Category Archives: โดมทัศน์

มนุษย์เจ้าปัญหา

ผู้เขียน (คุณชูมาน ถิระกิจ) ได้กล่าวว่า ในชีวิตประจำวัน เราต้องพบปะกับคนมากมาย บางคนก็น่ารัก น่าทำงานด้วย อยู่ใกล้แล้วสบายใจ บางคนก็อยู่ใกล้แล้วขาดทุนทางอารมณ์ ต้องฝึกสมองประลองปัญญาที่จะติดต่อสื่อสารด้วยอย่างหนัก วันไหน เจอเข้าสัก 4-5 คนก็อ่วมแล้ว Hara Estroff Marano
(Psychology Today. May/June 2012) จัดกลุ่มมนุษย์เจ้าปัญหาที่มักทำให้คนเจ้าปัญหาที่มักทำให้คนรอบข้างเหน็ดเหนื่อยในอารมณ์ไว้ 4 แบบคือ……… (แล้วเราจะเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาหรือเปล่านะ)

(ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้)

รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ.  มนุษย์เจ้าปัญหา. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 54-58.

ภัยหน้าจอ

ผู้เขียน (คุณชูมาน ถิระกิจ) ลองค้น “คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ” หรือ “computer and health” ได้ link มาเยอะมาก apple.com ก็มีบทความเกี่ยวกับ ergonomics ว่าจะต้องดูแลร่างกายอย่างไรจึงจะไม่เสี่ยงการบาดเจ็บจากการใช้คอมพิวเตอร์อย่างละเอียดพร้อมรูปประกอบชัดเจน (http://www.apple.com/about/ergonomics/) แสดงว่าปัญหาสุขภาพที่มากับการใช้คอมพิวเตอร์มีนัยที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน และสุขภาพที่มากับการใช้คอมพิวเตอร์มีนัยที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน และเราควรต้องใส่ใจกับมันแล้ว  (เขาถึงได้บอกว่าสุขภาพดีไม่มีขาย นอกจากตัวเราเองที่จะใส่ใจดูแลรักษา) 

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ. ภัยหน้าจอ. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 59-72.

จริยธรรมการวิจัยในคน

ผู้เขียน (คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน) ได้กล่าวว่า การมีโอกาสเป็นกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนนับเป็นโอกาสดีได้เปิดมุมมอง ได้รับความรู้-เรียนรู้สิ่งใหม่ การเป็นอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนเป็นงานที่หลังจากเกษียณแล้วยังอาสาสมัครปฏิบัติอยู่ อ่าน-พิจารณาโครงงานวิจัยเดือนละประมาณ4 เรื่อง ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เดือนละ 1 ครั้ง (9.00-16.00 น.) ตั้งใจว่าจะเผยแพร่-เชิญชวนให้บุคลากรต่างๆ โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์เข้ารับการอบรมและเข้าร่วมเป็นกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งเป็นทั้งการ “พัฒนาตนเอง” และ “พัฒนา (สังคม) การวิจัย”

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน. จริยธรรมการวิจัยในคน. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 42-47.

บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์

ผู้เขียน (กนกวรรณ บัวงาม) ได้กล่าวถึงโอกาสที่ Mr. Larry Ashmun มาเยือนเมืองไทยโดยได้ทุน Fulbright และได้ร่วมงานกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อแนะนำการ Romanization ข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย จึงได้มีโอกาสพูดคุยเล่าถึงการทำงานของ Mr. Larry โดยเฉพาะงานทำงาน ในหน้าที่ Subject Liaison ณ Memorial Library University of Wisconsin-Madison Mr. Larry Ashmun ในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์มืออาชีพ ได้ให้หลักในการทำงานแก่บรรณารักษ์รุ่นใหม่ที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “เป็นบรรณารักษ์ต้องรักบริการ ถ้าไม่รักบริการแล้วจะมาเป็นบรรณารักษ์ทำไม”ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
กนกวรรณ บัวงาม. บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์. โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 61-72.

แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ในแวดวงห้องสมุด : เก็บตกมาเล่าจากที่ประชุม IATUL ครั้งที่ 33

ผู้เขียน (จันทนีย์ พานิชผล)  ได้ร่วมการประชุม IATUL ครั้งที่ 33 ที่ประเทศสิงคโปร์ IATUL หรือ International Association of Scientific and Technological University Libraries  ระหว่างวันที่ 4–7 มิถุนายน  2555 โดยมีหัวข้อการประชุม คือ Library strategies for new generation users ข้อมูลที่นำเสนอในที่ประชุมตลอดเวลา 3 วันสะท้อนให้เห็นภาพความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้พัฒนางานบริการของห้องสมุดทั่วโลกซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบาย ลดความห่างเหิน ระหว่างห้องสมุดกับผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์เช่น Smart phone หรือ Social media พัฒนาการดังกล่าวย่อมตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้ให้เพิ่มมากขึ้นเพราะห้องสมุดกับผู้ใช้บริการพูดภาษาเดียวกัน คือ Digital language บรรณารักษ์เองก็พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกับผู้ใช้ ทำให้ปัญหา Digital divide น้อยลง อย่างไรก็ดี บรรณารักษ์ยังคงต้องแสวงหาความรู้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีตลอดเวลาเพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

รายการอ้างอิง:

จันทนีย์ พานิชผล.  แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ในแวดวงห้องสมุด : เก็บตกมาเล่าจากที่ประชุม IATUL ครั้งที่ 33.  โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 49-60.

นวัตกรรมใหม่ของบริการห้องสมุด

จากการเข้าประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 33 ของ International Association of Scientific and Technological University Libraries (IATUL’s 33rd Annual Conference) ระหว่างวันที่ 4-7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ณ Nanyang Technological University  ที่ประเทศสิงคโปร์ เรื่อง Library Strategies for New Generation Users มีผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศต่างๆ นำเสนองานวิจัย และงานวิชาการที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกได้ 3 หัวข้อใหญ่ๆ คือ การเรียนรู้กับผู้ใช้ (learning and users)  เทคโนโลยีและสื่อใหม่ๆ (technology and new media) บริการห้องสมุดและการพัฒนา (library services and development) ผู้เขียน (พูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ) ในฐานะบรรณารักษ์งานบริการจึงได้รวบรวมเรียบเรียงบริการห้องสมุดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่น่าสนใจที่ได้จากการประชุมครั้งนี้มานำเสนอ

เนื้อหาโดยสรุปดังนี้

รายการอ้างอิง:
พูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ. นวัตกรรมใหม่ของบริการห้องสมุด. โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 30-48.

การประชุม IATUL ครั้งที่ 33 : เรื่องเล่าและมุมมองจากบรรณารักษ์ฝ่ายเทคโนฯ

ผู้เขียน ( ฐิติมา หิรัญเวชยางกูร)  ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติของ IATUL (The International Association of Technological University Libraries) ครั้งที่ 33  ภายใต้หัวห้อ  “กลยุทธ์ของห้องสมุดสำหรับผู้รับบริการรุ่นใหม่”  ซึ่งจัดขึ้น ณ Nanyang Technological University Singapore ระหว่างวันที่ 4–7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้เล่าถึงความประทับใจต่าง ๆ ที่ได้รับในการประชุมครั้งนี้ ในมุมมองของผู้เขียนซึ่งปฏิบัติงานด้วยการเป็นบรรณารักษ์สังกัดฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด พบว่าการได้มาเปิดโลกทัศน์ด้วยการเข้าประชุมระดับนานาชาติในครั้งนี้มีสิ่งต่างๆ ที่สามารถเก็บเกี่ยวมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานขององค์กรได้เป็นอย่างดีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

รายการอ้างอิง:
ฐิติมา หิรัญเวชยางกูร. การประชุม IATUL ครั้งที่ 33 : เรื่องเล่าและมุมมองจากบรรณารักษ์ฝ่ายเทคโนฯ. โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 19-30.

กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรห้องสมุด : แนวคิดและผลการศึกษานำเสนอในการประชุม IATUL 2012

ผู้เขียน (สุมนา วัสสระ) ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมประจำ ปี 2012 ของ International Association of Technological University Libraries (IATUL) ซึ่งจัดขึ้นที่ Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 4–7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ภายใต้หัวข้อ “กลยุทธ์ของห้องสมุดสำหรับผู้รับบริการรุ่นใหม่” ผู้เขียนมีความเห็นว่าแนวคิดและผลการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรห้องสมุดเป็นเรื่องสำคัญ สมควรนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของห้องสมุดเพื่อให้พร้อมสำหรับการให้บริการที่น่าพึงพอใจสำหรับคนรุ่นใหม่  เนื้อหาโดยสรุปดังนี้

 

รายการอ้างอิง:
สุมนา วัสสระ. กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรห้องสมุด : แนวคิดและผลการศึกษานำเสนอในการประชุม IATUL 2012. โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 3-18.