อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย

จากการสนทนาวิชาการหนังสือเก่าชาวสยาม ครั้งที่ 5 เรื่อง “เสน่ห์หนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์” ณ วันที่ 27 กันยายน 2556 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีผู้เข้าร่วมเสนทนาหลายท่าน ช่วงการสนทนาเรื่อง “หนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์ : ด้วยรักและหลงใหล” คุณโกศล ช่อผกา เจ้าของร้านหนังสือเก่าสยามบรรณาคม หนึ่งในผู้เข้าร่วมกล่าวว่า “หนังสืออนุสรณ์งานศพเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย” เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกพิมพ์อย่างเป็นทางการ และมีลักษณะพิเศษเฉพาะ หลากหลายประเภท เช่น หนังสือหายาก (Rare books) หนังสือโบราณ หนังสือธรรมะ หนังสือสุขภาพ ซึ่งหนังสือเหล่านี้มีคุณค่าในตัวเองทั้งสิ้น

ในบทความนี้ขอใช้คำว่าร่วมสมัย หมายถึง หนังอนุสรณ์งานศพของบุคคลสำคัญต่าง ๆที่ร่วมยุคในปัจจุบัน ที่มีการบอกเล่า บรรยาย บันทึกเหตุการณ์ สถานการณ์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ทางการเมือง หรือมีความสำคัญในช่วงเวลาใด ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น บุคคลทื่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้น

หนังสืออนุสรณ์งานศพเหล่านี้ได้ทำการขอจากเจ้าภาพ (หรือผู้รับผิดชอบ) โดยจดหมายราชการ เช่น พลตำรวจเอก วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ เจ้าของรหัสลับนาม “เทพ 333” ที่ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ที่ท่านเข้าร่วมรบในประเทศเพื่อนบ้านยุคสงครามเวียตนาม และหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก กมล ทัพพะรังสี ท่านเป็นเลขานุการของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ซึ่งท่านดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีน เป็นการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า

การบันทึกถึงผู้เสียชีวิตนั้นเป็นบันทึกที่ผู้อื่นกล่าวถึงผู้เสียชีวิต หรือเป็นอัตชีวประวัติ (Autobiography) ซึ่งบอกเล่าตัวตน ทัศนคติ การดำเนินชีวิต การมองโลก จากประสบการณ์ตรงของผู้บันทึก ส่วนมุมมองของคนโดยทั่วไปในการกล่าวถึงหนังสืออนุสรณ์งานศพว่า คำไว้อาลัยผู้เสียชีวิต หรือประวัติของผู้เสียชีวิตต่างๆ นั้น ถูกกล่าวถึงและบันทึกแต่สิ่งดี ๆ โดยส่วนตัวนั้นหนังสืออนุสรณ์งานศพบอกเล่าข้อเท็จจริง เหตุการณ์ เรื่องราว หรือกสะท้อนถึงบุคลิกของเจ้าของหนังสือ เช่น มีวาทศิลป์ มีมุกตลก

แบ่งประเภทหนังสืออนุสรณ์งานศพร่วมสมัยจากประสบการณ์ (การขอ) ดังนี้

  • บุคคลสำคัญ ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน รวมถึงนักการเมือง นักวิชาการ นักการศึกษา นักธุรกิจ บุคลคลผู้มีชื่อเสียง
    เมื่อกล่าวถึงแล้วรับรู้ในระดับประเทศ รวมถึงหนังสือที่มีการพูดถึงของนักสะสมหนังสืออนุสรณ์งานศพ เช่น หนังสืออนุสรณ์งานศพ ท่านพินิจ สมบัติศิริ ท่านเล่าถึงการไปเที่ยวเกาะกาลาปากอส ซึ่งไปยากมากในสมัยนั้น ขอยกตัวอย่างบุคคลสำคัญ เช่น ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล ดร. วิเชียร วัฒนคุณ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ท่านผู้หญิงยศวดี อัมพรไพศาล พลตำรวจเอกเภา สารสิน ดร. วทัญญู ณ ถลาง ชุมพล ศิลปะอาชา พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ศาสตราจารย์ นพ. เสนอ อินทรสุขศรี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ศาสตราจารย์ ขจร หะวานนท์ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ลิ้นจี่ หะวานนท์ ม.ร.ว.เกียรติคุณ กิติยากร
  • ศิลปิน และ ศิลปินแห่งชาติทุกสาขา นักเขียน หรือ บุคคล ที่มีผลงานทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม รวมถึงเจ้าของร้านหนังสือ ประวัติสำนักพิมพ์ ที่เป็นตำนาน เช่น ศาสตราจารย์เพิเศษ ประกิต (จิตร) บัวบุศย์ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ (ชอุ่ม แย้มงาม) เสนีย์ เสาวพงศ์ (ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์) อังคาร กัลยาณพงศ์ สุวัฒน์ วรดิลก เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ และนักแต่งเพลงผู้โด่งดัง สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ (เกียรติพงศ์ กาญจนภี) สุพล เตชะธาดา ประพันธ์ เตชะธาดา (สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น) สุเนตรา คงสิริ (ร้านหนังสือนิพนธ์)
  • ตำราอาหาร ได้แก่ตำราอาหารที่หายาก หรือมีชื่อเสียงในยุคสมัยก่อน หรือสูตรอาหารประจำตระกูลที่สืบทอดกันมา เป็นหนังสือที่ได้รับการนิยมอีกประเภทหนึ่ง เล่มที่โด่งดังในแวดวงนักสะสมหนังสืออนุสรณ์งานศพ คือการนำหนังสือตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ จากเดิมที่พิมพ์แยกเล่มหลายครั้ง เป็นฉบับพิมพ์รวมเล่ม 5 เล่ม ได้แก่ หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณมาลินี ชมเชิงแพทย์ อดีตผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท มาลินีฟู๊ดโปรดักส์ จำกัด เจ้าของและผู้คิดค้นสูตรแป้งทอดกรอบ “โกกิ” และตำรับมรดก ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร แจกเป็นหนังสือทีระลึกในอนุสรณ์งานศพ จำนงค์ ไกรฤกษ์ มารดา รองศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เมธีวิจัยอาวุโสสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • พระสงฆ์ หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชะอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหวิหาร จำนวน 5 เล่ม ดังนี้1. พระไตรปิฎกภาษาไทย : ฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 ฉบับที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้มีบัญชาให้ชำระ2. ภาพเล่าเรื่องประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

    3. ประวัติวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระบรมสารีริกธาตุขุดได้ในพระสถูปที่มัชฌิมประเทศ.

    4. เย็นหิมะในรอยธรรม

    5. สมันตปาสาทิกา

    จากประสบการณ์การขอหนังสืออนุสรณ์งานศพ เมื่อได้อ่านหนังสือแต่ละเล่ม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแต่ละเล่ม บางเล่มสนุกสนาน บางเล่มบันทึกจากประสบการณ์จริงในสถานการณ์สู้รบ บางเล่มบันทึกด้วยอาการรันทด บอกเล่าความเป็นจริงของชีวิต โดยเฉพาะการบันทึกจากอัตชีวประวัติ ทำให้ซาบซึ้ง ทั้งใน แง่เนื้อหาที่หนักแน่น และบรรยายได้อย่างโศกเศร้าสะเทือนใจ เมื่อได้อ่านแล้วคิดว่า “ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย”

1

หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเพลิงศพนายพินิจ สมบัติศิริ

2

หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเพลิงศพนางมาลินี ชมเชิงแพทย์