Category Archives: ธรรมาภิบาล

Human Rights in Criminal Law

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/25/Eliminate_crime_in_the_slums_through_housing_LCCN98518325.tif/lossy-page1-476px-Eliminate_crime_in_the_slums_through_housing_LCCN98518325.tif.jpg

Continue reading Human Rights in Criminal Law

TU-ASEAN International Conference 2017

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/90/COLLECTIE_TROPENMUSEUM_Olieverfschilderij_voorstellende_een_studie_van_de_Borobudur_TMnr_450-1.jpg/616px-COLLECTIE_TROPENMUSEUM_Olieverfschilderij_voorstellende_een_studie_van_de_Borobudur_TMnr_450-1.jpg

ASEAN at 50

Continue reading TU-ASEAN International Conference 2017

ASEAN Human Rights, International Police Cooperation, and Security

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d4/Tracked_by_the_Police_poster.jpg/406px-Tracked_by_the_Police_poster.jpg

Continue reading ASEAN Human Rights, International Police Cooperation, and Security

Tackling Corruption in Thailand

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Marinus_Claesz._van_Reymerswaele_001.jpg/569px-Marinus_Claesz._van_Reymerswaele_001.jpg

Continue reading Tackling Corruption in Thailand

พรหมวิหาร 4 หลักปฏิบัติที่เจ้าคนนายคนพึงมี

J1

ผู้บริหาร นอกจากจะต้องทราบหลักการด้านบริหารงานแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้ครบถ้วน รวมถึงความสามารถด้านการบริหารงานและด้านบริหารบุคคล เพื่อที่จะนำหลักการที่เหมาะสมมาใช้ได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา และถูกกับบุคลากร ตามคำสอนของพุทธศาสนา เช่น พรหมวิหาร 4 ถือเป็นสิ่งที่ผู้บริหารพึงมี เพื่อใช้ในการครองใจผู้ใต้บังคับบัญชา ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ดังนี้ Continue reading พรหมวิหาร 4 หลักปฏิบัติที่เจ้าคนนายคนพึงมี

ตัวบ่งชี้คุณภาพสำนักหอสมุด ปีการศึกษา 2557-ตัวบ่งชี้ สกอ.5.1

ตัวบ่งชี้ สกอ. 5.1 เป็นตัวตัวบ่งชี้คุณภาพที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้หน่วยงานในกลุ่มสำนัก/สถาบันสนับสนุนวิชาการดำเนินการ มีค่าเป้าหมายและรายละเอียดตัวบ่งชี้ ดังนี้

สกอ. 5.1 : การบริหารของสำนักหอสมุดเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และ เอกลักษณ์ของหน่วยงาน

วัตถุประสงค์ คือ การพัฒนาแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของสำนักหอสมุด และมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

เป้าหมาย : จะดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้ง 7 ข้อ เพื่อให้การบริหารจัดการและการพัฒนาบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจ/วิสัยทัศน์สำนักหอสมุด

เกณฑ์มาตรฐาน :

  1. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุดและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด รวมทั้งสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยและเอกลักษณ์ของสำนักหอสมุด และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในการดำเนินงานสนับสนุนวิชาการ สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนา บุคลากร การบริการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการสนับสนุนวิชาการ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการบริการ และโอกาสในการแข่งขัน
  3. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักหอสมุดและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
  4. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง10ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
  5. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจการสนับสนุนวิชาการ จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
  6. การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร
  7. ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสำนักหอสมุด ที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานสำนักหอสมุดตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

Continue reading ตัวบ่งชี้คุณภาพสำนักหอสมุด ปีการศึกษา 2557-ตัวบ่งชี้ สกอ.5.1

การตรวจสอบภายในของสตง. ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้า…

ท่านที่ปฏิบัติงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงิน และการจัดซื้อ/ จัดจ้าง/ การตรวจรับ/ตรวจการจ้าง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับการตรวจสอบภายในได้ และมักจะเกิดความไม่สบายอกไม่สบายใจกัน เมื่อมีการทำไม่ถูกต้องจะมีความผิด และอาจผิดวินัยด้วย แต่หากท่านได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจสอบภายในแล้ว การตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าท่านปฏิบัติได้ตามแนวปฏิบัติ 5 ประการ คือ Continue reading การตรวจสอบภายในของสตง. ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้า…

Constitutionalism and the Rule of Law

 

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0d/Channell_AM_Vanity_Fair_1898-02-17.jpg/343px-Channell_AM_Vanity_Fair_1898-02-17.jpg

A conference at the Faculty of Law, Thammasat University on April 1 and 2 shows that constitutionalism and the rule of law are passionate realities, not just dry theoretical concepts.

Continue reading Constitutionalism and the Rule of Law

หลักธรรมาภิบาล และหลักคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (Anti Corruption)

หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร (Good Governance) หลักคุณธรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติงาน การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นหัวข้อในการอบรมวันที่สอง ของหลักสูตรการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องแนวการปฏิบัติงานตามหลักการตรวจสอบภายในและการปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานภายในองค์กร ตามหลักธรรมาภิบาล

พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์  วิทยากรในหัวข้อนี้  เป็นข้าราชการบำนาญสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตสมาชิกวุฒิสภาพ สรรหาภาควิชาชีพ/ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตประธานอนุกรรมการศูนย์พัฒนาแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)

พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์
พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์

ธรรมาภิบาล ตรงกับ ภาษาอังกฤษว่า Good Governance แล้ว Good คืออะไร เราควรมีความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน ว่า ความดี ความถูกต้อง ความเป็นธรรม คืออะไร Continue reading หลักธรรมาภิบาล และหลักคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (Anti Corruption)

หลักการตรวจสอบภายใน และแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักการตรวจสอบภายใน

จากโครงการอบรม เรื่อง แนวการปฏิบัติงาน ตามหลักการตรวจสอบภายในและการปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานภายในองค์กร ตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) จัดโดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั้น

หัวข้อ หลักการตรวจสอบภายใน และแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักการตรวจสอบภายใน เป็นหนึ่งในหลักสูตรดังกล่าว โดยวิทยากร คือ นางชลาลัย สุขสถิตย์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการเงินที่ 20 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

ชลาลัย สุขสถิตย์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการเงินที่ 20  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ชลาลัย สุขสถิตย์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการเงินที่ 20 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

วิทยากร เริ่มการบรรยายด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของ การตรวจสอบภายใน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 เริ่มมีงานตรวจสอบภายใน ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2505 กำหนดให้หัวหน้าราชการแต่งตั้งข้าราชการ ในหน่วยงาน 1 หรือหลายคน เป็นผู้ตรวจสอบภายใน รับผิดชอบในการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงิน การก่อหนี้ และงานอื่นตามที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นการภายใน และรายกงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง

จนในปีพ.ศ. 2510 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ให้ส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เทียบเท่า และทุกจังหวัด มีตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยเฉพาะ ให้ขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ

ในปี พ.ศ. 2531-2532 เริ่มมีระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2532 เนื่องจากกระทรวงการคลัง เห็นว่า ควรให้ส่วนราชการมีการตรวจสอบภายในที่เป็นระบบ เพื่อเป็นเครื่องมือผู้บริหาร อย่างมีประสิทธิภาพ

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551- ปัจจุบัน ได้มีระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2551 Continue reading หลักการตรวจสอบภายใน และแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักการตรวจสอบภายใน