All posts by นางธิดารัตน์ ผลพยุง

การเก็บสถิติการจองหนังสือในระบบ KOHA

การเก็บสถิติการใช้บริการการจองทรัพยากรสารสนเทศ  ใน Circulation Module  ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA   สามารถเก็บสถิติได้ทั้งแบบรายวัน  รายเดือน  และรายปี  มีขั้นตอนที่ทำได้ง่ายและไม่
ยุ่งยาก  ดังนี้
ขั้นตอนการเก็บสถิติการจองหนังสือในระบบ KOHA

การเก็บสถิติยืม–คืนหนังสือในระบบ KOHA

การเก็บสถิติการใช้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ใน Circulation Module  ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA  สามารถเก็บสถิติได้ทั้งแบบรายวัน  รายเดือน  และรายปี  มีขั้นตอนที่ทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก  ดังนี้
ขั้นตอนการเก็บสถิติยืม–คืนหนังสือในระบบ KOHA

ภูมิปัญญาพื้นบ้านไทย เล่ม 1- เล่ม 3

หนังสือสื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ: ภูมิปัญญาพื้นบ้านไทย
เล่ม 1- เล่ม 3  ของ น.อ. เสริมสกุล โทณะวณิก

IMG_25590326_095915-1

เป็นหนังสือเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้ที่ชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นเอง ซึ่งได้มาจากประสบการณ์และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน การลองผิดลองถูกจนได้วิธีที่ดีที่สุด แล้วสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้คงจุดประกายความคิดของผู้ที่นิยมของสมัยใหม่ให้กลับมาย้อนมองว่ามรดกภูมิปัญญาพื้นบ้านจากบรรพบุรุษของเรานั้นไม่ใช่สิ่งล้าสมัย หากนำแนวคิดหรือวิธีการมาปรับใช้กับสถานการณ์ในปัจจุบันหรือวัสดุสมัยใหม่แล้วก็จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้  และมีคุณค่าถือเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรม เช่น สมุนไพร  วิธีถนอมอาหาร  อาหารการกิน  บรรจุภัณฑ์พื้นบ้าน  เพลงกล่อมเด็กและปลอบเด็ก  การละเล่นพื้นบ้าน   เครื่องมือจับสัตว์น้ำแบบพื้นบ้านไทย  หัตถกรรมพื้นบ้านไทย  แกะสลักไม้   การตัดไม้และเก็บพืชแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน  พืชสารพัดประโยชน์  เรื่องของไม้ไผ่  สีจากธรรมชาติ  ภูมิปัญญาในครัวไทย  ของใช้ไม้สอย  วิถีเกษตรกร  ภูมิปัญญาในนาเกลือ  วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น  มหรสพพื้นบ้าน  เป็นต้น

ถ้าสนใจรายละเอียดของหนังสือทั้ง 3 เล่ม ติดต่อได้ที่ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ใต้ดิน U3   เลขเรียกหนังสือ  DS568 ส7865 2553 ล.1-ล.3

วิธีการสร้างแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือ

การอ่านหนังสือสำหรับบางคนต้องมีแรงบันดาลใจถึงจะอ่านหนังสือได้ สมัยดิฉันเรียนมัธยมฯ มีความรู้สึกไม่อยากอ่านหนังสือเลย เวลาอ่านหนังสือทุกครั้งเหมือนหนังสือเป็นยานอนหลับอ่านได้สักพักก็จะง่วงนอนแล้วทำให้ขี้เกียจอ่านหนังสือ ดิฉันมีวิธีการสร้างแรงบันดาลในการอ่านหนังสือมาฝากกัน น่าจะมีประโยชน์กับทุกคนที่กำลังหาแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสืออย่างไร และจะได้มีความสุขในการอ่านหนังสือนะคะ Continue reading วิธีการสร้างแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือ

อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน

การอ่าน มีความสำคัญมากสำหรับทุกคน  เริ่มเรียนรู้หัดอ่านตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ ต้องฝึกทักษะในการอ่านผ่านเรื่องราวประสบการณ์ต่างๆ ที่เด็กสนใจ แม้ว่าเราจะเข้าสู่วัยชรา การอ่านก็ยังมีความสำคัญ   การอ่านทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ ทำให้ผู้อ่านมีความสุขในการอ่าน

ดิฉันก็เป็นอีกคนที่ต้องสอนลูกอ่านหนังสือทุกวัน อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน เพื่อที่จะให้ลูกอ่านหนังสือให้ได้ ต้องฝึกทักษะในการอ่านทุกวัน เช่น การที่ให้ลูก อ่านภาพจากหนังสือนิทาน ลูกสามารถอธิบายจากภาพนั้นได้
อ่านเครื่องหมายและอ่านสัญลักษณ์ ลูกสามารถเข้าใจความหมายของเครื่องหมายและสัญลักษณ์นั้น  แล้วเริ่มให้อ่านสะกดคำจากหนังสือที่ลูกสนใจหรือหนังสือจากโรงเรียนให้มา เช่น กา นา ตา หู ขา อา ปู มา    ก่อนจะอ่านหนังสือ  ดิฉันจะตกลงกับลูกก่อนวันนี้จะอ่านบทไหนดีมีเรื่องไหนที่ลูกอยากอ่าน  ถ้าลูกอยากอ่านเรื่องนี้เขาจะมีความสุขในการอ่านมาก  เวลาหัดให้ลูกอ่านหนังสือคุณแม่ต้องใจเย็นๆ แม้ว่าลูกจะอ่านผิดอ่านถูกต้องค่อยๆ สอนเขาและให้กำลังใจลูกเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเขา  ถ้าลูกอ่านได้เราต้องชมเขาหน่อยเขาจะได้ดีใจและตั้งใจอ่านหนังสือ และควรปลูกฝังและส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความคุ้นเคยและเคยชินกับการอ่าน

1

2

3

ทำอย่างไรเวลาลูกเป็นไข้ตัวร้อน

ท่านใดที่มีลูก คงต้องพบกับภาวะที่ลูกตัวร้อนเป็นไข้ ถ้าเป็นคุณแม่ มือใหม่ ขอแนะนำข้อมูลจากประสบการณ์ของตัวเอง และข้อมูลจากแหล่งอื่นมาบอกเล่ากันค่ะ

ไข้ คือ ภาวะที่เด็กมีอุณหภูมิ
–  มากกว่า 37.4 องศาเซลเซียส เมื่อวัดทางปาก
–  มากกว่า 37.8 องศาเซลเซียส เมื่อทางรักแร้
–  มากกว่า 38 องศาเซลเซียส เมื่อวัดทางทวารหนัก

เวลาลูกไม่สบายตัวร้อนใช้วิธีเช็ดตัวระบายความร้อนและช่วยให้ลูกรู้สึกสบายตัว และให้ทานยาลดไข้ ทุก 4-6  ชั่วโมง Continue reading ทำอย่างไรเวลาลูกเป็นไข้ตัวร้อน

เที่ยวทั่วไทยเมืองโบราณ

ดิฉันขอแนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่น่าประทับใจและรวบรวมศิลปวัฒนธรรมของไทย  ครั้งแรกที่ไปในใจคิดว่าเป็นสถานที่จำลองขนาดเล็กคงไม่สวยเท่าไร แต่พอได้เข้าไปชมสถานที่สวยงามมากและอลังการน่าทึ่ง  ซึ่งได้รวบรวมปราสาท พระราชวัง  วัด โบราณสถาน รวมถึงงานประติมากรรมต่างๆ ไว้ให้เราได้เข้าไปเที่ยวชมและเป็นการสร้างจำลองตามแบบสถานที่จริง ถ้าใครไม่มีเวลาหรือโอกาสไปเที่ยวตามสถานที่สำคัญต่างๆ ก็แนะนำให้ไปเที่ยวที่เมืองโบราณ พิธภัณฑ์เอกชนกลางแจ้งแห่งสยามประเทศ คือเมืองในอดีต

เมืองโบราณจัดเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่กว่า 800 ไร่ ที่รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทั่วประเทศไทยลักษณะที่ดินคล้ายรูปขวาน เหมือนกับแผ่นที่ประเทศไทย

1

เปิดให้ชมทุกวัน เวลา 9.00 – 19.00 น. Continue reading เที่ยวทั่วไทยเมืองโบราณ

แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหนังสือให้บริการอย่างมากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และขนาดของหนังสือแต่ละเล่มไม่เหมือนกัน เล่มเล็ก เล่มใหญ่บ้าง ปกแข็ง ปกอ่อนบ้าง และผู้รับบริการของหอสมุดฯ ก็มีหลากหลายประเภทเช่นกัน ถ้าผู้อ่านใช้หนังสือไม่ถูกวิธีอาจทำให้หนังสือเกิดการชำรุดเสียหาย จึงมีวิธีแนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้องสำหรับผู้รับบริการของหอสมุดปรีดีฯ มีดังนี้

1. ไม่ขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในหนังสือ
2.  ไม่ฉีก หรือตัดหน้าหนังสือ จะทำให้ข้อความบางตอนไม่สมบูรณ์ ผู้ที่มาอ่านภายหลังไม่ได้ข้อมูลในส่วนที่ขาดหายไป
3.  ต้องดูแลหนังสือไม่ให้เปียกน้ำ เพราะจะทำให้หนังสือชื้น ขึ้นราได้ Continue reading แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง

จัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ

การจัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ (Guide card)  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับบริการและผู้ให้บริการทราบตำแหน่งในการจัดเก็บหนังสือแต่ละเล่ม เป็นการอำนวยความสะดวกในการค้นหาหนังสือและแยกประเภทของหนังสือให้ชัดเจน ขั้นตอนในการจัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ คือ

1.  หลังจากเจ้าหน้าที่ได้จัดชั้นหนังสือเรียบร้อยแล้ว จะจดเลขหมู่หนังสือแต่ละแถวมาให้เพื่อจัดพิมพ์ป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ
2.  เตรียมกระดาษสี เพื่อที่จะพิมพ์ป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือเพื่อความสวยงามเป็นระเบียบและมองเห็นได้เด่นชัด
3.  เตรียมเทปใสเพื่อที่จะติดทับกับป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือให้คงทนไม่ขาดง่าย
4.  ตัดหมวดหมู่หนังสือแต่ละแถว/ชั้นของหนังสือให้ต่อเนื่องกัน (ตัวอย่าง เช่น A – B , C – E )
5.  นำที่ตัดหมวดหมู่หนังสือมาพิมพ์ (ป้ายหมวดหมู่หนังสือจะมีป้ายเล็กกับป้ายใหญ่ที่ต้องพิมพ์) Continue reading จัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ

การขยายชั้นหนังสือ/การอ่านชั้นหนังสือให้ถูกต้อง

ห้องสมุดทุกแห่งจะพบกับสภาพการที่มีหนังสือเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จนต้องมีการขยายชั้นหนังสือ ซึ่งการขยายชั้นหนังสือต้องมีการบริหารจัดการที่ดี

หอสมุดปรีดี พนมยงค์  เช่นเดียวกัน มีการขยายชั้นเพื่อปรับปรุงชั้นหนังสืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อรองรับหนังสือที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การขยายชั้นหนังสือต้องมีการวางแผนและจัดการที่เหมาะสมเพื่อที่จะไม่กระทบต่อการใช้หอสมุดของผู้รับบริการ

การขยายชั้นของหอสมุดฯ จะทำในช่วงปิดภาคการศึกษาซึ่งเป็นช่วงที่มีผู้รับบริการเข้าใช้หอสมุดฯ น้อย    สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ การคำนวณชั้นหรือการใช้พื้นที่ในการวางหนังสือบนชั้นเพราะพื้นที่บนชั้นมีผลต่อระยะเวลาในการขยายชั้นหนังสือ   ถ้ามีหนังสือจำนวนมากแต่พื้นที่น้อยก็ใส่หนังสือไม่หมดหรือต้องขยายชั้นกันบ่อยๆ จึงต้องมีการคำนวณชั้นก่อนลงมือทำเพื่อที่จะได้ไม่ผิดพลาด การขยายชั้นหนังสือให้พอดีแต่ละช่วงชั้นหนังสือโดยขยายหนังสือจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวาจนครบทุกชั้น  ต้องเหลือเนื้อที่สำหรับจัดเก็บหนังสือใหม่ที่หอสมุดได้รับในแต่ละปีด้วย   เมื่อขยายชั้นเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือ การอ่านชั้นหนังสือ (หรือเรียกว่าการตรวจการเรียงหนังสือก็ได้) ให้ถูกต้อง และจัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ

10172717_741718979212415_6307222642555483878_n

10430911_1325175857522627_5322599767482069721_n

Continue reading การขยายชั้นหนังสือ/การอ่านชั้นหนังสือให้ถูกต้อง