Tag Archives: อนุสรณ์งานศพ

หนังสืออนุสรณ์งานศพวัดบวรนิเวศวิหาร

ห้องสมุดวัดบวรนิเวศวิหาร จัดตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497  โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ริเริ่ม และใช้ห้องโถงชั้นล่างของตำหนักล่างเป็นห้องสมุด ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2511  ได้ย้ายจากตำหนักล่างไปตั้งที่ชั้นล่างของตึก ภ.ป.ร. พร้อมทั้งปรับปรุงตู้หนังสือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ใหม่ ครั้งถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 นับเป็นวันครบรอบ 100 ปี วันประสูติแห่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์  ทางวัดและศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันจัดงานบำเพ็ญกุศลและจัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระองค์ท่าน ระหว่างวันที่ 21-27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และได้เปิดห้องสมุดหนังสืออนุสรณ์งานศพ โดยผู้ริเริ่มการจัดตั้งห้องสมุดหนังสืออนุสรณ์งานศพขึ้น คือ คุณนเรศ นโรปกรณ์  Continue reading หนังสืออนุสรณ์งานศพวัดบวรนิเวศวิหาร

การประมวลผลข้อมูลหนังสืออนุสรณ์งานศพ

มานึกๆ ดู Collection หนังสืองานศพ หรือ หนังสืออนุสรณ์งานศพ นอกเหนือจากใส่ข้อมูลเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงหนังสือแล้ว เช่น ชื่อผู้เสียชีวิต คำสำคัญที่เกี่ยวก้บเนื้อหาที่นำเสนอในหนังสือ ห้องสมุดมักจะลงคำว่า หนังสืออนุสรณ์งานศพ เอาไว้ด้วย เพื่อจะได้เป็นการรวม Collection หนังสือประเภทนี้เอาไว้ ในบางแห่งมีการเพิ่มชื่อเรื่อง โดยการลงว่า อนุสรณ์งานศพ แล้ววงเล็บต่อท้ายด้วยชื่อผู้เสียชีวิต ดังตัวอย่าง อนุสรณ์งานศพ (กลีบ มหิธร, ท่านผู้หญิง) เพื่อที่ว่าเมื่อค้นด้วยชื่อเรื่องว่า อนุสรณ์งานศพ (ด้วยประมาณเอาว่า ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงหนังสืองานศพ หรือหนังสืออนุสรณ์งานศพ น่าจะนึกถึงด้วยคำง่ายๆ และสั้นๆ ว่า อนุสรณ์งานศพ) หนังสืออนุสรณ์งานศพ จะแสดงผลออกมาทั้งหมดพร้อมชื่อผู้เสียชีวิต ดังตัวอย่าง

  • อนุสรณ์งานศพ (ก.ศ.ร. กุหลาบ)
  • อนุสรณ์งานศพ (ก.สุรางคนางค์)
  • อนุสรณ์งานศพ (กนก สามเสน, คุณหญิง)
  • อนุสรณ์งานศพ (กระเษียร ศรุตานนท์, พล.ต.อ.)
  • อนุสรณ์งานศพ (กล่อมจิตต์ พลายเวช)
  • อนุสรณ์งานศพ (โกวิท วรพิพัฒน์)
  • อนุสรณ์งานศพ (ขจร สุขพานิช)
  • อนุสรณ์งานศพ (ไข่มุกด์ ชูโต, คุณ)
  • อนุสรณ์งานศพ (คณิศร์ พุกกะณะสุต)
  • ฯลฯ

Continue reading การประมวลผลข้อมูลหนังสืออนุสรณ์งานศพ

ทางสงบ

หนังสือ เรื่องทางสงบ ทั้ง 3 เล่มนี้ เป็นสำนวนของ พระพรหมมุนี (ธมฺมสาร) วัดราชผาติการาม ท่านให้ชื่อว่าทางสงบทุกตอน โดยความหมายว่า พระธรรมนำทางให้ผู้ปฏิบัติดำเนินไปถึงความสงบ  มักได้รับการจัดพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์งานศพอยู่เสมอ ดังตัวอย่างหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ จัดพิมพ์ในปีต่างกัน กล่าวคือ

