนิ้วมือ

  1. สามารถประมวลผลเวลาปฏิบัติงาน การมาสาย การลา การทำงานล่วงเวลาของบุคลากรได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  2. ป้องกันการลงเวลาปฏิบัติงานแทนกัน
  3. ใช้งานง่าย สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว
  4. ลดความยุ่งยากของพนักงานและฝ่ายบุคคล
  5. ข้อมูลทั้งหมดถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัยบนฐานข้อมูลของระบบ
  6. รวบรวมข้อมูลสรุปรายงานต่างๆ ได้โดยสะดวก

ในส่วนของการปฏิบัติงานของผู้เขียน คือ ดูแลระบบการลงเวลาปฏิบัติงานด้วยการสแกนลายนิ้วมือและสรุปข้อมูลการทำงาน รวมถึงการลาของบุคลากรส่งให้มหาวิทยาลัยทุกเดือน  ในแต่ละวันต้องมีการตรวจสอบการสแกนลายนิ้วมือของบุคลากร ทั้งการเข้ามาทำงานและการเลิกจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความสอดคล้องกัน อาทิ เช่น มีการสแกนการเข้างาน แต่ไม่มีการสแกนลายนิ้วมือ เมื่อเลิกงาน อาจจะเกิดจากการลืมสแกน หรือ การต้องไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ แต่ไม่ได้แจ้งหรือส่งหลักฐานที่ไม่ได้สแกนนิ้วในวันดังกล่าว จึงขอความร่วมมือจากบุคลากรทุกท่านในการสแกน และส่งหลักฐานต่างๆ  ประกอบให้ครบถ้วน กรณีที่เกิดเหตุที่ไม่มีการสแกนลายนิ้วมือ ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีการติดตามให้มีข้อมูลครบถ้วนและเพื่อผลประโยชน์ของบุคลากรแต่ละท่านด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ เหรียญจักรพรรดิมาลา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ ที่ใช้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน  บุคลากรที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานมหาวิทยาลัย จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของงานบุคลากร รับผิดชอบเรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา โดยในส่วนงานที่ผู้เขียนรับผิดชอบนั้น ต้องตรวจสอบรายชื่อบุคลากรที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยทำบัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการซึ่งเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งต้องตรวจสอบและบันทึกประวัติการได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นแรกจนถึงชั้นปัจจุบันที่เสนอขอในแต่ละปี และเสนอไปทางมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการต่อไป Continue reading เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ เหรียญจักรพรรดิมาลา

ก้าวต่อไป : เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ

วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตาจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้แถลงต่อประชาคมธรรมศาสตร์ เรื่อง ก้าวต่อไป : เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ ในเวลา 12.30 – 16.00 น. ณ ห้อง SC 1002 อาคารเรียนรวมกลุ่มสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในการพูดเพื่อทำความเข้าใจ เรื่องการออกนอกระบบราชการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง โค้งสุดท้าย : ก่อนธรรมศาสตร์ออกนอกระบบราชการ” ซึ่งก่อนหน้าที่ท่านอธิการบดีจะขึ้นพูดนั้น ได้มีการเชิญกรมบัญชีกลาง และ กบข. มาชี้แจงสิทธิผลประโยชน์ที่ข้าราชการจะได้รับ

ท่านอธิการบดีกล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ โดยเรียกกันทั่วไปว่ากฎหมายออกนอกระบบราชการหรือถ้าเรียกเป็นทางการคือมหาวิทยาลัยในกำกับ และขอแจ้งว่าการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกนอกระบบราชการไม่ได้หมายถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแต่ยังเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ต่อไป Continue reading ก้าวต่อไป : เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วันลาแต่ละประเภทในระบบลาออนไลน์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ระบบลาออนไลน์ เพื่อลดการใช้กระดาษและอำนวยความสะดวกให้บุคลากรในการยื่นใบลาไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ขอแค่สามารถเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตได้เท่านั้น  ตอนนี้ เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่าสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติการใช้วันลาในระบบลาออนไลน์ ได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบการลาของมหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วันลาแต่ละประเภทในระบบลาออนไลน์

  • การลาพักผ่อน

๑.๑  ต้องลาล่วงหน้าก่อนวันที่ลาและต้องได้รับอนุญาตการลาในระบบแล้วจึงหยุดราชการได้

๑.๒  กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นต้องลาหยุดในวันนั้นจะไม่สามารถใช้ลาพักผ่อนได้ทั้งครึ่งวันและเต็มวัน ขอให้ใช้ลากิจส่วนตัวหรือลาป่วยแทน โดยขอให้ใส่ช่องหมายเหตุว่า “ลาฉุกเฉิน”  ในระบบด้วย

  • การลากิจส่วนตัว ต้องลาล่วงหน้าก่อนวันที่ลาและต้องได้รับอนุญาตการลาในระบบแล้วจึงหยุดราชการได้
  • กรณีมีเหตุจำเป็นต้องลาล่วงหน้าในวันหยุดราชการ สามารถลาได้แต่ควรโทรแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อเข้าไปรับทราบใบลาและแจ้งผู้อนุญาตในระบบตามลำดับ หากผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเข้าไปดำเนินการผ่านในระบบได้ อาจจะต้องรับทราบและอนุญาตใบลาย้อนหลังได้เป็นกรณีไป
  • การลาป่วย สามารถลาในวันที่ลาป่วยหรือส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการได้