Category Archives: การทำงาน

หลักคิดของผู้เกษียณ…บทเรียนการทำงานจากพี่สู่น้อง

รัมภาพร สำรองกิจ
รัมภาพร สำรองกิจ

นางรัมภาพร สำรองกิจ

33 ปี กับหน้าที่ เลขานุการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  

เริ่มบรรจุเข้ารับราชการที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2523 เริ่มทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ซึ่งในสมัยนั้น ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คือ  ผศ.ผกายวรรณ เต็มเจริญ   งานแรกที่ได้มอบหมายและถือเป็นผลงานที่สร้างความภูมิใจในการทำงานในช่วงนั้น คือ การสำรวจครุภัณฑ์ของห้องสมุดทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การออกแบบสำรวจ กำหนดเลขทะเบียนครุภัณฑ์ และลงบัญชีครุภัณฑ์ Continue reading หลักคิดของผู้เกษียณ…บทเรียนการทำงานจากพี่สู่น้อง

ผอ.หอสมุดแห่ง มธ. ตั้งเป้าพัฒนาเป็นห้องสมุดทุกที่ ห้องสมุดทุกเวลา เน้น สะดวก ครบครัน ทันสมัย

ผศ.เอกรินทร์ ยลระบิล
ผศ.เอกรินทร์ ยลระบิล

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกรินทร์ ยลระบิล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บริหารคนใหม่ที่มาพร้อมแนวคิดในการพัฒนาห้องสมุดสู่องค์กรเพื่อการเรียนรู้แนวใหม่ เดินหน้าสานต่อนโยบาย “ห้องสมุดทุกที่ ทุกเวลา ( Library Everywhere Library Every Time) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้ามาใช้บริการได้ทุกที่ ทุกเวลา สร้างความสะดวก เพิ่มรวดเร็วในการให้บริการมากยิ่งขึ้น” ผลักดันสู่ “สังคมแห่งการเรียนรู้แนวใหม่” Continue reading ผอ.หอสมุดแห่ง มธ. ตั้งเป้าพัฒนาเป็นห้องสมุดทุกที่ ห้องสมุดทุกเวลา เน้น สะดวก ครบครัน ทันสมัย

การเก็บสถิติการจองหนังสือในระบบ KOHA

การเก็บสถิติการใช้บริการการจองทรัพยากรสารสนเทศ  ใน Circulation Module  ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA   สามารถเก็บสถิติได้ทั้งแบบรายวัน  รายเดือน  และรายปี  มีขั้นตอนที่ทำได้ง่ายและไม่
ยุ่งยาก  ดังนี้
ขั้นตอนการเก็บสถิติการจองหนังสือในระบบ KOHA

ขั้นตอนการ Update ข้อมูลประตูอัตโนมัติ กรณีนักศึกษาจบการศึกษา

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะ Update ข้อมูลนักศึกษาที่แจ้งจบการศึกษาตามข้อมูลสำนักทะเบียนและประมวลผลส่งมา เพื่อตรวจสอบหนังสือค้างส่งของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีกี่เล่ม และมีค่าปรับในการยืมหนังสือหรือไม่กรณีถ้ามีเจ้าหน้าที่ยืม-คืนจะล็อคข้อมูลในการขึ้นทะเบียนบัณฑิตที่หน้าเว็บไฃต์ของสำนักทะเบียนฯ และจะกำหนดวันหมดอายุการยืมหนังสือในห้องสมุด จากนั้นจะส่งรายชื่อมาให้เจ้าหน้าที่ในการล็อคข้อมูลในการเข้าใช้ประตูอัตโนมัติด้วย Continue reading ขั้นตอนการ Update ข้อมูลประตูอัตโนมัติ กรณีนักศึกษาจบการศึกษา