ทางสงบ 2513
                                                             ทางสงบ 2513

เล่มแรก เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก หลวงสรรค์สมบัติยุทธ (สรรค์ วินิจฉัยกุล) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 8 มิถุนายน 2513 เป็นธรรมเทศนาที่แสดงที่วัดราชผาติการามในวันธรรมสวนะ และวันอุโบสถ ในช่วงปี พ.ศ. 2509-2512 ประกอบด้วย พ้นกิเลสมาร หมดอยากดับร้อน ตั้งใจปฏิบัติธรรม ไหว้ครู หนีสงสาร ไม่เนิ่นช้า อาหารของนิวรน์ โทษของกาม จงละ รัก โลภ โกรธ หลง สันตบท บุคคลเทียบด้วยเมฆฝน 4 บุคคลเทียบด้วยอสรพิษ 4 ธรรมาวุธ อย่าจนใจ ทางพระนิพพาน กำแพง 7 ชั้น สงบได้เพราะไม่กังวล ความประณีต ความเป็นหนึ่ง Continue reading ทางสงบ

สื่อสนใจ หนังสืออนุสรณ์งานศพ บทเรียนความรู้จากผู้ล่วงลับ สำนักหอสมุด มธ.

หลังจากที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นคลังหนังสืออนุสรณ์งานศพของไทยนั้น สื่อต่างๆ ให้ความสนใจในการขอสัมภาษณ์และถ่ายทำความสำคัญของหนังสืออนุสรณ์งานศพ อาทิ เช่น GMM   และ TPBS   ด้วย Theme ของการนำเสนอที่แตกต่างกัน คลิกเพื่อดูที่มาของบทเรียนความรู้จากผู้ล่วงลับได้ตาม link ที่แนบค่ะ

ทุกท่านสามารถบริจาคเพื่อร่วมสร้างคลังหนังสืองานศพ กับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ที่ 02-613-3544

นานาภาษิต

นานาภาษิต เป็นหนังสือเนื่องการพระราชทานเพลิงศพ พระยาผดุงพิพิธภัณฑ์ (น่วม ชูโต) พระพุทธศักราช 2467

เป็นลักษณะหนังสืองานศพ ที่รวมเนื้อหาที่ไม่เนื้อหาเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต นอกจากประวัติที่ปรากฏในตอนแรกของหนังสือ แต่เป็นหนังสืองานศพที่ผู้เป็นบุตร (พระยาสุรเกษตร์โสภร) ตั้งใจทำเพื่อเป็นเกียรติยศแก่บิดาผู้เสียชีวิต จึงได้กราบบังคมทูลขอและขอภาษิต ซึ่งมีทั้งพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ของเจ้านายและภาษิตของท่านผู้มียศศักดิ์และคุณธรรม เพื่อจัดพิมพ์เนื่องในทักษิณานุประทาน การบำเพ็ญกุศลสนองคุณพระยาผดุงพิพิธภัณฑ์ (น่วม ชูโต) ผู้บิดา เมื่อพระราชทานเพลิงศพ

ตัวอย่าง

สุภาษิตรัชกาลที่ 6
สุภาษิตรัชกาลที่ 6

Continue reading นานาภาษิต

จำใจข่มใจไปจากนวล

ถ้าได้ยินแค่ชื่อ “จำใจข่มใจไปจากนวล” ใครจะนึกว่าเป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ แต่ถ้าผู้คนที่อยู่ในแวดวงหรือคุ้นเคยกับ “สง่า อารัมภีร” อาจจะทราบว่า มาจากวรรคสุดท้ายของเพลง “น้ำตาแสงไต้”  อันโด่งดัง ของ ครูสง่า อารัมภีร

หน้าปกหนังสืออนุสรณฺ์งานศพ ครูสง่า อารัมภีร
หน้าปกหนังสืออนุสรณฺ์งานศพ ครูสง่า อารัมภีร

