วารสารโดมทัศน์ เป็นวารสารที่จัดพิมพ์โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2523 มีกำหนดออกในปีแรกเป็นราย 3 เดือน (ปีละ 4 ฉบับ) เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่งานของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ห้องสมุด และเพื่อส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยทางด้านบรรณารักษศาสตร์และความรู้ด้านอื่นๆ ต่อมาในปีที่ 2 มีกำหนดออก ราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) Continue reading วารสารโดมทัศน์
Category Archives: โดมทัศน์
บรรณารักษ์เปลี๊ยนไป๋ (2)
ความเดิมในโดมทัศน์ฉบับที่ 2 ปี 2551 ผู้เขียน (ชูมาน ถิระกิจ) ได้เคยนำเสนอบรรณา Look ที่เป็นภาพลักษณ์ต่างๆของบรรณารักษ์ทั้งที่จริงและที่สร้างขึ้นสนุกๆ ได้กล่าวถึงบรรณารักษ์เสมือน (virtual librarian) ที่เป็นทั้งตัวการ์ตูน avatar และที่อยู่เบื้องหลังบริการช่วยค้นคว้าเสมือนแบบไม่เห็นหน้าเห็นตา (virtual reference) ในฉบับนี้ได้ไปพบเรื่องราวของบรรณารักษ์
เสมือนที่อ่านเพลินดีและทำให้เกิดความคิดไปถึงบริการห้องสมุดที่
เปลี่ยนไปตามรูปแบบของการเกิดและการนำเสนอข้อสนเทศในสังคม
ปัจจุบัน ตลอดจนพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลความรู้ของคนในยุค
สารพัด E (e-mail, e-book, e-journal, e-resources, etc.)
รายการอ้างอิง
ชูมาน ถิระกิจ. 2552. บรรณารักษ์เปลี๋ยนไป๋. โดมทัศน์ 30, 2 (กรกฎาคม -ธันวาคม 2552) : 60 : 63
ภาวะ Burnout ในงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย
อะไรคือภาวะ Burnout ผู้เขียน คุณนิตยา บุญปริตร ได้กล่าวถึงภาวะ Burnout คือ สภาวะซึมเศร้า ท้อใจและไร้ความสามารถในการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในหมู่พนักงานอาจมีสาเหตุจากหลายอย่าง อาจเกิดได้จากปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาในที่ทำงาน ปัญหาจากทางบ้าน
หรือปัญหาส่วนตัวที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของ
พนักงาน ผู้บริหารไม่สามารถควบคุมเหตุดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม
จากงานวิจัยพบว่าฝ่ายบริหารจัดการสามารถหาวิธีต่างๆ เพื่อบรรเทา
หรือขจัดภาวะ Burnout รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานได้ อาทิจัดการอบรมเพื่อ
การพัฒนาอย่างสมบูรณ์โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการปรับตัว
ในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นและให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องสามารถ
ช่วยป้องกันสภาวะ Burnout ที่อาจเกิดขึ้นในที่ทำงานอย่างได้ผล
รายการอ้างอิง
คุณนิตยา บุญปริตร. ภาวะ Burnout ในงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย 2552
โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2552) 56:59
ดิวอี้ เหมียวสมุด (2)
คุณชูมาน ถิระกิจ ได้เล่าถึง ดิวอี้ แมวเหมืยวที่อยู่ในห้องสมุด เป็นแมวประจำห้องสมุดประชาชนเมือง Spencer รัฐ Iowa สหรัฐอเมริกา ดิวอี้ไม่ได้ใช้เวลานั่งๆ นอนๆทำตัวน่าเอ็นดูเพียงอย่างเดียว มันถือว่าตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ห้องสมุดของมันมีความสำคัญ และเอาใจใส่ในการทำให้ผู้เข้าใช้ห้องสมุดทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย รู้สึกถึงความเป็นมิตร ความยินดีในการต้อนรับพวกเขาเมื่อมาใช้ห้องสมุดอย่างทั่วถ้วน ไม่มีใครที่เข้ามาห้องสมุดแล้วจะไม่ได้รับการทักทายจากดิวอี้
ชูมาน ถิระกิจ. ดิวอี้ เหมียวสมุด (2) 2552. โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2552) : 64:70
งานวิจัยในมุมมองของ KM
มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และงานวิจัย ซึ่งมีความเหมือนและแตกต่าง ของการจัดการความรู้และงานวิจัย ชื่อว่า “งานวิจัยในมุมมองของ KM” ซึ่งผู้เขียน คุณจงจิต วงษ์สุวรรณ, คุณเจนจิรา อาบสีนาค, คุณศุภณัฐ เดชวิถี และคุณพรพิมล ช่างไม้ สรุปประเด็นได้ 7 ข้อ ดังนี้
- ขั้นตอนเริ่มต้น
- การปฏิบัติ
- ชนิดของความรู้ที่เน้น
- ตัวแปร
- การยืดหยุน
- วิธีคิด
- ทิศทางการดำเนินงานความรู้
รายการอ้างอิง
จงจิต วงษ์สุวรรณ เจนจิรา อาบสีนาค ศุภณัฐ เดชวิถี และ พรพิมล ช่างไม้ (2552) “งานวิจัยในมุมมองของ KM” วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552) : 22:27
แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ ในสถาบันอุดมศึกษา ชื่อว่า “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang” ซึ่งผู้เขียน คุณกาญจนา จันทร์วัน ดร.นันทวัน อินทชาติ และ ดร.ศิรินทร ภู่จินดา ได้สรุปว่ามีกระบวนการจัดการความรู้ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมี 6 กระบวนการ ดังนี้
- การสร้างและแสวงหาความรู้
- การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ
- การประมวลและกลั่นกรองความรู้
- การเข้าถึงความรู้
- การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
- การประยุกต์ใช้ความรู้
รายการอ้างอิง
กาญจนา จันทร์วัน นันทวัน อินทชาติ และ ศิรินทร ภู่จินดา (2552) “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang” วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)
การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
การจัดการความรู้เป็นเรื่องที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความรู้ของแต่ละหน่วยงาน ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เป็นอีกหนึ่งห้องสมุดที่มีการจัดการความรู้และ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการใช้ KM กับหน่วยงาน เริ่มจากมีการเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk) มีการจัดกิจกรรม CoP การใช้เทคโนโลยี Web 2.0 กับการจัดการความรู้ (KM) และ บล็อก (Blog) บล็อกเป็นการจดบันทึกความรู้ส่วนบุคคลและเป็นบันทึกประจำวันแบบสาธารณะ หรือ Public Diary ที่ให้คนอื่นอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ เมื่อนำมาใช้กับหน่วยงานจะยิ่งเป็นประโยชน์ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี้
รายการอ้างอิง
รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. 2552. การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)
เรื่องเล่าจากต่างแดน: ดูงานห้องสมุดที่ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
ผู้เขียน (คุณทิพวรรณ อินทมหันต์ และ คุณปัณฑารีย์ วีระพันธ์) ได้มีโอกาสไปดูงานห้องสมุด ณ เขต ปกครองพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกง (The University of Hong Kong Libraries: HKUL) และ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งฮ่องกง (The Hong Kong University of Science and Technology Library HKUSTL) จากการศึกษาดูงานห้องสมุดในต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นรูปแบบ การให้บริการที่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ และเป็นแนวทางในการพัฒนางานบริการของหน่วยงานได้
รายการอ้างอิง
ทิพวรรณ อินทมหันต์ และ ปัณฑารีย์ วีระพันธ์วารสาร. 2552. โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) : 51-63
ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Macquarie (Macquarie University Library)
ผู้เขียน (คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน) ได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงานห้องสมุดในประเทศออสเตรเลีย และห้องสมุดมหาวิทยาลัย Macquarie เป็นอีกหนึ่งห้องสมุดที่สนับสนุนการวิจัย มีการสนับสนุนการวิจัยด้วยบทบาทของบรรณารักษ์ผู้ช่วยห้องสมุด พร้อมทั้งการจัดให้ความรู้สารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ดังที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Macquarie ได้ประกาศไว้ว่า “ห้องสมุดเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัย”
รายการอ้างอิง
รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน. 2552. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Macquarie (Macquarie University Library). วารสารโดมทัศน์ ปีที 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) : 43-50.
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney Library)
ผู้เขียนคือ คุณฐิติมา หิรัญเวชยางกูร ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมและดูงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney Library) เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกที่เน้นด้านการวิจัย ทำให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ มีบทบาทสำคัญในการให้การสนับสนุนข้อมูลในด้านการวิจัย ห้องสมุดมีบริการส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการวิจัยเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศด้วยตนเอง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ได้ จัดทำสื่อการสอนสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยรูปแบบที่นำเสนอจะใช้ภาพประกอบลักษณะ Animation และข้อความหรือคำบรรยายสั้นๆ
สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี้
รายการอ้างอิง
ฐิติมา หิรัญเวชยางกูร. 2552. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney Library). วารสารโดมทัศน์ ปีที 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) : 37-42.