การเก็บสถิติยืม–คืนหนังสือในระบบ KOHA

การเก็บสถิติการใช้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ใน Circulation Module  ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA  สามารถเก็บสถิติได้ทั้งแบบรายวัน  รายเดือน  และรายปี  มีขั้นตอนที่ทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก  ดังนี้
ขั้นตอนการเก็บสถิติยืม–คืนหนังสือในระบบ KOHA

ประโยชน์ของการได้รับการอบรม

tes3

ลืมกันยัง….!!!! ว่าบุคลากรทุกคนของสำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะต้องลงบันทึกชั่วโมงการอบรมของตัวเอง  ไม่ว่าจะไปอบรมที่ไหนเรื่องอะไรในแบบฟอร์มการอบรมของบุคลากร  เพื่อประโยชน์ของตัวเองและสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Continue reading ประโยชน์ของการได้รับการอบรม

วิธีการส่งทรัพยากรสารสนเทศ WorldShare ILL (หนังสือ) ทางไปรษณีย์

20160309_101211

WorldShare ILL คืออะไรหลายคนคงสงสัย ก็เลยอยากจะมาอธิบายให้ฟังว่า เป็นการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุดสมาชิก OCLC ที่มีอยู่ทั่วโลกกว่า 9,000 แห่ง  ผ่านบริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL) โดยไม่คิดค่าบริการ นับเป็นนวัตกรรมการให้บริการรูปแบบใหม่ และจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในการแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุดเพื่อประโยชน์การศึกษาค้นคว้าและวิจัย จึงทำให้มีการติดต่อและแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศทั้งห้องสมุดภายในประเทศและห้องสมุดต่างประเทศ ทำให้ต้องมีวิธีการดูแลรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่มีประโยชน์และทรงคุณค่าอย่างดีในการส่ง

Continue reading วิธีการส่งทรัพยากรสารสนเทศ WorldShare ILL (หนังสือ) ทางไปรษณีย์

การบริการตู้ล็อกเกอร์ (LOCKERS) ในห้องสมุด

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ อีกทั้งยังให้บริการด้านอื่น ๆ อีกด้วย  ซึ่งบริการรับฝากของ (LOCKERS) เป็นบริการหนึ่งที่ห้องสมุดจัดเตรียมไว้ให้  ณ บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าห้องสมุด  ชั้น U1   Continue reading การบริการตู้ล็อกเกอร์ (LOCKERS) ในห้องสมุด

นโยบายการเย็บเล่มวารสาร

  1. เย็บเล่มวารสารทางวิชาการ
  2. วารสารที่ออกโดยหน่วยงานของธรรมศาสตร์
  3. ไม่เย็บเล่มวารสารที่มีการถ่ายไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช CD-Rom แล้ว
  4. เย็บเล่มวารสารทั้งเล่มไม่ฉีกปกและโฆษณาออก
  5. การกำหนดสีของปกวารสาร กำหนดให้วารสารที่มีชื่อเดียวกันใช้สีปกเดียวกัน
  6. วารสารที่ไม่พบตัวเล่มจะต้องติดต่อทวงถามจากสำนักพิมพ์ หรือตัวแทนจำหน่าย

ข้อดีของการเย็บเล่มวารสาร

  1. การเย็บเล่มทำให้วารสารมีความแข็งแรง คงทนถาวร สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน
  2. เก็บขึ้นชั้นได้สะดวก รวดเร็ว และเป็นระเบียบ
  3. หยิบใช้งานได้สะดวก
  4. การค้นหาดัชนีของวารสารเย็บเล่มเป็นปีๆ ทำได้สะดวก และยังช่วยในการเก็บรักษาดัชนีของวารสารนั้นๆ ได้ดี
  5. จะเห็นได้ว่าวารสารเย็บเล่มมีข้อดีต่างๆ มากมาย และนอกจากนั้นแล้วการเย็บเล่มวารสารยังมีประโยชน์ทั้งต่อห้องสมุดและต่อผู้ใช้มากอีกเช่นกัน