จำใจข่มใจไปจากนวล ปรากฏอยู่ในหน้าปกใน พร้อมข้อมูล ที่ระลึกในงานพระราชทานพลิงศพ นายสง่า อารัมภีร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) วันจันทร์ท่ 27 กันยายน 2542 ณ ฌาปนสถานวัดโสมนัสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

จำใจข่มใจไปจากนวล
จำใจข่มใจไปจากนวล

แต่ยังปรากฏข้อความ “ไม่อยากพรากขวัญภิรมย์” บนหน้าใบรองปก เหมือนเป็นการเน้นความอาลัย และการระลึกถึงผลงานเพลงของ ครูสง่า อารัมภีร ที่เป็นอมตะ Continue reading จำใจข่มใจไปจากนวล

สำนักหอสมุด มธ. วางเป้าเป็นคลังหนังสืองานศพของไทย

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์หนังสืออนุสรณ์งานศพ หรือ หนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพของคนไทย ซึ่งจะแจกจ่ายเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้มาร่วมงานเพื่อแสดงถึงความอาลัยของญาติผู้วายชนม์ ด้วยจุดเด่นของเนื้อหาภายในเล่มจะบอกเล่าเรื่องราวอัตชีวประวัติของผู้วายชนม์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละยุคสมัย และอาจนำเสนอผลงานอันมีคุณค่าของผู้วายชนม์ด้วย

ปัจจุบัน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รวบรวมหนังสืออนุสรณ์งานศพ ประมาณ 3,000 เล่ม ให้บริการที่ห้องหนังสือหายาก ชั้นใต้ดิน 1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ท่านใดที่ประสงค์จะบริจาคหนังสืออนุสรณ์งานศพ สามารถบริจาคได้ที่ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โทรศัพท์ 02-613-3544

บทความที่เกี่ยวข้อง:
GMM25 สนใจ หนังสืออนุสรณ์งานศพ
อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย
ชั่วชีวิตหนึ่ง ก.สุรางคนางค์
สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น : ตำนานอันลือเลื่อง
หนังสือ “ยาขอบอนุสรณ์”
วิธีสืบค้นหนังสืออนุสรณ์งานศพ
เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ
จำใจข่มใจไปจากนวล
นานาภาษิต
ทางสงบ

อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย

จากการสนทนาวิชาการหนังสือเก่าชาวสยาม ครั้งที่ 5 เรื่อง “เสน่ห์หนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์” ณ วันที่ 27 กันยายน 2556 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีผู้เข้าร่วมเสนทนาหลายท่าน ช่วงการสนทนาเรื่อง “หนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์ : ด้วยรักและหลงใหล” คุณโกศล ช่อผกา เจ้าของร้านหนังสือเก่าสยามบรรณาคม หนึ่งในผู้เข้าร่วมกล่าวว่า “หนังสืออนุสรณ์งานศพเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย” เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกพิมพ์อย่างเป็นทางการ และมีลักษณะพิเศษเฉพาะ หลากหลายประเภท เช่น หนังสือหายาก (Rare books) หนังสือโบราณ หนังสือธรรมะ หนังสือสุขภาพ ซึ่งหนังสือเหล่านี้มีคุณค่าในตัวเองทั้งสิ้น

ในบทความนี้ขอใช้คำว่าร่วมสมัย หมายถึง หนังอนุสรณ์งานศพของบุคคลสำคัญต่าง ๆที่ร่วมยุคในปัจจุบัน ที่มีการบอกเล่า บรรยาย บันทึกเหตุการณ์ สถานการณ์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ทางการเมือง หรือมีความสำคัญในช่วงเวลาใด ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น บุคคลทื่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้น

หนังสืออนุสรณ์งานศพเหล่านี้ได้ทำการขอจากเจ้าภาพ (หรือผู้รับผิดชอบ) โดยจดหมายราชการ เช่น พลตำรวจเอก วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ เจ้าของรหัสลับนาม “เทพ 333” ที่ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ที่ท่านเข้าร่วมรบในประเทศเพื่อนบ้านยุคสงครามเวียตนาม และหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก กมล ทัพพะรังสี ท่านเป็นเลขานุการของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ซึ่งท่านดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีน เป็นการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า Continue reading อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย