Tag Archives: เทคโนโลยีห้องสมุด

12 ข้อที่ ดิจิทัลเนทิฟ (Digital Natives) ต้องการจากห้องสมุดยุคใหม่

พบบทความ “12 Things Digital Natives Want From A Library” เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2013 คงจะไม่ช้าเกินไปถ้าจะนำมาสรุปต่อ

ดิจิทัลเนทิฟ (Digital Natives) เป็นกลุ่มคนที่เกิดและเติบโตมากับเทคโนโลยีดิจิทัล มีความคุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต มีการแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ Digitally Born และ Evolving Digizen

  • Digitally Born เป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 14-17 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อระหว่างกลุ่ม เช่น Line และ Social network
  • Evolving Digizen เป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี กลุ่มนี้จะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูล เข้า Social network เพื่อสื่อสารระหว่างกลุ่มและ Facebook ติดตามข่าวสารทาง Blog กลุ่มนี้มีการใช้อินเทอร์เน็ตหลากหลายกว่ากลุ่มแรก

Continue reading 12 ข้อที่ ดิจิทัลเนทิฟ (Digital Natives) ต้องการจากห้องสมุดยุคใหม่

BIBFRAME

จากบทความของ Marshall Breeding ได้คาดการณ์เทคโนโลยีในห้องสมุด และพูดถึง Linked data กับโครงการ BIBFRAME ของ Library of Congress (LC) จึงขอแนะนำแหล่งสารสนเทศเกี่ยวกับ BIBFRAME เพื่อเป็นการศึกษาในเบื้องต้นว่า คืออะไร และจะมาเกี่ยวข้องกับ MARC ที่ใช้ทำงานกันอยู่ในทุกวันนี้อย่างไร

แนะนำเว็บไซต์ของ Library of Congress เป็นอันดับแรกเลย เพราะเป็นเจ้าของโครงการ  http://www.loc.gov/bibframe/  มีข้อมูลให้ศึกษาที่มาของโครงการ และพัฒนาการของโครงการ ข้อมูลมากมายทีเดียว สามารถติดตามได้

อีกเรื่องหนี่งที่น่าสนใจ คือ The Relationship between BIBFRAME and OCLC’s Linked-Data Model of Bibliographic Description: A Working Paper โดย Carol Jean Godby

เทคโนโลยีห้องสมุดในปี 2015

Marshall Breeding  ได้คาดการณ์เทคโนโลยีในห้องสมุดไว้ในบทความ เรื่อง Library Technology Forecast for 2015 and Beyond   พอหยิบยกมาโดยสังเขป ดังนี้

  • Linked data
    ซึ่งเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจกันมากในปีที่ผ่านมา มีหลายโครงการที่เกิดขึ้น อย่างเช่น Library of Congress (LC) ที่มีโครงการ BIBFRAME เกิดขึ้น BIBFRAME จึงน่าจะเป็นโครงการที่น่าจับตามองในเรื่องของการเชื่อมโยงข้อมูลจาก MARC
  • การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile)
    ในปีหน้า การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อรองรับการใช้บริการจากห้องสมุดยังเป็นเรื่องที่จะมีมากขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเว็บเพื่อให้สนับสนุนการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้มากขึ้นและใช้งานง่ายมากกว่าเดิม
  • 3D Printing
    การให้บริการ 3D Printer เป็นบริการทางนวัตกรรมอย่างหนึ่งของห้องสมุด
  • เทคโนโลยีอื่นๆ
    NFC (Near Field Communication)  เทคโนโลยี NFC เป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ห้องสมุดผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน หรือระบบจ่ายเงินต่างๆ เช่น iPhone 6 ถูกออกแบบให้รองรับการใช้ NFC เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสำหรับสร้าง application ต่างๆ ได้ เช่นเดียวกับ Samsung และผู้ผลิตสมาร์ทโฟนค่ายอื่นๆ

ติดตามอ่านโดยละเอียดได้ที่  http://www.infotoday.com/cilmag/dec14/Breeding–Library-Technology-Forecast-for-2015-and-Beyond.shtml

ายการอ้างอิง:

Marshall Breeding. “Library Technology Forecast for 2015 and Beyond” Computers in Libraries, December 2014,  Retrieved : 24 Jan, 2015 from http://www.infotoday.com/cilmag/dec14/Breeding–Library-Technology-Forecast-for-2015-and-Beyond.shtml

แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ในแวดวงห้องสมุด : เก็บตกมาเล่าจากที่ประชุม IATUL ครั้งที่ 33

ผู้เขียน (จันทนีย์ พานิชผล)  ได้ร่วมการประชุม IATUL ครั้งที่ 33 ที่ประเทศสิงคโปร์ IATUL หรือ International Association of Scientific and Technological University Libraries  ระหว่างวันที่ 4–7 มิถุนายน  2555 โดยมีหัวข้อการประชุม คือ Library strategies for new generation users ข้อมูลที่นำเสนอในที่ประชุมตลอดเวลา 3 วันสะท้อนให้เห็นภาพความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้พัฒนางานบริการของห้องสมุดทั่วโลกซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบาย ลดความห่างเหิน ระหว่างห้องสมุดกับผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์เช่น Smart phone หรือ Social media พัฒนาการดังกล่าวย่อมตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้ให้เพิ่มมากขึ้นเพราะห้องสมุดกับผู้ใช้บริการพูดภาษาเดียวกัน คือ Digital language บรรณารักษ์เองก็พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกับผู้ใช้ ทำให้ปัญหา Digital divide น้อยลง อย่างไรก็ดี บรรณารักษ์ยังคงต้องแสวงหาความรู้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีตลอดเวลาเพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

รายการอ้างอิง:

จันทนีย์ พานิชผล.  แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ในแวดวงห้องสมุด : เก็บตกมาเล่าจากที่ประชุม IATUL ครั้งที่ 33.  โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 49-60.

ว่าด้วยเรื่องของ DOI – จุดเริ่มต้นของ DOI

ระบบ DOI มีต้นกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มร่วมกันระหว่างสมาคมการค้าสามกลุ่มในอุตสาหกรรมการพิมพ์ (สมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ; ผู้จัดพิมพ์ทางด้านเทคนิคและการแพทย์, สมาคมวิทยาศาสตร์นานาชาติ; สมาคมผู้จัดพิมพ์อเมริกัน)

แม้จะมีต้นกำเนิดมาจากสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ระบบ DOI นั้นถูกสร้างมาโดยกำหนดให้เป็นเค้าโครงในการจัดการด้านการจำแนกแยกแยะเนื้อหาบนเครือข่ายดิจิทัลโดยตระหนักถึงเรื่องดิจิทัลคอนเวอร์เจน (Digital convergence หมายถึง การรวมกลุ่มกันของอุตสาหกรรม 4 อย่าง ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ, โทรคมนาคม, เครื่องใช้ไฟฟ้า และความบันเทิง ตัวอย่างเช่น Xbox หรือ iPhone) และความพร้อมในการใช้สื่อมัลติมีเดีย ซึ่งระบบ DOI นั้นถูกประกาศในงานนิทรรศการหนังสือแฟรงค์เฟิร์ต ปี ค.ศ. 1997 จากนั้นมูลนิธิดีโอไอนานาชาติ (International DOI Foundation–IDF) ก็ถูกตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาและจัดการกับระบบ DOI ในปี ค.ศ. 1997 เช่นกัน

banner-513

จากจุดเริ่มต้น IDF ร่วมงานกับ CNRI ( Corporation for National Research Initiatives) เพื่อจะนำ Handle System ซึ่ง CNRI เป็นผู้พัฒนามาใช้เป็นองค์ประกอบของระบบ DOI และในปัจจุบัน CNRI ยังคงเป็นพันธมิตรกับ IDF

HSystem

ในที่สุดแอปพลิเคชั่นแรกของระบบ DOI อย่าง การอ้างอิงที่เชื่อมโยงไปยังบทความอิเล็กทรอนิกส์โดย CrossRef Registration Agency (หน่วยงานในการลงทะเบียนชื่อ CrossRef) ก็ถูกใช้ในปี ค.ศ. 2000 ตั้งแต่นั้นมา Registration Agency รายอื่นก็ได้รับมอบหมายงานในด้านต่างๆ เช่น ในการบริหารจัดการกับสินทรัพย์ธุรกิจความบันเทิง ในด้านข้อมูล และในด้านภาษาต่างๆ

ในปี ค.ศ. 2000 องค์กร NISO ได้กำหนดซินเท็กซ์ (syntax) ของ DOI ให้เป็นมาตรฐาน ระบบ DOI ได้รับการอนุมัติเป็นมาตรฐาน ISO ในปี ค.ศ. 2010 โดยดูรายละเอียดของ ISO 26324:2012 Information and documentation — Digital object identifier system ได้ที่
http://www.iso.org/iso/catalogue_detail?csnumber=43506

รายการอ้างอิง

International DOI Foundation. (2013, November 13). DOI Handbook Introduction. Retrieved
September 26, 2014, from http://www.doi.org/doi_handbook/1_Introduction.html #1.2

IATUL : เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางเทคโนโลยีห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั่วโลก

IATUL หรือ International Association of Technological University Libraries จัดตั้งขึ้นที่ Düsseldorf ประเทศเยอรมัน ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1955 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางเทคโนโลยีห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั่วโลก เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารห้องสมุดและผู้บริหารระดับอาวุโสพัฒนาความร่วมมือเพื่อการแก้ปัญหา มีการจัดประชุมวิชาการทุกปี น่าติดตามสารสนเทศทางเทคโนโลยีจากการประชุมแต่ละครั้งได้ที่ http://www.iatul.org/ และที่  http://docs.lib.purdue.edu/iatul/